และแล้วก็ถึงวันที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักสัญลักษณ์ Floppy disk บนปุ่ม save

ที่จริงแล้วผมตั้งใจจะเขียนหัวข้อนี้ตั้งแต่ปี 2015 แต่ก็เลื่อนมาเรื่อยจนกระทั่งวันนี้มีกระทู้จาก pantip ที่ถูกแชร์กันมากมาย เกี่ยวกับสัญลักษณ์บนปุ่ม save

Screen Shot 2016-04-08 at 01.55.12

จากกระทู้บน pantip ได้ตั้งประเด็นว่า “เวลาเซฟงานทำไมต้องคลิกรูปสี่เหลี่ยม มันคืออะไร?” ซึ่งที่จริงแล้วนี่ไม่ใช่ปัญหาใหม่แต่อย่างใด แต่มันคือปัญหาคลาสสิกที่ถูกพูดถึงกันมานานแล้วว่าสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้สื่อสารบน UI มันเป็นของที่คนยุคนี้ไม่สามารถพบเห็นได้โดยง่าย

Screen Shot 2016-04-08 at 02.07.06

ในแง่ของการออกแบบ UI ได้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับปุ่มนี้มาไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้วว่าเราควรทำยังไงกับมันดี เพราะในความเป็นจริงเจ้า Floppy disk มันได้ตายไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็มีบางคนเสนอความเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขใดๆ เพราะคนยุคใหม่เห็นรูปนี้แล้วเข้าใจตรงกันว่ามันคือการ save แต่ความเห็นอีกฝั่งก็บอกว่าควรใช้สัญลักษณ์อื่นแทน แต่ก็ยังไม่มีรูปแบบไหนที่เหมาะสมนอกจากการเขียนตรงๆ ว่า “save”

Floppy_Disk1.gif

ถ้าจะย้อนอดีตกันแล้วเจ้า Floppy disk นี้ถือกำเนิดครั้งแรกช่วงปี 1972 ด้วยขนาด 8 นิ้วแล้วพัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งมีความจุ 1.2 MB ส่วน Floppy disk ที่เราพบได้จากปุ่ม save คือขนาด 3.5 นิ้วที่มีความจุ 1.44 MB ซึ่งใครที่เกิดทันยุคนั้นก็จะพบว่ามันพังง่ายเอาเรื่อง แต่ถึงกระทั้งมันก็มีเทคโนโลยีล้ำๆ ไม่ต่างจาก SD card ในยุคนี้ที่มีปุ่ม Write Protection สำหรับล็อกป้องกันการเขียนทับด้วย และไม่ต้องกลัวลืมว่านี่คือแผ่นอะไรเพราะมีกระดาษเป็นฉลากแปะด้านหน้า ให้หยิบปากกามาเขียนรายละเอียดได้ตามสะดวก …นวัตกรรมชัดๆ !!!

my computer

ยิ่งไปกว่านั้น เด็กสมัยนี้บางคนสงสัยว่าทำไมเวลาเปิด Windows แล้วเริ่มต้นที่ Drive C: ซึ่งเหตุผลก็คือเดิมทีเราสงวนที่ Drive A และ B ไว้ให้ Floppy disk ซึ่งถ้าย้อนไปอีกก็คือสมัยก่อนเราไม่มี harddisk หรือ Drive C ดังนั้นเราต้องใช้ Drive B ในการบูทระบบและใช้ Drive A ในการเก็บข้อมูล ก็เป็นที่มาว่าทำไมปุ่ม save ถึงต้องใช้รูป Floppy disk

skeuo_examples1

หลังจากที่เทคโนโลยีต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นก็ถึงยุคที่ต้องคำนึงเรื่องการออกแบบ User Interface หรือ UI …ถ้าพูดให้ง่ายกว่านั้นก็คือหน้าตาของโปรแกรมนั่นล่ะ ซึ่งก็นิยมเอาวัตถุบนโลกความเป็นจริงมาเป็นสัญลักษณ์ icon ต่างๆ เพราะมันสื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายสำหรับคนในยุคนั้นๆ

skeuo_examples4

ข้อดีก็คือผู้ใช้สามารถปรับตัวได้ง่ายเพราะคุ้นเคยกับรูปร่างหน้าตาแบบนี้ แต่ทางกลับกันมันก็ทำให้เด็กยุคใหม่แปลกใจกับสิ่งเหล่านี้เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน รวมถึง UI ลักษณะนี้อาจรีดประสิทธิภาพการใช้งานได้ไม่เต็มที่ด้วย

Screen Shot 2016-04-08 at 02.20.39

การออกแบบโดยอ้างอิงวัตถุในชีวิตจริงไม่ได้มีปัญหาเฉพาะกับแผ่น Floppy disk เพราะยังมีปุ่มอื่นๆ อีกมากมายที่ดูตกยุค

Screen Shot 2016-04-08 at 02.22.19

ในยุคที่เรารู้จัก mp3, wave, flac หรือแอพฟังเพลงอย่าง tidal, joox ฯลฯ และแทบไม่ได้ใช้แผ่น CD แต่เรายังคงเลือกใช้สัญลักษณ์ reel tape แทน voicemail …และนอกจากสัญลักษณ์จะตกยุคแล้ว ก็มีน้อยคนที่จะใช้ฟีเจอร์นี้

Screen Shot 2016-04-08 at 02.28.53

แม้แต่รูป Phone สำหรับกดโทรก็อิงมาจากโทรศัพท์บ้านที่เริ่มหาได้ยากในยุคนี้ เพราะคนส่วนใหญ่หันมาใช้ smartphone และ feature phone กันหมดแล้ว

Screen Shot 2016-04-08 at 02.30.12

หรือลักษณะของไมค์แบบนี้ที่ไม่ใช่รูปแบบที่แพร่หลายในชีวิตประจำวัน

Screen Shot 2016-04-08 at 02.31.29

เช่นกันกับทีวีที่สมัยนี้แทบไม่ได้ใช้เสาอากาศหนวดกุ้งกันแล้ว และก็ไม่ใช่จอแบบโค้งแล้วด้วย แต่ถ้ามองว่าสิ่งเหล่านี้คือของใช้ที่ตกยุคในโลกความเป็นจริง และมีแนวโน้มที่สัญลักษณ์เหล่านี้จะไม่สื่อความหมายให้กับคนรุ่นใหม่ แล้วเราควรออกแบบอย่างไร?

Screen Shot 2016-04-08 at 02.34.23

บางคนก็ให้ความเห็นว่าถ้า Floppy disk ใช้แทนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ถ้าแบบนั้นก็ควรเปลี่ยนมาใช้รูป Flash Drive แทนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย

Screen Shot 2016-04-08 at 02.36.05-side

หรืออย่าง copy & paste ที่ดูแล้วก็ไม่สื่อความหมายใดๆ ในยุคนี้ ก็อาจแทนที่ด้วยกรรไกรที่หมายถึงการตัด และกาวที่สื่อถึงการแปะ

Screen Shot 2016-04-08 at 02.38.06

ปุ่ม Phone ก็ควรแทนที่ด้วยโทรศัพท์ที่แพร่หลายในยุคสมัยนี้อย่างรูปของ Smartphone ซึ่งความจริงแล้วยังมีอีกหลากหลายความเห็นที่พยายามแก้ไขแนวทางการออกแบบนี้ เพราะการออกแบบโดยการอิงสิ่งของในชีวิตจริงมันเป็นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย แต่ก็ตกยุคง่ายเช่นกัน

แต่ถ้าประยุกต์ใช้ของพวกนี้ ก็ถือเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างเช่นรูปข้างล่างนี้ที่ช่วยคัดกรองอายุได้ …มันไม่ง่ายเลยที่จะหาจุดเชื่อมโยงของสองสิ่งนี้

funny-cassette-pen-age-verification

ที่มา: stackexchange , medialoot , sitepoint , rutgersprep , b-quickpcrepair

อดีตโปรแกรมเมอร์ที่ออกมาเรียนรู้โลกกว้าง อยากช่วยเหลือผู้คน ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย บอกเล่าในสิ่งที่ตัวเองรู้ และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมน่าอยู่