รีวิว OPPO R5 มือถือที่มีมากกว่าความบาง

DSC00026[1]

หนึ่งในมือถือที่ถูกจับตามองมากที่สุดในเวลานี้ ก็คงหนีไม่พ้น OPPO R5 ที่แอบไปเข้าฟิตเนสลดหุ่นเหลือความบางเพียง 4.85  มิลลิเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับซีพียู Snapdragon 615 ซึ่งเป็น 64-bit รุ่นแรกของ Qualcomm เรียกได้ว่าไม่ธรรมดา

สเป็ก OPPO R5

  • ซีพียู Snapdragon 615 ( 1.5 GHz, 8 core )
  • แรม 2 GB
  • หน่วยความจำ 16 GB
  • หน้าจอ Amoled 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD
  • กล้องหลังความละเอียด 13 ล้าน F 2.0
  • กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้าน
  • น้ำหนัก 155 กรัม
  • แบตเตอรี่ 2000 mAh
  • รองรับ 4G LTE
  • ระบบ ColorOS 2.0.0i ( base on Android 4.4 )

DSC00024-700x394[1]

รูปร่างหน้าตาของ R5 ยังคงความสวยงาม บางเบา เรียบหรูเช่นเคย และถ้าพลิกดูรอบๆ เครื่องจะเห็นว่าไม่มีลำโพงตัวที่สองสำหรับดูหนังฟังเพลง ก็เพราะว่า OPPO R5 ใช้ลำโพงสนทนาทำทุกอย่าง แม้กระทั่งเสียงเรียกเข้า แต่ก็ต้องบอกว่าคุณภาพเสียงดีกว่าที่คิด และทิศทางของลำโพงที่หันเข้าหาตัวเรา ทำให้ได้อรรถรสที่ดีกว่าหลายรุ่น

ขนาดของตัวเครื่องที่บางมาก ทำให้ตัวกล้องยื่นออกมาจากตัวเครื่องตามระเบียบ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรหาเคสใส่ป้องกันไว้ครับ

DSC00025-700x394[1]

นอกจากลำโพงที่ถูกตัดออกไป ก็ยังมีอีกสิ่งที่หายไปคือช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มิลเมตร แต่มีหัวแปลงแถมให้ในกล่องโดยแปลงจาก micro USB เป็นช่องเสียบหูฟัง

DSC00036-700x394[1]

ระบบสั่งงานด้วยท่าทางหรือ gesture & motion ซึ่งเป็นจุดเด่นของ ColorOS ก็ยังคงมีบน OPPO R5 ที่สั่งงานได้แม้กระทั่งหน้าจอปิดอยู่ โดยวาดนิ้วเป็นรูปต่างๆ บนหน้าจอ ซึ่งมีข้อดีคือเราสามารถเพิ่มคำสั่งได้เอง รวมถึงคำสั่งระหว่างที่หน้าจอเปิดใช้งาน ตัวอย่างคำสั่งที่น่าสนใจก็อย่างเช่น

  • แตะ 2 ครั้งเพื่อเปิดหน้าจอ
  • แตะที่ปุ่ม home 2 ครั้งเพื่อเปิดหน้าจอ
  • ขยุ้มนิ้วเพื่อเปิดกล้อง
  • ลาก 3 นิ้วลงเพื่อจับภาพหน้าจอ

หรือแม้แต่โหมดใช้งานมือเดียวก็ถูกปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ด้วยการลากนิ้วจากมุมล่างไปยังกลางจอ ก็จะเป็นการเข้าโหมดใช้งานมือเดียว

DSC00026[1]

เมื่อเปิดใช้งาน จะเห็นว่าหน้าจอ Amoled มีสีสันค่อนข้างสด และเมื่ออยู่กับหน้าจอความละเอียด Full HD เลยทำให้ภาพออกมาคมและจัดจ้านมากๆ นอกจากนี้หน้าจอของ OPPO R5 ยังมีมุมมองที่กว้างมาก ไม่ว่าจะเอียงมุมไหนก็ยังคงเห็นตัวหนังสือชัด และสีสันไม่ผิดเพี้ยน

ส่วนของ launcher จะเห็นว่าแอปทุกตัวถูกเทกระจาดเรียงอยู่ที่ home ทั้งหมด โดยไม่มีลิ้นชัก app drawer สำหรับเก็บแอปไว้อีกส่วน

DSC00038-700x394[1]

ในการแต่งหน้าทาปากก็มีระบบ theme ให้โหลดใช้ได้เช่นเคย

DSC00034-700x394[1]

เมื่อลากแถบแจ้งเตือนลงมาก็จะเห็นส่วนของการตั้งค่าด่วน ซึ่งมีทางลัดสำหรับปิดหน้าจอ, เปิดไฟฉาย และเครื่องคิดเลข และถ้ากวาดสายตาดูทั่วไป เราจะไม่เห็นข้อความใดๆ เกี่ยวกับ NFC เลย นั่นก็เพราะรุ่นนี้ไม่มี NFC ครับ

DSC00035-700x394[1]

ส่วนของพื้นที่ก็ถูกรวมเป็นก้อนเดียว ทำให้สามารถติดตั้งแอปได้เต็มความจุที่มี

DSC00037-700x394[1]

ระบบประหยัดพลังงานก็มี Normal power saving ที่ช่วยประหยัดพลังงานด้วยการปรับแต่งดังนี้

  • ลดความสว่างหน้าจอ
  • ปิดการสั่นเมื่อสั่งงาน
  • ปิดการเชื่อมต่อ
  • ปิดอนิเมชั่น
  • ลดความเร็วซีพียู

นอกจากนี้ยังมีระบบที่ช่วยประหยัดกว่าเดิมคือ Super Power-saving ที่จะปิดระบบทุกอย่างให้เหลือแค่การโทร การรับ-ส่งข้อความและนาฬิกา ซึ่งเหมาะจะใช้ในยามฉุกเฉิน

DSC00039-700x394[1]

ระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง Security center ก็เป็นเสมือนศูนย์รวมเครื่องมือในการจัดการเครื่อง ที่น่าสนใจอย่างเช่น

  • Memory cleanup สำหรับเคลียพื้นที่แรม โดยสามารถตั้งเวลาให้เคลียอัตโนมัติได้ เช่น เคลียเมื่อปิดจอ
  • App Encryption สำหรับล็อกแอปและต้องกรอกรหัสก่อนใช้งานแอปนั้น
  • Data saving เป็นการเลือกว่าจะให้แอปใดบ้างที่สามารถทำงานอยู่เบื้องหลังได้
  • Block ไว้จัดการเบอร์ที่ไม่ต้องการติดต่อด้วย
  • Data monitor ที่ช่วยเตือนป้องกันใช้เนทเกินกำหนด
  • Permission management จัดการสิทธิ์แอปต่างๆ เช่น ห้ามแอปไหนต่อเนท หรือห้ามส่งพิกัด
  • Guest mode สำหรับซ่อนเบอร์โทร ข้อความ ประวัติการโทร และข้อมูลต่างๆ จากผู้อื่นที่มาเล่นเครื่อง

DSC00033-700x394[1]

เครื่องคิดเลขในแนวตั้งไม่มีเครื่องหมาย % ให้ใช้งาน แต่เมื่อพลิกเป็นแนวนอนจะเข้าอีกโหมดที่มีเครื่องมือให้ใช้เยอะกว่า

DSC00029-700x394[1]

File manager แบ่งประเภทของไฟล์ไว้ชัดเจน และมีระบบ File safe สำหรับซ่อนไฟล์ รวมถึงระบบ Cleanup ที่ช่วยลบขยะในเครื่อง

DSC00027-700x394[1]

การโทรก็จัดเต็มเช่นเคย มีการสั่นเตือนเมื่อปลายทางรับหรือวางสาย มีระบบโทรซ้ำอัตโนมัติ และสามารถบันทึกเสียงสนทนาได้ด้วย ซึ่งเสียงที่บันทึกสามารถเปิดดูผ่านแอปอัดเสียงได้

และตัวแอปการบันทึกเสียง ก็สามารถเลือกนามสกุลได้สามแบบคือ mp3, wav, amr

DSC00030-700x394[1]

แอปดูหนังก็ตามสมัยนิยมคือย่อเป็นหน้าต่างเล็กเพื่อดูระหว่างเล่นอย่างอื่นได้ มีปุ่มล็อกป้องกันมือโดนจอระหว่างดูหนัง สามารถปรับเสียงและแสงได้ด้วยการเลื่อนขึ้น-ลงที่หน้าจอ ส่วนแอปฟังเพลงก็ตั้งเวลาปิดเพลงได้

DSC00028-700x394[1]

มาถึงเรื่องประสิทธิภาพที่หลายคนอยากรู้ เมื่อทดสอบผ่าน antutu ก็ได้คะแนน 27688 ถือว่าไม่สูงนักแต่การใช้จริงเรียกได้ว่ายังไม่เคยพบอาการกระตุกใดๆ

โดยทดสอบเล่นเกมเช่น Asphalt 8, Wild Blood, The World II Hunting และ Godfire: Rise of Prometheus ก็ถือว่าลื่นไหลมาก

DSC00040-700x394[1]

เรื่องกล้องค่ายนี้เรียกได้ว่าเป็นอันดับต้นๆ ที่ครองใจผู้ใช้งานเสมอ และบน OPPO R5 ก็ได้พัฒนาไปอีกขั้น ด้วยการให้เลือกโหลดแอปเสริมได้ตามต้องการ โดยมีรายชื่อโหมดทั้งหมดดังนี้

  1. Normal
  2. Ultra HD
  3. Colorful night
  4. Slow shutter
  5. Expert mode
  6. Beautify
  7. After Focus
  8. Super Macro
  9. Double exposure
  10. GIF amination
  11. Audio photo
  12. RAW
  13. HDR
  14. Panorama

โหมดที่เป็นพระเอกมาตลอดอย่าง Slow shutter ก็คงไม่ต้องพูดว่ามันอลังการขนาดไหน ถ่ายที่มืดให้สว่างสวยงามได้ อีกโหมดที่เป็นจุดเด่นจากรุ่นก่อนหน้านี้คือ Ultra HD ที่จะทำการประมวลผล 10 รูปรวมกันให้ออกมาเป็นรูปความละเอียด 50 ล้าน ซึ่งนอกจากจะได้ขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว ยังได้ภาพที่สวยงามกว่าเดิมด้วย เพราะเป็นการดึงรายละเอียดจาก 10 รูปมารวมกัน

Expert mode ที่ให้อิสระในการปรับแต่งมากขึ้นทั้งการชดเชยแสง ระยะโฟกัส และสมดุลสีขาว ส่วน After focus เป็นการถ่ายรัวๆ เพื่อให้เราเลือกทีหลังว่าต้องการโฟกัสที่ระยะไหน ตรงไหนชัด ตรงไหนเบลอ และถ้าลองเลือกโหมด Super Macro ก็จะเป็นการซูมขั้นอลังการเพื่อถ่ายวัตถุเล็กๆ

Double exposure เป็นของใหม่อีกอย่างที่ให้เราถ่าย 2 รูปมาซ้อนกัน นอกจากนี้ OPPO R5 ยังสามารถล็อกตำแหน่งแสงและโฟกัสได้ด้วยการแตะค้างที่หน้าจอ รวมถึงมีระบบติดตามวัตถุด้วยการแตะ 2 นิ้วไปยังวัตถุที่ต้องการ

ตัวอย่างภาพถ่าย

IMG20141210154051-600x337[1]

การถ่ายย้อนแสงในโหมดปรกติ โดยไม่ใช้ HDR ก็ชัดเจนแบบที่สามารถประยุกต์ถ่ายให้ดู art ได้

IMG20141210155055-600x337[1]

การใช้งานโหมด HDR ทำได้น่าประทับใจมาก

IMG20141210174512-600x337[1]

การโฟกัสวัดแสงเป็นจุด ทำให้สามารถเล่นกับพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าได้

IMG20141208200944-vert[1]

โหมด Slow shutter นอกจากจะใช้เล่นกับแสงไฟ หรือทำที่มืดให้สว่างแล้ว ก็ยังสามารถประยุกต์เล่นกับน้ำพุให้ละอองดูสวยงามขึ้น

IMG20141209185035-600x337

สีสันภายใต้แสงไฟสีเหลืองนวล ก็ทำได้ค่อนข้างตรง สังเกตได้จากสีเขียวของวาซาบิที่ยังดูเป็นสีเขียวไม่ผิดเพี้ยน

IMG20141209200506-600x337

ภาพถ่ายแสงไฟยามค่ำคืนทำได้น่าประทับใจเนื่องจากสามารถวัดแสงเป็นจุดได้ด้วยการแตะโฟกัสที่แสงไฟ

IMG20141210151028-600x337

การซูมสุดที่ 4 เท่ายังคงให้รายละเอียดที่ค่อนข้างดี

IMG20141209191043-vert1-444x500

โหมด Colorful night ใช้เพิ่มความสดของสี

IMG20141213063122-vert-444x500

โหมด Slow shutter ในที่แสงน้อยยังทำงานได้ดี ช่วยให้ภาพสว่างกว่ามือถือทั่วไป

IMG20141208200137-375x500

กล้องหน้าในยามค่ำคืนและถ่ายย้อนแสง ก็โฟกัสที่ใบหน้าได้ค่อนข้างดี

IMG20141210154409-375x500

กล้องหน้าในที่แสงจ้า หรือแสงเพียงพอ ถือว่าทำได้ดีมาก

 

O-Music-500x500

ที่พลาดไม่ได้คืออุปกรณ์เสริมอย่าง O-Music ที่นอกจากจะใช้ฟังเพลงหรือโทรแล้วยังสามารถใช้ควบคุมการถ่ายรูปได้อีกด้วย

O-Music มีขนาดค่อนข้างเล็ก สามารถหนีบกับเสื้อได้ และข้อดีก็คือตัว O-Music มีช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร ทำให้เราสามารถถอดเปลี่ยนเลือกหูฟังตามต้องการได้

ปุ่มควบคุมบน O-Music แยกแต่ละปุ่มค่อนข้างชัดเจน มีปุ่มเล่นเพลง ปุ่มเลื่อนเพลง ปุ่มปรับเสียง และปุ่มเปิด-ปิด ซึ่งปุ่มเปิด-ปิดใช้แทนชัตเตอร์ควบคุมกล้องได้ด้วย

และที่น่าสนใจคือเราสามารถสั่งถ่ายรูปได้แม้กระทั่ง OPPO R5 ปิดหน้าจออยู่ แต่เท่าที่ได้ทดสอบพบว่าการสั่งถ่ายรูปผ่าน O-Music ควรเปิดแอปกล้องไว้ก่อนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

DSC00013-700x394

นอกจากนี้ยังมีระบบ VOOC ที่ช่วยให้ชาร์จไฟได้ 75% ด้วยเวลาเพียง 30 นาที และมีขนาดหัวแปลงที่เล็กลงจากรุ่นก่อนมาก ช่วยให้พกพาได้ง่ายขึ้น

ความเห็นจากทีมงานล้ำหน้า

DSC00016-700x394

เนื่องจากเครื่องที่ได้มาทดสอบเป็นลักษณะ demo product ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจถูกปรับปรุงบนเครื่องขายจริง แต่จากที่ได้ลองเล่นพบว่า OPPO R5 เมื่อนำมาเล่นเกมจะร้อนง่ายมาก แต่ระบายความร้อนได้เร็ว กล้องทำงานได้ดีมีลูกเล่นให้เอาตัวรอดได้เยอะ แต่ปัญหาก็คือกล้องดีๆ กับพื้นที่ 16 GB ที่เสียบ microSD ไม่ได้ ก็อาจทำให้บางคนอึดอัด

ส่วนความเร็วในการใช้งานจริงเรียกได้ว่ายังไม่เคยเจออาการกระตุกใดๆ อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่ความจุ 2000 mAh ก็ไม่มีอะไรสร้างความประหลาดใจหลังจากใช้จริง เพราะแบตหมดเร็วตามคาด แต่โชคดีที่ระบบ VOOC ทำให้ชาร์จไฟได้เร็วมาก เลยพอจะทดแทนกันได้บ้าง

อดีตโปรแกรมเมอร์ที่ออกมาเรียนรู้โลกกว้าง อยากช่วยเหลือผู้คน ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย บอกเล่าในสิ่งที่ตัวเองรู้ และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมน่าอยู่