Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

รีวิว Nubia Z11 | สมาร์ทโฟนที่หลายคนถามถึง ครบเครื่องรอบด้าน ราคายั่วใจ

ก่อนหน้านี้ทีมงานล้ำหน้าฯ ได้รีวิวสมาร์ทโฟน Nubia N1 ไป ซึ่งเป็นรุ่นในกลุ่มราคาประหยัดแต่สเปคจัดหนัก คราวนี้ถึงคราวของสมาร์ทโฟนในตระกูลหลักของ Nubia กันบ้าง ได้แก่รุ่นที่มีคนให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษ นั่นคือ Nubia Z11 ที่ต้องบอกว่ามีจุดเด่นที่น่าสนใจหลายอย่างมากสำหรับรุ่นนี้

Nubia Z11 นั้นเป็นสมาร์ทโฟนตระกูล Z รุ่นล่าสุดของ Nubia ที่เปิดตัวล่าสุดในช่วงปลายปี 2016 ที่ผ่านมา โดยจะมีรุ่นหลักเป็น Z11 ตามมาด้วยรุ่น Z11 Max ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ และ Z11 Mini น้องเล็กย่อส่วน ตัวที่ทางทีมงานได้มารีวิวนี้เป็นรุ่นมาตรฐานของ Nubia Z11 คือเป็นรุ่น RAM 4 GB มีให้เลือก 2 สีคือสีเทา, และสีขาว/ทอง แต่ยังมีรุ่นพิเศษ เครื่องสีดำ/ทอง ที่จะแตกต่างจากรุ่นมาตรฐานตรง RAM ให้มาเพิ่มเป็น 6GB

สเปคเบื้องต้นของ Nubia Z11

  • ขนาด 151.8 x 72.3 x 7.5 มม  หนัก 162กรัม
  • หน้าจอ 5.5 นิ้ว FHD 1920 x 1080 (403 PPI) กระจก Gorilla Glass 3 ดีไซน์แบบไร้ขอบ
  • หน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 820 (MSM8996) หน่วยประมวลกราฟฟิค Adreno 530
  • RAM 4GB
  • ROM 64 GB
  • เพิ่ม microSD สูงสุด 200 GB
  • ระบบปฎิบัติการ Android 6.0 Marshmallow ครอบด้วย nubia UI 4.0
  • กล้องหลัง 16 ล้านพิกเซล (F/2.0 OIS/PDAF) ครอบด้วยกระจกแซฟไฟร์ ไฟแฟลช LED
  • กล้องหน้า 8 ล้านพิกเซล (F/2.4) แบบมุมกว้าง
  • ซอฟท์แวร์ถ่ายภาพ NeoVision 6.0
  • ระบบเสียง AK4376
  • เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือด้านหลัง
  • แบตเตอรี่ 3,000 mAh รองรับ Quick Charge 3.0
  • พอร์ตเชื่อมต่อ USB Type-C
  • รองรับ 3G / 4G / VoLTE

แกะกล่อง

แพ็คเกจของ Z11 นั้นจะเป็นกระดาษเรียบๆ ที่เปิดฝาออกมาจะพบกับตัวเครื่อง Nubia Z11 วางอยู่ เปิดถาดลงไปด้านในจะพบกับอุปกรณ์เสริมที่มีมาให้เรียกได้ว่าค่อนข้างครบถ้วน ทั้งคู่มือการใช้งานเบื้องต้นพร้อมเหน็บเข็มสำหรับกดถาดซิมมาให้ด้วย, Travel Charging Adaptor ที่เป็นแบบรองรับมาตรฐานการชาร์จเร็ว Quick Charge 3.0, สายเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการโอนย้ายข้อมูลกับคอมพิวเตอร์และเสียบชาร์จไฟที่เป็นหัวแบบ USB-Type C ความยาว 1 เมตร

นอกจากนี้ในกล่องยังมีของแถมที่น่าสนใจก็คือตัวอแดปเตอร์เอาไว้เสียบที่ตัวเครื่องเปลี่ยนให้ช่อง USB Type-C เป็นแบบ Micro USB เพื่อเอาไว้ใช้งานกับอุปกรณ์รุ่นเก่าๆ ผ่าน OTG รวมถึงเอาไว้เสียบกับสายรุ่นเก่าเพื่อชาร์จไฟได้ และอีกชิ้นที่แถมมาให้คือหูฟังและสมอล์ลทอล์คสายสีแดงสวยสด ส่วนคุณภาพเสียงอยู่ในระดับที่ดีเลยทีเดียว

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

กล่องเป็นกระดาษสีดำด้านเรียบๆ มีวงกลมสีแดงอันเป็นสัญลักษณ์ของ Nubia

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

แกะมาภายในกล่องมีอุปกรณ์ให้ประมาณนี้ มีทั้งสายชาร์จ+เดต้า, อแดปเตอร์ชาร์จ Quick Charge 3.0, หัวแปลง USB-C และหูฟังให้พร้อมครบชุด

รูปลักษณ์ภายนอก

ตัวเครื่องที่ได้มาทดสอบเป็นเครื่องสีเทา โดยตัวเครื่องใช้วัสดุเป็นโลหะตั้งแต่ตัวเฟรมเครื่องและฝาหลังเป็นสีเทาโลหะออกโทนสีเงินสว่าง ส่วนด้านหน้าจะเป็นสีดำ จุดเด่นแรกของ Z11 แม้ว่าจะมีหน้าจอที่ใหญ่ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920 x 1080) แต่ว่าขนาดของตัวเครื่องนั้นเล็กมาก เล็กในแบบที่ว่าสามารถถือใช้งานมือเดียวได้แบบสบายๆ

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

สาเหตุที่ตัวเครื่องของ Z11 มีความเล็กมากนั้น อยู่ที่การออกแบบหน้าจอแบบไร้ขอบ หรือว่า “Bezel-less” โดยที่ขอบข้างทั้งด้านซ้ายและขวานั้น ในสมาร์ทโฟนทั่วไปจะมีเว้นขอบเอาไว้อย่างน้อยข้างละ 1-2 มิลลิเมตรเป็นอย่างน้อย แต่ว่า Nubia Z11 นั้นไม่มีการเว้นขอบข้างจอเลยแม้แต่น้อย คือตัวจอชิดกับตัวเฟรมโลหะเครื่องไปเลย ทำให้ความกว้างของเครื่องน้อยลงและถือได้ถนัดมือมากขึ้น อีกทั้งด้านหน้าครอบด้วยกระจก Gorilla Glass แบบขอบโค้ง 2.5D ทำให้เครื่องดูโค้งมนสวยงามอย่างลงตัว

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

ที่ด้านบนของจอจะมีเลนส์กล้องหน้าแบบมุมกว้างความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ลำโพงฟังสนทนา และเซนเซอร์แสง ส่วนด้านล่างจะเป็นปุ่ม Home สีแดงอยู่ตรงกลางที่ใช้เป็นไฟแจ้งเตือน Notification หรือว่ากำลังชาร์จไฟ พร้อมปุ่มสัมผัสเพื่อเรียกเมนูและ Back ซ่อนอยู่ด้านข้าง (จะสว่างเฉพาะเวลาที่แตะ) และด้วยความที่ด้านหน้าเป็นสีดำทั้งหมด ทำให้เวลาที่ปิดหน้าจอไว้จะเห็นเครื่องเป็นสีดำขลับเรียบๆ ไปเลย

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

ด้านล่างตัวเครื่องจะมีช่องเสียบพอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB Type-C แบบใหม่ที่มีคุณสมบัติในการโอนถ่ายข้อมูลได้รวดเร็วกว่าแบบ Micro USB และมีช่องของลำโพง และ ไมค์สนทนา (ช่องลำโพงมีแค่ทางด้านขวาด้านเดียว แต่เครื่องเจาะไว้เป็น 2 ด้านเพื่อความสวยงาม)

ด้านบนของเครื่องจะมีช่องเสียบหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร, ช่องไมค์ตัวที่ 2 สำหรับตัดเสียงรบกวน และช่องยิงสัญญาณอินฟราเรด (RF) ที่เอาไว้ใช้งานกับแอพพลิเคชั่นรีโมทคอนโทรล สำหรับควบคุมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้าน

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

ด้านขวาของตัวเครื่องมีปุ่มสำหรับปรับระดับเสียงเพิ่ม-ลด และปุ่ม Power ใช้สำหรับเปิดปิดหน้าจอ และเปิดปิดเครื่อง (กดค้างเอาไว้)

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

ด้านซ้ายมีรูสำหรับเอาเข็มกดให้ถาดซิมเด้งออกมา ตัวถาดซิมออกแบบมารองรับการใช้งานแบบ Hybrid ที่ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะเลือกใส่เป็นซิมขนาดนาโนซิม 2 เบอร์ หรือว่าจะใส่แค่ซิมเดียวส่วนอีกช่องใส่ microSD เพื่อเพิ่มหน่วยความจำในเครื่อง ที่ระบบสามารถรองรับความจุเพิ่มได้ถึง 256 GB

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

ด้านหลังของ Z11 นั้นเรียบๆ ไม่มีแถบเส้นเสาสัญญาณ (แถบเส้นเสาสัญญาณจะอยู่ที่เฟรมตัวเครื่องด้านบนและล่าง) มีโลโก้ของ Nubia พิมพ์ติดอยู่ด้านล่าง ที่ด้านบนจะเป็นไฟแฟลชแบบ LED dual-tone 2 สี และเลนส์กล้องความละเอียด 16 ล้านพิกเซลที่เนียนเรียบไปกับตัวเครื่อง ไม่มียื่นออกมา และโดดเด่นด้วยวงแหวนรอบเลนส์สีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของ Nubia ส่วนตรงกลางเครื่องก็จะเป็นเซนเซอร์สำหรับสแกนลายนิ้วมือ วางไว้ตรงกับตำแหน่งนิ้วชี้พอดิบพอดี

Hardware Performance

สเปคภายในของ Z11 อยู่ในระดับตัวท็อปของปี 2016 ด้วยตัวชิปประมวลผลที่เป็น Qualcomm Snapdragon 820 (MSM8996) หน่วยประมวลกราฟฟิค Adreno 530 ใส่ RAM มาให้ 4GB และพื้นที่เก็บข้อมูลภายในเครื่อง 64 GB ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากๆ สำหรับสมาร์ทโฟนระดับประสิทธิภาพสูง

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

คะแนนที่ทดสอบผ่าน Antutu ได้อยู่ที่ 129978 ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี ในการใช้งานทั่วไป การเปิดเปลี่ยนสลับแอพและเปลี่ยนหน้าลื่นไหลไม่มีสะดุดหรือกระตุก ส่วนเรื่องของการเล่นกันนั้นถือว่าสบายหายห่วง รับมือกับเกมกราฟฟิค 3D ภาพสวยๆ ได้สบาย

เรื่องของระบบเสียงนั้นมีชิปเซตเป็น ชิปเซ็ต AKM4376 รองรับ Smart PA Dolby Surround 7.1, Hi-Fi, Dolby Decoding และภายในยังมี Dolby Atmos ที่เลือกปรับโปรไฟล์เสียงตามรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง, ฟังเพลง หรือว่าเล่นเกม คุณภาพเสียงที่ฟังจากหูฟังแบบเสียบช่อง 3.5 มิลลิเมตรเรียกได้ว่ากระหึ่มสะใจดีแท้

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

ประสบการณ์การใช้งาน

ระบบปฎิบัติการของ Nubia Z11 จะเป็น Android 6.0 Mashmallow ที่ครอบด้วย Nubia UI 4.0 พื้นฐานการใช้งานเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ตัวหน้า Home จะเป็นแบบเรียงแอพทั้งหมดไว้ (ไม่มี App Drawer) ปุ่มกดเรียกเมนูจะมีแตกต่างอยู่บ้าง ปุ่ม Home ตรงกลางสีแดงกดค้างก็จะเรียกใช้งาน Google Now ส่วนด้านข้างปุ่ม Home จะมีปุ่มเรียกเมนูของแอพ กับปุ่ม Back ที่เลือกปรับได้ว่าจะให้อยู่ซ้ายหรือขวาตามถนัด คราวนี้อาจจะเห็นว่า อ้าว แล้ว Recent App อยู่ไหน? ให้เรากดปุ่ม Back ค้างไว้ประมาณ 2 วินาทีก็จะโชว์แอพที่เปิดไว้ทั้งหมดขึ้นมา ให้เลือกเปิดย้อนหลังหรือสั่งปิดเพื่อล้างหน่วยความจำได้เลย

การออกแบบตัวเครื่องมาให้มีขนาดเล็กและโค้งมนสวยงามนั้น ยังช่วยในเรื่องความถนัดในการถือใช้งาน เพราะขนาดนั้นกำลังเหมาะพอดีที่จะถือใช้งานด้วยมือเดียวได้สบาย ความรวดเร็วในการตอบสนองการใช้งานต่างๆ รวดเร็วทั้งการเปิดใช้งานแอพรวมถึงตัวเซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือด้านหลังก็สแกนได้เร็วและแม่นยำ

เรื่องของการใช้พลังงาน แบตเตอรี่ภายในเครื่องเป็นแบบลิเธี่ยมโพลิเมอร์ ความจุ 3000 mAh ที่รองรับระบบชาร์จเร็ว Qualcomm Quick Charge 3.0 จากการทดสอบในการชาร์จแบตเตอรี่จาก 0% จนเต็ม ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงนิดๆ เท่านั้นนอกจากนี้ในตัวเครื่องยังมีระบบ NeoPower 2.0 ที่ช่วยบริหารจัดการเกี่ยวกับการใช้พลังงานในเครื่อง ที่เลือกได้ว่าจะเน้นประสิทธิภาพมากน้อยตามต้องการ ช่วยให้ใช้แบตเตอรี่ได้ยาวนานมากขึ้น

จากการทดสอบใช้งานเลือกในโหมด Performance ที่ใช้พลังงานเต็มที่เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ใช้งานตามปกติ ทั้งโทรเข้ารับสายโทรศัพท์, แชท, เล่นโซเชียล โดยเชื่อมต่อ Wi-Fi สลับกับ 4G, เล่นเกมประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง แบตเตอรี่ 100% ในตอนเช้า 7.00 น. พอถึง 6 โมงเย็น ยังมีแบตเหลือเกือบๆ 10% ถ้าใช้แบบประหยัดแบตเตอรี่หน่อย ไม่ค่อยเล่นเกม แล้วก็ถ่ายรูปไม่เยอะมาก แบตเตอรี่ใช้แบบอยู่เต็มวันได้สบายๆ

รวมฟีเจอร์เด็ดใน Nubia Z11

นอกจากเรื่องของความแรงและประสิทธิภาพการใช้งานทั่วไปแล้ว Nubia ยังใส่ลูกเล่นฟีเจอร์พิเศษเพิ่มเข้ามาใน Z11 ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากกว่าสมาร์ทโฟน Android ทั่วๆ ไปอีกหลายอย่าง

Split Screen

ความสามารถในการใช้งานแบบพร้อมกัน 2 แอพพร้อมกันนั้น อาจจะเคยเห็นมีในสมาร์ทโฟนหลายๆ รุ่น แต่ใน Nubia Z11 นั้นมีความแตกต่างที่ดีกว่า

  • สามารถเลือกเปิดแอพ 2 ตัวให้ทำงานพร้อมกันในหน้าจอเดียว โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นแอพอะไร จะใช้ Facebook พร้อมดู Youtube, เล่น LINE พร้อมเปิดเกม Pokemon GO หรือจะเปิด Google Maps เพื่อนำทางพร้อมพิมพ์แชทผ่าน Messenger ไปก็ได้
  • เลือกปรับขนาดของการแบ่งหน้าจอได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่หน้าจอไหน เพียงแค่เลื่อนนิ้วกวาดขึ้นมาจากด้านล่างก็จะเป็นการแบ่งการทำงานแอพออกเป็น 2 หน้าจอทันที โดยระหว่างที่แยกจอนี้สามารถปรับให้ 2 จอเท่ากัน หรือจะเลื่อนให้อีกจอใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าก็ได้
  • ใช้งาน 2 แอพในหน้าจอพร้อมกันได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อความสะดวกในการใช้งานแต่ละแอพ

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

Super Screenshot

การจับภาพหน้าจอในสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ปกติแล้วจะใช้วิธีกดปุ่ม Volume – กับ ปุ่ม Power พร้อมกัน ก็จะเก็บ Screenshot แต่ใน Nubia UI นั้นใส่ลูกเล่นการจับภาพหน้าจอที่น่าสนใจไว้ด้วย โดยเมื่อเรากดปุ่ม Volume – กับ ปุ่ม Power พร้อมกันค้างไว้สัก 2 วินาที หรือเอานิ้วแตะที่เซนเซอร์สแกนลายนิ้วมือด้านหลัง ก็จะเป็นการเรียกหมวดเก็บภาพหน้าจอแบบ Super Screenshot ขึ้นมา ซึ่งจะเลือกได้ 3 แบบด้วยกันคือ

  • Long Screenshot เก็บภาพหน้าจอแบบต่อเนื่องอย่างพวกหน้าเว็บหรือข้อความแชทต่างๆ เลือกแล้วกด Start ตัวระบบจะเลื่อนหน้าจอ scroll ลงให้อัตโนมัติ อยากหยุดตรงไหนก็กด Stop เพื่อบันทึก
  • Free snapshot จับภาพหน้าจอโดยเลือกได้ทั้งแบบเต็มหน้าจอหรือ crop เป็นรูปทรงต่างๆ อย่างวงกลม, รูปหัวใจ หรือจะลากเส้นเองก็ได้
  • Screen recording บันทึกหน้าจอเป็นแบบวิดีโอ ได้นานสูงสุด 2 นาที สามารถปรับได้ว่าจะบันทึกเป็นความละเอียดต่ำหรือ HD

Edge Gesture

รูปแบบการสั่งงานบนสมาร์ทโฟนที่ไม่เหมือนใครของ Nubia ที่เราสามารถกดสั่งงานโดยแตะที่ขอบด้านข้างของจอ ในลักษณะแตะแค่ครึ่งนิ้ว เพื่อเรียกคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว ที่เราไปเลือกเปิดปิดฟีเจอร์นี้ได้ใน Setting > Edge gestures ถือว่าเป็นของแปลกใหม่ที่น่าสนใจ หลังจากลองหัดใช้แล้วก็รู้สึกว่าช่วยให้สั่งใช้งานในหลายๆ เมนูได้เร็วกว่าเดิม

  • กดค้างที่ด้านข้างของจอ จะเปิดหน้าต่างทางลัดเพื่อกลับไปหน้า Home และกดค้างแล้วเลื่อนเพื่อเลือกหน้าโฮมที่ต้องการกลับไป
  • แตะข้างจอแล้วเลื่อนขึ้นหรือลง เพื่อสลับกลับไปยังแอพที่ทำงานอยู่ Backgroud หน้าตาจะเหมือนเรากำลังเปิดหน้าหนังสือ นอกจากนี้ยังเลือกกำหนดเพื่อเป็น Shortcut ในการเข้าแอพที่ต้องการจากการเลื่อนขึ้นหรือลงได้ด้วย อาทิ แตะแล้วเลื่อนลงเข้าเมนูกล้อง แตะแล้วเลื่อนขึ้นเพื่อเปิด Gallery ก็ทำได้ด้วย
  • แตะด้านข้างจอที่หัวมุมแล้วเลื่อนขึ้นลง 2 ครั้ง จะเป็นการสั่งเคลียร์แอพที่เปิดค้างเอาไว้ทั้งหมด (เหมือนสั่ง Accelerate) เป็นการคืนแรมให้ระบบ ให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้น
  • เอานิ้วแตะที่ขอบจอทั้งสองข้างค้างไว้แล้วเลื่อนขึ้นลง เพื่อปรับความสว่าง (Brightness) ของหน้าจอ
  • แตะที่ขอบจอ 2 ครั้ง เป็นคำสั่งย้อนกลับ (back)

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

รีโมทคอนโทรล

เป็นฟีเจอร์ที่ดีและหลายๆ คนชอบใช้มาก แต่บรรดาสมาร์ทโฟนรุ่นในปัจจุบันไม่ค่อยจะใส่มาให้แล้ว แต่ว่าใน Nubia Z11 ยังมีใส่ให้มาด้วย โดยจะมีพอร์ตสัญญาณอินฟราเรดที่ด้านบนของตัวเครื่อง ส่วนตัวแอพรีโมทคอนโทรลในเครื่องนั้นจะมีโปรไฟล์ของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามาให้ทั้งทีวี, เครื่องเล่นโฮมเธียเตอร์, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องเสียง, โปรเจคเตอร์ ฯลฯ หลากหลายยี่ห้อ หรือว่าถ้าหาโปรไฟล์ไม่เจอก็ยังสร้างขึ้นมาเองแล้วสั่งก็อปปี้ชุดคำสั่งจากรีโมทเครื่องเองก็ได้

Nubia Z11 Review

Camera

มาต่อกันที่เรื่องของกล้องถ่ายภาพกันบ้าง ตามสเปคแล้วกล้องด้านหลังของ Nubia Z11 ใช้เซนเซอร์ CMOS ของ Sony รุ่น IMX298 ที่ความละเอียด 16 ล้านพิกเซลครอบด้วยกระจกซัฟไฟส์ พร้อมทั้งมีระบบ OIS (optical Image Stabilized) ลดการสั่นไหวของภาพ และ PDAF (Phase Detection Autofocus) ทำให้ช่วยจับโฟกัสภาพได้อย่างรวดเร็ว ส่วนค่ารูรับแสงนั้นจะอยู่ที่ f/2.0

Nubia ยังมีเทคโนโลยีในการบันทึกภาพ DTI (Deep Trench Isolation) ที่ทำให้สีสันออกมางดงามยิ่งขึ้น LTM (Local Tone Mapping) ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับมุมมืดของภาพ ในที่แสงน้อยก็ตาม และเทคโนโลยี ลด Noise ระบบ 3D ที่จะทำให้จับภาพยามค่ำคืนโดยลดปริมาณ noise ในภาพให้น้อยลง

จากการทดสอบถ่ายภาพด้วยกล้องหลังของ Nubia Z11 ในเวลากลางวันสภาพแสงกลางแจ้งทำได้ดี ทั้งความเร็วในการจับโฟกัสและความคมชัดของภาพ, สีสัน แต่ถ้าต้องการใช้โหมด HDR เพื่อถ่ายภาพย้อนแสงจะต้องกดเลือกจากใน Setting เอาเอง (ไม่มี Auto HDR) การบันทึกภาพหลังจากถ่ายทำได้รวดเร็ว (ถ้าถ่ายด้วย HDR จะต้องประมวลผลประมาณ 1-2 วินาที) ส่วนการถ่ายภาพในเวลากลางคืนหรือแสงน้อยนั้น noise ยังพอมีปรากฎอยู่ในภาพอยู่บ้างตามความน้อยของแสง

การถ่ายวิดีโอนอกจากตัวกล้องจะมี OIS แล้ว ยังมีระบบลดการสั่นไหวแบบ EIS และ HIS เพิ่มเข้ามาช่วยให้การถ่ายวิดีโอขณะที่กำลังเคลื่อนไหวมีความนิ่งมากขึ้น ทำให้วิดีโอที่ได้มีความสวยงามและคมชัด

ส่วนกล้องหน้าของ Nubia Z11 ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล รูรับแสง f/2.4 เลนส์มุมกว้างเก็บภาพได้ 80 องศา และที่สำคัญมี Pretty Mode ช่วยปรับหน้าให้ใสกิ๊ง เลือกได้ถึง 10 ระดับ ถ้าต้องถ่ายเซลฟี่ในสภาพแสงน้อยหรือย้อนแสง ยังเลือกเปิดแฟลชที่จะใช้แสงจากหน้าจอมือถือของเรายิงเข้ามาเพื่อเพิ่มความสว่างของใบหน้าได้ด้วย

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

โหมดของกล้องหน้าถือว่าตอบโจทย์คนชอบเซลฟี่ได้ค่อนข้างดี หรือถ้าถ่ายมาแล้วยังรู้สึกว่าปรับหน้าให้สวยได้ไม่สมใจ ก็ยังเข้าไป edit เพิ่มแบบละเอียดใน Gallery ได้ ที่จะมีเครื่องไม้เครื่องมือในการแต่งภาพให้เลือกแบบครบครันจนแทบไม่ต้องไปโหลดแอพแต่งภาพอะไรเพิ่มเติมเลย

นอกจากนี้กล้องของ Nubia Z11 ยังมีให้เลือกฟิลเตอร์ในการถ่ายภาพและวิดีโอที่จะเปลี่ยนภาพให้แบบ realtime และใช้ได้ทั้งโหมดถ่ายของกล้องหน้าและกล้องหลัง สำหรับใครที่อยากได้ภาพแปลกๆ ในหลากหลายอารมณ์ก็เลือกใช้กันได้

Nubia Z11 review ราคา ล้ำหน้าโชว์ techoffside

โหมดเมนูกล้องใน Camera Family

โหมดการถ่ายภาพพื้นฐานที่มีมาให้นั้น นอกจากการถ่ายพาโนรามา, ถ่ายสโลวโมชั่น, ไทม์แล็ป และโหมดโปรแบบปรับแต่งค่าการถ่ายภาพแบบ DSLR แล้ว Nubia ยังมีโหมดการถ่ายภาพที่เรียกว่า Camera Family ที่จะเป็นโหมดถ่ายภาพแบบสำเร็จรูปที่เน้นการใช้งานในหลากหลายสถานการณ์ ช่วยให้คนที่อาจจะไม่มีความรู้ในการถ่ายภาพมากนัก สามารถใช้งานกล้องบนสมาร์ทโฟนถ่ายให้ได้ภาพที่แปลกตาไม่เหมือนใครได้ โดยจะมีโหมดให้เลือกถึง 10 หัวข้อด้วยกัน

  • Multi Exposure การถ่ายภาพแบบซ้อนภาพ 2 รูปเข้าด้วยกันผ่านโหมดสีต่างๆ ทำให้ได้ภาพที่สวยงามแปลกตา
  • Light Painting โหมดที่ต้องตั้งมือถือกับขาตั้งกล้องเพื่อให้นิ่ง ใช้เก็บภาพวาดด้วยแสงไฟเป็นเส้นในสภาวะแสงที่มืดสนิท
  • Electronic Aperture โหมดที่คล้ายกับโหมด Pro แต่จะเป็นเน้นปรับจำลองค่ารูรับแสงให้แคบได้สูงสุดถึง f/44 โดยระบบจะคำนวนเรื่องความเร็วชัตเตอร์ให้ เป็นอีกโหมดสำหรับถ่ายในเวลากลางคืนและใช้ขาตั้งกล้อง
  • Slow Shutter โหมดถ่ายแบบโปรอีกแบบที่เน้นการปรับค่าของความเร็วชัตเตอร์เป็นหลัก สามารถเลือกได้นานสุดถึง 21 นาที
  • Star Trail โหมดถ่ายภาพดาวเวลากลางคืนให้เราต้องขาตั้งกล้องเพื่อถ่ายการเคลื่อนที่ของดาวเป็นเส้น ที่ปุ่มชัตเตอร์มีเข็มทิศบอกทิศให้ด้วย
  • Video Maker โหมดถ่ายวิดีโอที่ใช้วิธีการกดค้างเพื่อเก็บภาพเป็นเฟรมทีละเฟรม ได้สูงสุด 100 เฟรม เอาไว้สำหรับถ่ายวิดีโอแบบ Stop Motion
  • Trajectory โหมดนี้เวลาถ่ายภาพจะต้องตั้งกล้องไว้นิ่งๆ แล้วเก็บภาพเคลื่อนไหว กล้องจะเก็บภาพมาซ้อนกัน 3 เฟรมให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของภาพ
  • DNG โหมดถ่ายภาพโปรขั้นสุด ที่จะบันทึกภาพแบบ RAW แบบสกุล .dng ให้ สำหรับนำไปปรับแต่งค่าสีผ่านโปรแกรมแต่งภาพระดับมืออาชีพได้
  • Clone การตั้งกล้องถ่ายภาพหลายๆ ครั้งเพื่อโคลนวัตถุในภาพ โดยเมื่อถ่ายแล้วจะให้เราวาดตำแหน่งเพื่อสร้างมาส์กลบฉากให้เกิดวัตถุเดียวกันซ้ำอยู่ภายในภาพเดียว
  • Macro ในโหมดนี้จะช่วยให้เวลาต้องการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็กได้คมชัด โดยจะมีตัวแว่นขยายมาช่วยซูมดูรายละเอียดของภาพที่จุดโฟกัสให้เห็นว่าโฟกัสได้ชัดเจนหรือยัง

ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องของ Nubia Z11

ภาพถ่ายกลางแจ้ง สภาพแสงปานกลาง

ถ่ายภาพวัตถุแบบมาโคร

ถ่ายภาพในร่ม และเปิด HDR

ถ่ายภาพมาโคร ในสภาพแสงในร่ม

ถ่ายภาพโดยเปิดโหมด HDR

ถ่ายภาพแสงในเวลากลางคืน ใช้โหมดออโต้

ถ่ายภาพเซลฟี่กล้องหน้า สภาพย้อนแสง แล้วใช้แฟลชจากหน้าจอช่วยให้หน้าสว่างขึ้น

ถ่ายภาพเซลฟี่ ใช้ Pretty Mode ระดับ 5 พร้อมเลือกฟิลเตอร์สี

ใช้โหมด Clone ใน Camera Family ที่ก็อปปี้คนเดียวให้มีหลายๆ คนได้ในเฟรมเดียวกัน

Nubia Z11 จัดสเปคมาให้อย่างแรงระดับตัวท็อป แต่เปิดราคาขายเท่ามือถือระดับกลาง

จากพื้นฐานสเปคเครื่องของ Nubia Z11 นั้นถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก คะแนนใน Antutu เรียกได้ว่าจัดอยู่อันดับต้นๆ ตารางเลยทีเดียว เรื่องประสิทธิภาพจึงไว้ใจได้เลยกับสเปคนี้ ใช้ได้ดีทุกอย่างไม่ว่าจะเล่นเกมกราฟฟิคระดับสูง ทำงานที่ต้องใช้การประมวลผลมากๆ รวมถึงความรวดเร็วในการทำงานของแอพต่างๆ อยู่ในระดับที่ไม่มีเรื่องหน่วงให้มาวุ่นวายใจ

กล้องถ่ายภาพประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ตัวซอฟท์แวร์ใช้งานกล้องทำออกมาให้ใช้งานได้ง่ายในการถ่ายโหมดต่างๆ ให้ได้ภาพแบบโปรส่วนกล้องหน้าเองก็มีโหมดบิวตี้ฟรุ้งฟริ้งในระดับที่สวยไม่หลอนหลอกคน ยังดูเป็นธรรมชาติอยู่ อาจจะติดอยู่นิดตรงเรื่องค่ารูรับแสงที่ยังแคบไปหน่อยทำให้ถ่ายในที่แสงน้อยยังได้แค่พอใช้

ซอฟท์แวร์, เมนูต่างๆ และ UI ทำออกมาใช้งานได้คล่องมือดี ในระบบมีแอพในการใช้งานพื้นฐานมาให้ครบถ้วนจนแทบจะไม่ต้องโหลดอะไรมาเพิ่ม ทั้งระบบจัดการทรัพยากรเครื่อง, แอพแต่งภาพใน Gallery, รีโมทคอนโทรล ฯลฯ แล้วตัว Nubia UI เองก็ออกแบบการสั่งงานแบบไม่เหมือนใครเพิ่มเข้ามาทั้ง Edge Gestures และ Super Screenshot ก็ถือว่าช่วยให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น

ความสวยงามตัวเครื่องดูเรียบๆ และสวยงามดี ถือถนัดมือ แต่ด้วยความที่เครื่องเป็นอลูมิเนียมก็จะมีเรื่องความร้อนในระหว่างการทำงานหนักๆ อยู่บ้าง แบตเตอรี่ 3,000 mAh นั้นถ้าไม่ใช้งานหนักมากก็อยู่เต็มวันได้สบาย แต่ถ้ามีเล่นเกมหรือถ่ายรูปเยอะ แนะนำว่าควรจะมีชาร์จเติมไฟระหว่างวันบ้าง แต่ความที่มี Quick Charge 3.0 ก็ใช้เวลาในการชาร์จแค่ไม่กี่นาทีก็เติมไฟให้อยู่ต่อยันมืดค่ำได้สบาย

ทั้งหมดที่ได้ทดสอบมา ถูกทำให้ดูน่าตื่นเต้นขึ้นไปอีกเมื่อเอามาเทียบกับราคาขาย ที่ Nubia ประเทศไทยเปิด ราคา Nubia Z11 รุ่น RAM 4GB ที่ 14,990 บาท และรุ่น Black Gold RAM 6GB ในราคาที่สูงกว่าแค่พันเดียวคือ 15,990 บาท เรียกได้ว่าน่าจะเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นที่สเปคแรกและราคาถูกที่สุดในตลาดบ้านเราตอนนี้แล้วก็ว่าได้

เหตุที่ทำให้ Nubia Z11 ทำราคาถูกได้ขนาดนี้ เพราะใช้วิธีการตลาดและจัดจำหน่ายเน้นที่ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก โดยใครที่สนใจสามารถสั่งซื้อและสั่งจองสินค้าได้ผ่านทาง store.nubia.com/th สินค้าจะจัดส่งถึงบ้าน และมีศูนย์บริการเรื่องซ่อมผ่านช่องทาง Drop Point แล้ว 15 แห่งทั่วประเทศ และในอนาคตก็เตรียมที่จะขยายช่องทางจำหน่ายอื่นอีกด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาร์ทโฟนของ Nubia สามารถสอบถามได้ผ่านทางสายตรง Hotline 02-087-1400 หรือทาง Facebook : nubiasmartphoneth

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน