ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจไม่จำเป็นต้องใช้เซ็นเซอร์จำนวนมากมายมหาศาลในการตรวจจับแผ่นดินไหวในจุดต่างๆ ทั่วโลกแล้วก็เป็นได้ หากแต่เปลี่ยนไปใช้สาย “ไฟเบอร์ออพติก” ที่ใช้เชื่อมต่อโครงข่ายอินเตอร์เน็ตในทุกวันนี้เป้นตัวช่วยในการตรวจจับแทน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ค้นพบวิธีในการใช้สายไฟเบอร์ออพติกในการตรวจจับแผ่นดินไหว โดยจะมือเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบการรบกวนจากแรงสั่นสะเทือนของแสงที่ส่งผ่านเส้นไฟเบอร์ออพติก ซึ่งจะสามารถตรวจจับได้ทั้งขนาดและทิศทางของแรงสั่นสะเทือน ซึ่งนอกจากระบบดังกล่าวจะสามารถตรวจจับคลื่นความสั่นสะเทือนได้ในหลายๆ รูปแบบแล้ว (ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในการระบุว่าแรงสั่นสะเทือนนั้นจะอันตรายขนาดนั้น) ยังสามารถใช้ในการตรวจจับแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่เล็กๆ ที่อาจจะรอดพ้นการตรวจจับด้วยเซ็นเซอร์ปกติไปได้ด้วย
การใช้สายไฟเบอร์ออพติกในการตรวจจับแผ่นดินไหวนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่เสียทีเดียวนัก โดยก่อนหน้านี้ได้มีการใช้สายไฟเบอร์ออพติกที่ลากไว้บนพื้นหรือในผนังซีเมนต์เป็นตัวตรวจจับมาก่อนแล้ว โดยจะอาศัยสายไฟเบอร์ออพติกเป็นตัว “ฟัง” เสียงของแรงสั่นสะเทือนโดยตรง แต่เทคนิคใหม่นี้สามารถปรับใช้กับสายไฟเบอร์ออพติกที่ลากอยู่บนเสาไฟตามปกติได้ในทันที
ข้อจำกัดของวิธีใหม่นี้คือขนาดของเครือข่ายสายไฟเบอร์ออพติก ที่ปัจจุบันมักจะใช้กันอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เป็นหลัก (ส่วนตามพื้นที่ชนบทหลายที่ยังคงใช้สายทองแดงกันอยู่) อีกทั้งการติดตั้งเครื่องตรวจสอบการรบกวนจากแรงสั่นสะเทือนบนเครือข่ายไฟเบอร์ออพติกอาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่าการตั้งเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวแบบเดิมด้วย
อ้างอิง – Engadget