ในหลายวันที่ผ่านมาเราจะเห็นข่าวที่เกิดกรณีที่ผู้ขับรถ uber ถูกทาง กรมการขนส่งทางบก จับกุมหลายหลาย และมีความเข้มงวดถึงขั้นจะใช้ ม.44 เพื่อสั่งให้ปิดบริการในประเทศไทย วันนี้ uber ได้ส่งจดหมายชี้แจงเกี่ยวกับกรณีนี้โดยอ้างอิงจากผู้บริหารของ uber ว่า
“ตั้งแต่ Uber เปิดให้บริการในประเทศไทยตั้
งแต่พ.ศ. 2557 Uber ได้เข้าหารือและชี้แจ้งกั บกรมการขนส่งทางบกอย่างต่อเนื่ องตลอดมาว่า Uber ไม่ใช่บริการรถแท็กซี่ แต่เป็นรูปแบบบริการใหม่ที่เรี ยกว่าบริการร่วมเดินทาง (Ridesharing) ซึ่งกฎหมายในปัจจุบันยังไม่ได้ รองรับการให้บริการรูปแบบนี้ที่ พึ่งพาเทคโนโลยีผ่านแอพพลิเคชั่ นสมาร์ทโฟน และมีความแตกต่างจากการให้บริ การขนส่งสาธารณะ จึงทำให้เราไม่สามารถขึ้นทะเบี ยนเป็นรถสาธารณะได้ ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ ากรมการขนส่งทางบกจะรองรั บการให้บริการในรูปแบบใหม่ที่ นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเดิ นทางที่เป็นรูปแบบบริการร่วมเดิ นทาง”
นอกจากนี้ทาง Uber ยังได้เปิดหน้าเว็บ action.uber.org/th เพื่อเชิญชวนประชาชนที่ต้องการสนับสนุน ร่วมลงชื่อสนับสนุนเพื่อผลักดันให้ทางรัฐบาลออกมารองรับบริการในรูปแบบของ Ridesharing นั้นสามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมาย
ความเห็นจากทีมข่าวล้ำหน้าฯ
ปัญหาของทาง uber และอีกหลายแอพพลิเคชั่นที่มีลักษณะเดียวกันนี้ กับทางกรมการขนส่งทางบก มีปัญหากันมาหลายปีและดูไม่มีท่าทีที่จะหาข้อบรรจบได้ และความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของทางกรมการขนส่งฯ ก็ดูจะเป็นไม้แข็งขนาดที่ว่าจะกวาดล้างให้บริการประเภทนี้หายไปจากประเทศไทยกันเลย โดยใช้ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ที่เขียนมาตั้งแต่ 38 ปีที่แล้วมาเป็นข้อกำหนด ท่ามกลางยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ครั้งนี้ uber จึงยื่นขอเสนอเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการออกกฎหมายเพื่อมารองรับระบบการนี้ให้ถูกต้อง
เอาเป็นว่า ถ้าใครอยากร่วมเป็นกำลังใจและอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็สามารถเข้าไปลงชื่อเพื่อสนับสนุนได้ที่ action.uber.org/th