ระบบ AI นั้นถือเป็นเทรนด์ของเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่ตัวมันเองนั้นมีความฉลาด ความสามารถในการเรียนรู้ และปรับปรุงสิ่งต่างๆมากมาย ที่ทำได้ดีกว่ามนุษย์เองหลายเท่า และไม่เว้นแม้แต่กับวงการเกมด้วย ซึ่งเครื่องมือตัวใหม่นี้ AI Upscaling จะช่วยทำให้ภาพเกมเก่าๆ มีกราฟฟิคที่สวยขึ้น เหมือนทำ Remastered
เทคนิคที่ใช้ก็คือระบบการ AI Upscaling นั่นเอง โดยที่เราเอาภาพต้นฉบับ ที่มีความละเอียดต่ำ ใส่เข้าไปให้กับตัวระบบ AI นั้นเรียนรู้ แล้วทำการอ่านข้อมูล ค่าที่ได้ต่างๆ เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขในแต่ละจุด ให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าส่วนสำคัญนั้น อยู่ที่การเขียนระบบอัลกอริทึ่มจากผู้สร้าง AI นั่นเอง ว่าจะสามารถทำให้มันฉลาดได้ขนาดไหน และปรับปรุงภาพได้ดีหรือเปล่า
ตัวอย่างที่ได้ทดลองทำมาแล้ว กับเกม RPG สุดคลาสสิกอย่างเกม The Elder Scrolls III: Morrowind ที่ถูกอาจารย์และนักเรียนจากนอร์เวย์ นำเอามาเข้าระบบ AI ตัวนี้ เพื่อปรัปปรุงภาพให้ดีกว่าเดิม
เปรียบเทียบงานแบบนี้ ก็เหมือนกับการฟื้นฟูสภาพเฟอร์นิเจอร์เก่า ให้กลับมามีชีวิตเหมือนใหม่อีกครั้ง ซึ่งมันไม่ใช่งานที่ง่ายเลย เพราะจำเป็นต้องใช้ศิลปะเข้ามาผสมด้วย ว่าตรงส่วนไหนควรใส่อะไร ทำยังไง ไม่ใช่งานที่ทำลวกๆ แล้วจะออกมาดูได้ แต่จากผลลัพธ์ที่เห็น ก็ถือว่าทำออกมาได้ดีทีเดียว
นอกจากนั้น มันยังมาพร้อมระยะเวลาในการทำที่ไม่นานอีกด้วย โดยใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่อาทิตย์เท่านั้น ก็สามารถทำให้ภาพให้สวยงามขึ้นได้ ซึ่งถ้าหากต้องใช้ทีมงานคนในการทำล่ะก็ ดีไม่ดีอาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆกันเลยทีเดียว
I cannot believe that results like this are possible with some dumb algorithm. It’s absurd pic.twitter.com/hxn2yk6tLo
— Linguica (@andrewrstine) December 10, 2018
แต่กับบางตัวอย่าง เช่นเกม Doom ที่ Modder นามว่า hidfan ได้อธิบายถึงงานที่เค้าลองทำภาพใหม่ บอกว่าใช้เวลาอย่างต่ำกว่า 200 ชั่วโมง เพราะว่างานหลายส่วนต้องทำด้วยคนและมือ ตัว AI ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากว่าทำออกมาไม่ดีพอ ผู้เล่นก็จะมองออก ว่าการต่อเรียงกันของภาพนั้น ไม่สมบูรณ์ ไม่เนียน
หลักจากการสร้าง AI นั้น จริงๆแล้วไม่ได้มีอะไรยาก Albert Yang เจ้าหน้าที่ CTO ของ Topaz Labs อธิบายว่า เพียงแค่เอารูปเป็นจำนวนล้านๆรูป ระหว่างรูปที่มีความละเอียดต่ำ และรูปที่มีความละเอียดสูง ใส่เข้าไปให้ตัวระบบ AI เรียนรู้เปรียบเทียบ มันก็จะเริ่มพอมองออกว่าความแตกต่างอยู่ที่ตรงไหน ตรงไหนที่ต้องปรับปรุงให้รูปที่มีความละเอียดต่ำ กลายเป็นรูปที่มีความละเอียดสูง ซึ่งอัลกอริทึ่มที่ว่านี้ มีชื่อเรียกว่า generative adversarial network (GAN)
แน่นอนว่านี่เป็นเทคโนโลยีที่ยังต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาให้สมบูรณ์อยู่ แต่ก็ถือว่าเริ่มเห็นภาพได้อย่างชัดเจนแล้ว ว่านี่จะเป็นตัวช่วยอย่างดี ในการพัฒนาเกมเก่าๆ ที่หลายคนอาจไม่รู้จักแล้ว ให้กลับมาได้เล่นอีกครั้งนึง กลับมามีชีวิตโลดแล่น ให้กับทั้งคนที่ยังไม่เคยได้สัมผัส หรือคนที่เคยสัมผัสในเวอร์ชั่นก่อน ได้หวนรำลึกวันวานอีกครั้ง
ที่มา: The Verge