ofo (โอโฟ่) ผู้นำบริการจักรยานสาธารณะอัจฉริยะอันดับหนึ่งของโลกหรือที่รู้จักกันในคอนเซ็ปต์จักรยานแบ่งปัน หรือ Bike-Sharing รุกขยายบริการทั่วไทยหลังได้รับการตอบรับดีเยี่ยมมียอดผู้ใช้ต่อวันสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก ล่าสุดปักหมุดสมาร์ทซิตี้ลำดับที่ 3 จังหวัดขอนแก่น โดยประเดิมเริ่มเปิดให้บริการแล้วที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
ofo เริ่มบริการ Bike-Sharing แล้วที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นลำดับที่ 3 ในประเทศไทย
นายนพพล ตู้จินดา ผู้จัดการทั่วไป โอโฟ่ ประเทศไทย กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้เริ่มเปิดให้บริการจักรยาน ofoในมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ไม่กี่วันที่ผ่านมา พบว่าได้รับผลตอบรับดีเกินคาด มียอดจำนวนการใช้งานสูงถึงหลายพันเที่ยวต่อวันนับเป็นอัตราการใช้งานที่สูงมากเมื่อเทียบกับอัตราการใช้งานในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ ofoได้เริ่มเปิดให้บริการ ซึ่งการขยายการบริการจักรยาน ofoที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการขี่จักรยานที่แพร่หลายมากขึ้นด้วยด้วยจักรยานของ ofoแล้ว จังหวัดขอนแก่นยังถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในการขยายการให้บริการจักรยาน ofoตามกลยุทธ์ขยายบริการในกลุ่มจังหวัด Smart City ตามนโยบายของทางภาครัฐ ซึ่งสำหรับประเทศไทยมีเมืองต้นแบบอยู่ 3 เมืองที่ดำเนินตามแนวทางของSmart City นั่นคือเมืองภูเก็ตเมืองขอนแก่นและเมืองเชียงใหม่ซึ่งที่ผ่านมาofoได้เปิดให้บริการใน Smart City ที่แรกคือภูเก็ตในเดือนกันยายนที่ผ่านมา และเชียงใหม่ที่เริ่มด้วยการเข้าไปสนับสนุนจักรยาน ofoในการจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และล่าสุดในจังหวัดขอนแก่นที่ได้เริ่มเปิดให้บริการที่ ม.ขอนแก่นเป็นที่แรก โดยเริ่มให้บริการวันแรกในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
“เราเชื่อว่า ofo จะได้รับความนิยมและได้ผลตอบรับที่ดีเช่นการเปิดตัวในหลายมหาวิทยาลัย เห็นได้จากผลตอบรับจากเหล่านักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยขอนแก่นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่นอกจากจะเป็นทางเลือกการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย และดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ด้วยเทคโนโลยีของ ofoที่จะช่วยให้การใช้งานทำได้อย่างสะดวกง่ายดายเพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ofo และเริ่มค้นหาจักรยานที่อยู่ใกล้คุณ ด้วยเทคโนโลยีของจักรยาน ofoทุกคันที่มีทั้ง gpsในการระบุตำแหน่งจักรยานได้อย่างแม่นยำพร้อมระบบ Smart Lock ที่ผู้ใช้สามารถปลดล็อกอย่างง่ายดายเพียงสแกน QR Code เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่กับ ofo ได้แล้ว และพิเศษสุดสำหรับการเปิดตัวนี้จะเปิดให้ใช้บริการฟรี ไม่คิดค่ามัดจำและค่าบริการตั้งแต่วันนี้ – 31 ม.ค.61” นายนพพล กล่าว
ด้าน รศ.ดร.กิตติชัยไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งอยู่บนพื้นที่ 5,500 ไร่ ซึ่งถือเป็นพื้นที่สีเขียวสำคัญที่เปรียบเสมือนปอดใจกลางเมืองขอนแก่น โดยปัจจุบันมีนักศึกษารวมกว่า 40,000 คน แม้ภายในมหาวิทยาลัยจะมีการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ค่อนข้างมาก แต่ที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้มีการใช้จักรยานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการเกิดมลภาวะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับความร่วมมือล่าสุดกับทาง ofoในการเริ่มให้บริการจักรยาน Bike-Sharing ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมการเดินทางโดยจักรยานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสภาพแวดล้อมส่งเสริมสุขภาพนักศึกษาและบุคลากรให้แข็งแรง ซึ่งถือเป็นหนึ่งทางเลือกด้านการขนส่งมวลชนในมหาวิทยาลัยที่สะดวกปลอดภัยในราคาประหยัด”
ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้นนี้ได้เตรียมจุดจอดจักรยาน ofoในมหาวิทยาลัยขอนแก่นไว้มากกว่า 20 จุด ทั่วมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาทิเช่นบึงสีฐานอาคารสิริคุณากรศูนย์อาหารคอมเพล็กซ์ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก หอพักนักศึกษาชาย โรงอาหารหนองแขมโซนหอพักนพรัตน์โซนหอพักอินเตอร์ สำนักวิชาศึกษาทั่วไปคณะมนุษยศาสตร์โรงอาหารกังสดาล คณะเกษตรศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์
“Smart City เป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองภายใต้กรอบความคิดที่มุ่งให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันทั่วโลกมีเมืองที่เดินตามแนวทางของSmart City อยู่มากมายโดยจะเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาดูแลและพัฒนาเมืองให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งofoถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ Smart City ที่ได้สร้างปรากฏการณ์มาแล้วในกว่า 200 เมืองทั่วโลก ซึ่ง ofoถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการเดินทางที่สร้างสรรค์ขึ้นสำหรับทุกคน เข้าถึงคนทุกระดับ ตอบโจทย์ในการเพิ่มศักยภาพให้เมืองและผู้คนให้เกิดความ สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งไม่ก่อมลพิษ ซึ่งสำหรับแผนการขยายการบริการในประเทศไทยจะยังคงเดินหน้าเพิ่มจุดให้บริการอย่างต่อเนื่องโดยจะเน้นการทำงานร่วมกับเจ้าของพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้การสร้างสังคมจักรยานแบ่งปันหรือ Bike-Sharing ในเมืองไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน” นายนพพล กล่าวในตอนท้าย