Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018

Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018 สร้างสรรค์นวัตกรรมนำเอเชียแปซิฟิกก้าวสู่ยุคดิจิทัล

หัวเว่ยจัดงาน หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก อินโนเวชั่น เดย์ (Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018)  ครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ โดยหัวเว่ย เทคโนโลยี่ กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยร่วมจัดงานนี้ภายใต้แนวคิด “สร้างสรรค์นวัตกรรมนำเอเชียแปซิฟิกก้าวสู่ยุคดิจิทัล (Innovate for a Digital Asia-Pacific) ผู้เข้าร่วมงานทั้งจากทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษากว่า 300 คน มีโอกาสร่วมกันศึกษาว่าโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล ยกระดับชีวิต ผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม และปลูกฝังวงจรของการแบ่งปันความสำเร็จร่วมกัน ได้อย่างไร

Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018

Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018 สร้างสรรค์นวัตกรรมนำเอเชียแปซิฟิกก้าวสู่ยุคดิจิทัล

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกถือเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดตลาดหนึ่งของโลก และถือเป็นตลาดที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลในระดับอุตสาหกรรม โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว    ในงาน หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก อินโนเวชั่น เดย์ ครั้งที่ 4 นี้ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ให้เกียรติเป็นผู้กล่าวคำปราศรัยในพิธีเปิดงาน ซึ่งดร.สมคิด กล่าวโดยสรุปว่าประเทศไทยจะใช้กลยุทธ์ใดบ้างเพื่อ “เปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัล” และเน้นย้ำว่าสังคมแบบดิจิทัลจะช่วยเปลี่ยนและยกระดับเศรษฐกิจไทยให้ทันสมัยยิ่งขึ้นได้อย่างไร นวัตกรรมที่อาศัยรากฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อนโยบายประเทศไทย4.0 และผลจากการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลกำลังส่งผลต่อโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เป็นแบบแนวดิ่ง ช่วยให้ภาคธุรกิจมีผลิตภาพสูงขึ้น ลดต้นทุน และช่วยให้นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ได้ นวัตกรรมเหล่านี้ยังส่งผลให้เกิดรูปแบบการดำเนินธุรกิจหรือตลาดใหม่ๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสด้านการพัฒนาให้ทุกคน

ดร. สมคิดกล่าวย้ำความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่จะส่งเสริมการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล อีกทั้งยังเน้นย้ำถึงบทบาทของหัวเว่ยในฐานะองค์กรเอกชนที่มีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทย ดร. สมคิดยังคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีโอกาสสานความร่วมมือเชิงลึกกับหัวเว่ยต่อไปในอนาคต

Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018

นายกัว ผิง ประธานกรรมการหมุนเวียนตามวาระ ของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ กล่าวปราศัยเพื่อเสริมย้ำถึงความสำคัญของการใช้นวัตกรรมดิจิทัลอย่างครบวงจรว่า “ระบบเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัล แต่อัตราการเติบโตนั้นยังไม่คงที่ ช่องว่างระหว่างระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วกับกำลังพัฒนานั้นกลับกว้างยิ่งขึ้น สถานการณ์ที่คล้ายกับปรากฎการณ์แมทธิว (Matthew effect) กำลังก่อตัวขึ้นเพราะประเทศที่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปสู่แบบดิจิทัลสามารถสร้างรายได้จากโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งกว่าประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดีเรา ทุกคนสามารถร่วมมือกันเพื่อปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลได้ล่วงหน้า”

ในโอกาสนี้ นายกัวยังยกตัวอย่างความต้องการด้านดิจิทัลของแต่ละประเทศโดยเปรียบเทียบกับกับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ “ความต้องการด้านดิจิทัลสามารถแยกย่อยได้หลายลำดับชั้น เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความมั่นคงปลอดภัย อุตสาหกรรมดิจิทัล และการพัฒนา ‘สมองดิจิตอล (digital brain)’ เมื่อลำดับขั้นของความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ภาครัฐยิ่งจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากยิ่งขึ้นเพื่อผสานการทำงานของหน่วยงานภาครัฐแต่ละหน่วย ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และพันธมิตรต่างๆ”

“อีโคซิสเต็มหรือระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญ โดยภาครัฐต้องเป็นผู้นำ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องปฎิบัติงานเชิงรุก    ในส่วนที่พวกเขาเกี่ยวข้อง และทุกคนในสังคมต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางดิจิทัลของตน” นายกัวสรุป “หัวเว่ยยินดีและพร้อมจะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อสร้างวงจรของนวัตกรรมดิจิทัลที่สมบูรณ์ เราพร้อมจะร่วมมือกับทุกประเทศอย่างเปิดเผยและร่วมมือในเชิงลึก หัวเว่ยยังยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันตลาดร่วมกับองค์กรอื่นๆ ที่มีศักยภาพ เพราะเราทุกคนสามารถสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมและช่วยให้ตลาดนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง”

Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018

การผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลและการวิจัยในประเทศไทย

ในงานนี้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ระบุถึงการสานความร่วมมือระหว่างผู้ลงนามด้านการวิจัยและนวัตกรรม อันจะช่วยผลักดันประเทศไทยไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมดิจิทัล และช่วยนำนวัตกรรมต่างๆ ที่คิดค้นโดยคนไทยหรือในประเทศไทยไปสู่เวทีโลก ตัวอย่างของความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ได้แก่:

  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่มีความซับซ้อน (Deep Technology) เพื่อช่วยให้ประเทศไทยรุดหน้าไปสู่ยุค 4.0
  • เสริมสร้างความร่วมมือและการสื่อสารอันดีตลอดขั้นตอนการวางแผนและพัฒนานวัตกรรม เสริมสร้างความร่วมมือในสาขาความร่วมมือที่มีอยู่เดิม
  • สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและครบวงจร ต่อธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย
  • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน พัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถผ่านหัวเว่ย โอเพ่นแล็บ (OpenLab) และศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ CSIC (Customer Solution Innovation & Integration Experience Center)
  • ช่วยให้การสื่อสารระหว่างนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ นวัตกร และนักวิจัยอื่นๆ เป็นไปโดยสะดวกยิ่งขึ้น
  • ช่วยปรับเปลี่ยนการวิจัยให้เป็นทฎษฎีทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ใหม่ๆ

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และนายกัว ผิง ประธานกรรมการหมุนเวียนตามวาระ ของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้

Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018

การปลูกฝังแนวคิดดิจิทัลอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก อินโนเวชั่น เดย์ ถือเป็นงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระดับสูงที่บุคคลสำคัญในการพัฒนาแนวคิดดิจิทัลอีโคซิสเต็มในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างพร้อมใจกันเข้าร่วม โดยบุคคลสำคัญจากภาครัฐที่เข้าร่วมงานในปีนี้ได้แก่ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย นายมุสตาฟา จับบา (Mustafa Jabbar) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศบังคลาเทศ นายบุนสะเหลิมไซ เคนนาวง (Bounsaleumsay Khennavong) รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคม และการสื่อสารของประเทศลาว และดร. กาน จันทร์เมตตา (Dr. Kan Channmeta) เลขานุการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมกัมพูชาของประเทศกัมพูชา ซึ่งรัฐมนตรีเหล่านี้ได้ร่วมกันหารือนอกรอบเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของภาครัฐต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ยุคดิจิทัลและแนวปฏิบัติที่ดีต่างๆ

ในโอกาสนี้นายเจมส์ วู ประธาน หัวเว่ยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอแผนส่งเสริมนักพัฒนาซอฟท์แวร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Huawei’s Developer Enablement Plan)   อันเป็นแผนการสำหรับสนับสนุนเศรษฐกิจแบบดิจิทัลและการวางรากฐานทางดิจิทัลแบบครบวงจรในภูมิภาค

ภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า หัวเว่ยจะลงทุนกว่า 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในโครงการ Huawei OpenLab บ่มเพาะนักพัฒนาระบบคลาวด์ และสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในโอกาสนี้      นายเจมส์กล่าวว่า “หัวเว่ยปรารถนาจะผลักดันนักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามีประสบการณ์และบ่มเพาะศักยภาพด้านไอซีทีมานานกว่า30 ปี การเชื่อมต่อโปรแกรมต่างๆ (APIs) และ   แพลทฟอร์มการพัฒนาของเราช่วยให้นักพัฒนาจำนวนมากรวมถึงเครือข่ายในการพัฒนาในภูมิภาคมีขีดความสามารถสูงขึ้น นี่เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการสร้างโซลูชั่นสำหรับผลักดันอุตสาหกรรมต่างๆ ไปสู่ยุคดิจิทัลและสร้างโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ หากเราทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน เราสามารถฝันถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้นและก้าวไปไกลขึ้น”

นายเจมส์ยังกล่าวว่าหัวเว่ยจะเปิด Huawei OpenLab ในกรุงเดลี ประเทศอินเดียในเดือนสิงหาคมปีนี้Huawei OpenLab ทั้งที่กรุงเดลีและที่กรุงเทพฯ จะเป็นสถานที่สำหรับให้บริการเกี่ยวกับแพลทฟอร์มนวัตกรรมแบบเปิดกว้างที่หัวเว่ยกับพันธมิตรท้องถื่นรายต่างๆ จะร่วมมือกันพัฒนาโซลูชั่นทางอุตสาหกรรมสำหรับแต่ละท้องถิ่น

ในโอกาสเดียวกันนี้ นายเจมส์ยังประกาศว่ากิจกรรมหัวเว่ยดิเวลลอปเปอร์ชาลเลนจ์ (Huawei Developer Challenge) ประจำปี 2561 จะจัดขึ้นในวันที่ 11 มิถุนายนนี้ กิจกรรมพิเศษนี้เป็นกิจกรรมที่หัวเว่ยจะช่วยให้คำแนะนำกับนักพัฒนาที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยหัวเว่ยจะให้การสนับสนุนนักพัฒนาที่ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ บนแพลทฟอร์มหัวเว่ยคลาวด์ และผู้ที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ตามเกณฑ์ของหัวเว่ยจะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดกว่า 150,000 เหรียญสหรัฐฯ

Huawei Asia-Pacific Innovation Day 2018

ระเบียบข้อบังคับ ความเป็นผู้ประกอบการ และไอซีทีในฐานะเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจ

ในงานเดียวกันนี้ ดร. มีร์โก ดรากา นำเสนองานวิจัยหัวข้อ “บทบาทที่เพิ่มขึ้นของไอซีทีต่อเศรษฐกิจ” ที่หัวเว่ยดำเนินการวิจัยร่วมกับวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน กล่าวโดยสรุปแล้ว งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลจะช่วยเพิ่มผลิตภาพได้เป็นอย่างมาก และคนทั่วไปจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ 5G คลาวด์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอีก 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังสรุปว่าไอซีทีเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระบวนการถ่ายทอดความรู้ได้ดีกว่าเทคโนโลยีชนิดอื่นๆ ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าปัญญาประดิษฐ์ยังไม่ส่งผลที่มีนัยสำคัญต่อการจ้างงาน ในทางกลับกัน สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและผลพวงที่ตามมากลับจะส่งผลลบต่อการจ้างงานมากกว่าปัญญาประดิษฐ์

ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเข้าร่วมงาน หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก อินโนเวชั่น เดย์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดด้านการพัฒนาดิจิทัลอีโคซิสเต็มให้สมบูรณ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ต่างให้ความสำคัญกับนโยบายและกฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ ระบบปัญญาประดิษฐ์ระดับยูนิคอร์น และวิธีการที่จะประยุกต์ใช้ไอซีทีให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในงานครั้งนี้ประกอบไปด้วยนายอาชิช นารายัน (Ashish Narayan) ผู้ประสานงานโครงการประจำสำนักงานสาขาเอเชียและแปซิฟิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย เหยียนเหนียน ฮู (Yannian Hu) รองผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างสมาร์ท เหวยฟาง (Smart Weifang Construction Office)    นายวิคเตอร์ โตโพธิ์ยศสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีเอสเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด และนายหลู่ ฮ่าว (Lu Hao) ผู้บริหารด้านนวัตกรรมระดับสูงของอีถูเทคโนโลยี (Yi Tu Technology)

หัวเว่ยเริ่มจัดงาน เอเชีย-แปซิฟิก อินโนเวชั่น เดย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยจัดงานในครั้งก่อนหน้าจัดขึ้นที่เมืองสำคัญๆ ของโลกหลายแห่ง ทั้งลอนดอน มิลาน มิวนิก ปารีส สิงคโปร์ ซิดนี่ย์ กัวลาลัมเปอร์ ดูไบ และเซา เปาโล ทั้งนี้หัวเว่ยป็นองค์กรที่เปิดกว้าง สนับสนุนการสร้างงานวัตกรรม การประสานความร่วมมือ และการก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน หัวเว่ยยังมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน