ตอนนี้ข่าวเรื่อง ไฟไหม้ป่าอเมซอน ได้ที่ถูกแชร์บน Social Media เป็นจำนวนมาก ทว่ามีการตรวจเช็คแล้วพบว่า หลายรูปนั้น ไม่ใช่รูปไฟไหม้ที่ป่าอเมซอนจริง และ บางรูป ก็เป็นรูปเก่าที่เอามาโพสต์ใหม่
สำนักข่าว CNN ระบุว่า Social Media เป็นสื่อที่ช่วยกระจายข่าวเกี่ยวกับเรื่อง ไฟไหม้ป่าอเมซอน ได้ในวงกว้างในเวลาสั้นๆ แต่ ข้อมูลที่ถูกกระจายออกไป ก็มีบางส่วนที่เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องถูกเผยแพร่ออกไปด้วย
อย่างที่รู้ๆ กันว่า ไฟไหม้ป่าอเมซอน สาเหตุของที่ทำให้ไฟลุกไหม้ในครั้งนี้ คาดว่าน่าจะมาจากฝีมือของมนุษย์ โดยข้อมูลจาก space research center ในประเทศบราซิล พบว่า ปี 2019 มีเรื่องเกี่ยวกับไฟไหม้ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 80% และ บริเวณที่เกิดไฟไหม้นั้น เกินกว่าครึ่ง เกิดแถวๆ ป่าอเมซอน
ภาพถ่ายจากดาวเทียม ช่วยแสดงให้เห็นว่า ไฟไหม้ไปมากถึงไหนแล้ว และ ควันได้แพร่ปกคลุมไปมากแค่ไหนของประเทศ
มันมีข้อมูลบางส่วนที่แชร์ผ่าน Social Media ที่เป็นข้อมูลที่ผิด และขัดแย้งกับความเป็นจริง ด้วยการนำภาพไฟไหม้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ มารวมปะปนกับไฟไหม้ป่าอเมซอนล่าสุด
amazon rainforest: how can i help? need advice on how i can actually make a change here; these pictures are breaking my heart… this is one of the most important ecosystems on earth. is there a fundraiser, a call to action, anything i can leverage my audience for on this? pic.twitter.com/s3RcbZbMr0
— Logan Paul (@LoganPaul) August 21, 2019
https://www.instagram.com/p/B1bRzP6j8KS/
ตัวอย่าง ภาพนี้ เป็นภาพที่น่าจะถูกแชร์ผ่าน Social Media บ่อยที่สุดภาพหนึ่ง จากรูป จะเห็นว่า ไฟเริ่มจะไหม้ลามป่าที่มีสีเขียวชอุ่ม และ เต็มไปด้วยกลุ่มควัน
บุคคลมีชื่อเสียงอย่างเช่น Jaden Smith (นักร้อง นักแสดง) แชร์ภาพดังกล่าวลง Instagram และ YouTuber ชื่อดังอย่าง Logan Paul ก็ได้แชร์ภาพดังกล่าวลง Twitter เป็นต้น
อันที่จริงแล้ว ภาพนี้เป็นภาพไฟไหม้ป่าอเมซอนในบราซิลจริง แต่ . . . ไม่ใช่ภาพเหตุการณ์ไฟไหม้ ณ ปัจจุบัน แต่ เป็นภาพของเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่ง The Guardian ได้เผยแพร่ภาพดังกล่าวตั้งแต่ปี 2007 โดยกล่าวว่า มันถูกถ่ายไว้เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1989
เว็บไซต์อย่าง 9gag และ UNILAD ก็ลงรูปเกี่ยวกับไฟไหม้ป่า ซึ่งผู้คนต่างก็แชร์ข้อมูลดังกล่าวๆต่อๆกันไปหลายหมื่นแชร์
https://www.instagram.com/p/B1b_JNIF1kg/
อีกภาพ เป็นภาพที่นักแสดงชื่อดังอย่าง Leonardo DiCaprio แชร์บน Instagram ซึ่งมีผู้เข้ามาดู และให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ถึง 3.8 ล้าน Like
Rainforests are under threat. Fires intensified by deforestation and the climate crisis are increasing every year. #AmazonRainforest #AmazonFire
Help stop deforestation to save #rainforests today: https://t.co/mVPZUZjliB pic.twitter.com/xVDIX9gUdq
— Rainforest Trust (@RainforestTrust) August 21, 2019
หรือแม้แต่ Rainforest Trust เองก็ออกมาช่วยหาเงินบริจาค เพื่อหยุดการตัดไม้ทำลายป่า บน Twitter
แต่รูปภาพที่ลงบน Social Media ของแต่ละคนนั้น ไม่ใช่รูปไฟไหม่ป่าอเมซอนที่เพิ่งเกิดขึ้นเลย โดยสื่อ CNN พบว่า เคยเผยแพร่รูปภาพดังกล่าวไปแล้วบนเว็บไซต์ในปี 2018
Only found out on twitter that Amazon rainforest, ‘the earth’s lungs’ has been burning for 3 weeks?! Why is there no media coverage about it? HEARTBREAKING. #PrayforAmazonia ?? pic.twitter.com/JYwWnAPmom
— David Licauco (@davidlicauco) August 21, 2019
หรือ รูป 4 รูปที่นักแสดงอย่าง David Licauco แชร์ผ่าน Twitter นั้น ก็ไม่ใช่รูปเหตุการณ์ไฟไหม้ในป่าอเมซอนที่เพิ่งเกิดขึ้นเลยสักรูป
- รูปบนขวา เป็นรูปไฟไหม้ป่า ที่ประเทศสวีเดน ในปี 2018
- รูปล่างขวา เป็นรูปไฟไหม้ป่า ใน มอนทาน่า วันที่ 6 สิงหาคม 2000
This is ALARMING you guys…
THE AMAZON rainforest has been on fire for THREE weeks and we’re just finding out about this ?? #AmazonFire #PrayForTheAmazon pic.twitter.com/2XQnSDK5K9— Nathalie Muñoz (@NathalieMunozx3) August 21, 2019
Blogger อย่าง Nathalie Muñoz ก็ได้แชร์ภาพที่น่าสะเทือนใจ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ หรือ เหล่าบรรดาสัตว์ที่พยายามหนีออกจากป่าที่ถูกไฟไหม้ สัตว์ที่ถูกไฟไหม้ ฯลฯ
ภาพทั้งหมดนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับ ไฟไหม้ป่าอเมซอนเลย แต่ มันเป็นภาพที่ถูกถ่ายที่ จาบัลปูร์ ประเทศอินเดีย โดย Avinash Lodhi ในปี 2016 และ ภาพที่กระต่ายโดนไฟไหม้นั้น เป็นภาพถ่ายที่ มาลีบู แคลิฟอร์เนีย ปี 2018