ดีแทคเปิดสนาม ทดสอบ 5G แล้วในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่EEC ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อทดสอบการใช้งานจริง ร่วมมือกับทาง ทีโอที และ CAT
สำหรับการทดสอบ 5G ทางดีแทคได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จาก Ericsson, Huawei และ Nokia พร้อมแนะทางภาครัฐ ควรจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งย่านสูง-กลาง-ต่ำ และระบุช่วงเวลาจัดสรรให้ชัดเจน และแผนปรับปรุงคลื่นความถี่เพื่อพัฒนาสู่ง 5Gอย่างยั่งยืน และหาความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ
ความร่วมมือในการทดสอบ 5G ของทั้ง3 องค์กรครั้งนี้ ได้ทำในรูปแบบใช้งาน (Use case) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย นางอเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค มองว่า ปัจจัยที่จะให้การนำเอา 5G มาใช้ปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศไทย ต้องเริ่มต้นที่การสร้างความร่วมมือกันระหว่าภาครัฐบาล กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ใช้งาน และการทดสอบโครงการธุรกิจตามการใช้งานจริงร่วมกัน เพื่อนำสู่การวิเคราะห์ภาพรวมทั้งเทคโนโลยี และข้อกฎหมายสู่บริการเพื่อผู้ใช้งาน และหาจุดสมดุลย์ของความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อน 5G ทั้งระบบนิเวศ ในการทดสอบนี้จึงร่วมกับ CAT และ ทีโอที เป็นพันธมิตรในการทดสอบ 5G ร่วมกัน
ทีโอที ได้นำโครงการเสาอัจฉริยะ หรือ Smart Pole เป็นเสาโครงสร้างที่ออกแบบให้ใช้งานโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure sharing) ซึ่งเสานี้จะถูกนำไปทดสอบ5G testbedในพื้นที่ๆ ได้รับอนุญาตจาก กสทช.
ส่วนทางด้าน กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้นำเสนอการทดสอบโครงการ PM 2.5 Sensorfor Allสำหรับวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลที่ได้จะจัดเก็บไว้แบบเรียลไทม์บนระบบคลาวด์ ผ่านเซนเซอร์ในพื้นที่แต่ละแห่ง ในอนาคตเมื่อใช้งานบนเครือข่าย 5G จะสามารถยกระดับจากIoT สู่ Massive IoT เพิ่มจำนวนเซนเซอร์ให้เก็บข้อมูลได้แม่นยำยิ่งขึ้น
จุดเริ่มต้น ทดสอบ 5G ในความร่วมมือของ dtac , TOT และ CAT
- การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ
- การนำความรู้มาร่วมกัน (Knowledge sharing) นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่าย มาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน
- การแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน (Experience sharing) ช่วยให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ สามารถนำเอาประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฏหมาต่างๆ
ปัจจุบันทาง ดีแทค ได้ยื่นดำเนินการขอนุญาตทดสอบ5G ต่อ กสทช. เป็นที่เรียบร้อยทั้งข้อเสนอในการใช้คลื่นความถี่ และการทดสอบแบบ Standaloneซึ่งเป็นการทดสอบโดยใช้เฉพาะคลื่น 5G และการทดสอบการทำงานของเทคโนโลยี5G ร่วมกับ 4G
ดีแทคจะทดสอบทั้งในห้องปฏิบัติการและการทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง เช่นในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ รวมถึงการทดสอบทางไกล เชื่อมต่อสัญญาณฐาน 5G จากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปยังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลักต่างพื้นที่ ที่ ม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อใช้ทดสอบกรณีใช้คลื่น5G ต่างพื้นที่ร่วมกัน อาทิ การรักษาผ่านทางไกล หรือ Smart Healthcare
ดีแทค เรียกร้องให้ทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ก่อนจัดสรรคลื่นครั้งต่อไป
นางอเล็กซนดรากล่าวเพิ่มเติมว่า “คลื่นความถี่คือสิ่งสำคัญยิ่ง ในการปูพื้นฐานสู่ 5G เพราะการใช้งานและการทดสอบบริการต่างๆ จะทำให้พิสูจน์ถึงความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่กว้าง และ 5G ต้องการใช้ทั้งคลื่นย่านความถี่ สูง-กลาง-ต่ำ ดังนั้น จึงตอกย้ำว่า ประเทศไทยควรทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ก่อนการจัดสรรคลื่นครั้งต่อไป รวมทั้งรูปแบบการจัดสรรคลื่นความถี่ในปัจจุบัน การออกแบบการประมูลที่ดีจะทำให้กำหนดราคาคลื่นความถี่ที่ยุติธรรมในการทำตลาด และป้องกันราคาประมูลที่สูงเกินจริง