ผู้คนหลายล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ (หรือ เอาภาษาเข้าใจง่ายๆ คือ โรคสมองเสื่อม) โดยที่มันยังเป็นการยากที่จะหาสาเหตุ หรือ ตรวจเจออาการตั้งแต่เนิ่นๆ
แต่ทีมนักวิจัยก็ไม่ลดละความพยายาม และลองหาหนทางว่า AI (Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์) นั้น สามารถเรียนรู้ข้อมูล และเข้ามาช่วยเหลือในการวินิจฉัย หรือ ตรวจอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีความเป็นไปได้ มันจะเป็นอะไรที่ช่วยได้มากที่จะตรวจพบอาการตั้งแต่เนิ่นๆ
ทีมนักวิจัยในแคลิฟอร์เนียตีพิมพ์การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ลงในวารสาร Radiology ซึ่งพวกเค้าได้ทำการสาธิตให้ดูว่า ตัว neural network หลังจากการได้รับการป้อนข้อมูลเข้าไป มันสามารถวินิจฉัยอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ ในผู้ป่วยกลุ่มเล็กๆ ซึ่ง พบอาการจากขั้นตอนการสแกนสมอง ที่ผู้ป่วยคนนั้นได้ทำการสแกนไว้ก่อน 1 ปี ก่อนผู้ป่วยจะถูกวินิจฉัยอาการโดยแพทย์
ข้อมูลที่ทีมนักวิจัยป้อนลงใน neural network ก็คือ ภาพสมอง (FDG-PET image) ซึ่งภาพประเภทนี้ เป็นกัมมันตภาพรังสีของกลูโคส ซึ่งสูบฉีดในกระแสเลือด และ เนื้อเยื่อของคนเรา รวมไปถึง เนื้อเยื่อสมองด้วย ซึ่งทีมแพทย์สามารถใช้ PET สแกน เพื่อทำความเข้าใจการเผาผลาญของเนื้อเยื่อดังกล่าว ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับว่า มีการใช้ FDG ไปมาก-น้อยเพียงใด
ซึ่ง FDG-PET นั้นถูกใช้กับอาการของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับการเผาผลาญในระดับต่ำในส่วนต่างๆของสมอง แต่ ผู้เชี่ยวชาญต้องวิเคราะห์ภาพเหล่านี้ เพื่อตรวจหาอาการของโรคอัลไซเมอร์ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่า ความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมอง (Mild Cognitive Impairment หรือ MCI) กับ โรคอัลไซเมอร์ นั้นให้ผลการสแกนที่ออกมาเหมือนกัน
นักวิจัย ป้อนภาพ FDG-PET จำนวน 2,109 ภาพ ของคนไข้ 1,002 ราย เพื่อบอกและสอน (สื่อใช้คำว่า train) ระบบ AI ของ neural network 90% และ ใช้ในการทดสอบผู้ป่วยอื่น 10% นอกจากนั้น ยังมีการทดสอบ neural network แยกกับคนไข้อีก 40 ราย ที่เคยผ่านการสแกนแล้วตั้งแต่ปี 2006 จนถึง 2016 แล้วนำผลที่ AI ตรวจพบ มาเทียบกับการวินิจฉัยของทีมแพทย์ที่วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเดียวกัน
AI สามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ 100% ของชุดข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งมันช่วยในการตัดสินใจที่ถูกต้องได้มากถึง 82% กรณีที่คนไข้ยังไม่มีอาการป่วย ณ เวลานั้นๆ
นอกจากนั้น AI ยังช่วยวินิจฉัยอาการไปอีก 6 ปีข้างหน้าโดยเฉลี่ยได้
ซึ่ง ผลการวินิจฉัยของทางทีมแพทย์เองนั้น สามารถตรวจผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ถูกต้อง 57% และ อีก 91% สำหรับผู้ที่ยังไม่แสดงอาการ ณ เวลานั้น
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่าง การตรวจของแพทย์ และ AI นั้นก็ยังไม่สามารถเคลียร์ขาดได้ ถ้าหากผู้ป่วยมีความผิดปกติเล็กน้อยของความสามารถของสมอง (MCI) ที่ไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นจะทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์
ซึ่ง ทีมวิจัยเองก็ได้ระบุข้อจำกัดของการทดลองไว้หลายข้อ รวมไปถึง
- จำนวนข้อมูลที่ใช้ทดสอบเพียงน้อยนิด
- ประเภทของข้อมูลที่ป้อนเข้าเพื่อสอนระบบ ที่มีจำกัด
ซึ่ง คิดว่า อัลกอริทึ่มของระบบต้องการข้อมูลที่มากกว่านี้ แต่ นี่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ที่บอกว่า AI จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เข้ามาช่วยแพทย์รังสีวิทยาได้มากในอนาคต
source
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง