บริษัท Sinogene Biotechnology Company ในปักกิ่ง ประสบความสำเร็จในการ Cloning ลูกแมวชื่อว่า “Garlic” เป็นครั้งแรกในประเทศจีน
นับเป็นปรากฎการณ์ใหม่ สำหรับคนเลี้ยงแมวของจีนเลยทีเดียว กับเจ้าลูกแมว Cloning ตัวแรก ที่คลอดออกมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นแมวที่เจ้าของเอาไปให้บริษัทช่วยทำการ Cloning ให้
โครงการนี้เริ่มทดลองตั้งแต่ช่วงสิงหาคม 2018 และเจ้า Garlic แมวพันธุ์ British Shorthair ใช้เวลาตั้งแต่ย้ายตัวอ่อนไปยังแม่อุ้มบุญ จนคลอดออกมาสำเร็จในที่สุด ใช้เวลาทั้งหมด 66 วัน
Huang Yu เจ้าของแมวบอกว่า แมวของเค้าตายด้วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ และมันสัตว์เลี้ยงที่วิเศษมาก จนยากจะลืมได้สำหรับเค้า
เจ้า Garlic และแมวตัวต้นแบบนั้น มีความเหมือนกันเลย ให้ใครดูก็จะคิดว่ามันคือตัวเดียวกันอย่างแน่นอน แต่ในด้านของนิสัยใจคอนั้นไม่เหมือน
นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดให้แมว Cloning มีความจำเดิมของแมวตัวต้นแบบได้ โดยใช้เทคโนโลยี AI หรือ Man-Machine Interface ด้วย
ความสำเร็จครั้งนี้ ทำให้บริษัทเตรียมเริ่มเปิดบริการรับโคลนนิ่งแมว ด้วยค่าใช้จ่ายที่ราว 250,000 หยวน หรือประมาณ 1.07 ล้านบาท และยังรับโคลนนิ่งสุนัขที่ราคา 380,000 หยวน ประมาณ 1.62 ล้านบาท และตอนนี้ก็มีเจ้าของแมวหลายราย ติดต่อทำการจองคิวเอาไว้แล้วด้วย แสดงให้เห็นว่าตลาดธุรกิจนี้จะเติบโตอีกมากในอนาคต
ประเทศจีนมีคนเลี้ยงสัตว์จำนวนมากกว่า 73 ล้านคน 2 ใน 3 นั้นเป็นผู้เลี้ยงสุนัขและแมว จากรายงานของ CNBData ปี 2018
Lai Liangxue นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าทีมวิจัยแห่งสถาบัน Chinese Academy of Sciences บอกว่าอายุขัยของแมวโคลนนิ่งจะไม่แตกต่างจากแมวทั่วไป
การโคลนนิ่งแมวหรือสุนัขนั้น จะต้องสร้างตัวอ่อนขึ้นมาจากเซลล์ของตัวต้นแบบ ก่อนที่จะนำเอาไปปลูกถ่ายในตัวแม่อุ้มบุญ ซึ่งขั้นตอนในการสกัดเซลจนถึงคลอด ใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือน
และนอกเหนือไปจากการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยง บริษัทยังมีแผนโคลนนิ่งสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน แต่ยังจำเป็นต้องทดลองโคลนนิ่งแบบข้ามสายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่นักวิทยาศาสตร์คนไหนทำได้สำเร็จ
แน่นอนว่าเรื่องนี้มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บ้างก็ว่าเป็นการทรมานสัตว์จากขั้นตอนการทำ ที่เข้าค่ายละเมิดสิทธิของสัตว์ และบ้างก็ห่วงว่าวันหนึ่งจะถูกนำมาใช้กับมนุษย์ ซึ่งขัดต่อหลักจริยธรรม
Chen Dayuan ศาสตราจารย์จากสถาบัน Institute of Zoology of the Chinese Academy of Sciences บอกว่ากำลังพยายามทดลองฉีดเซลล์ของหมีแพนด้าเข้าไปในไข่ที่เอานิวเคลียสออกไปแล้วของแมว เพราะขนาดตัวลูกของสัตว์ทั้งสองประเภทมีขนาดพอๆ กัน และระยะเวลาการตั้งครรภ์ก็อยู่ที่ 2-3 เดือนเหมือนกัน
จีนได้พยายามโคลนนิ่งข้ามสายพันธุ์ของหมีแพนด้ามาตั้งแต่ปี 1999 แต่จนปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถทำได้สำเร็จ เพราะจำนวนแพนด้าที่มีค่อนข้างน้อย ไม่สามารถทดลองกับหมีแพนด้าได้โดยตรง ต้องหาสายพันธุ์อื่นมาทดลองแทน
ที่มา: Global Times