MarinaTex พลาสติกชีวภาพจากเกล็ดปลาและสาหร่าย ย่อยสลายเองได้ใน 2 เดือน

Lucy Hughes นักศึกษาชาวอังกฤษ ได้คิดค้นและพัฒนา MarinaTex ไบโอพลาสติก (พลาสติกชีวภาพ) ที่ทำมาจาก หนังปลา เกล็ดปลา และ สาหร่ายทะเล

ต้องยอมรับกว่า กระแส เรื่อง การงดใช้ถุงพลาสติก เพื่อช่วยลดขยะพลาสติก นั้น ได้รับความสนใจ และ ได้รับความร่วมมือ จากหลายฝ่าย หลายหน่วยงาน อย่างในประเทศไทย ก็มีการรณรงค์ ให้ใช้ ถุงผ้า กระเป๋าผ้า เมื่อนำไปซื้อของ จากร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาเก็ต และ ห้างสรรพสินค้า เพื่อเป็นการลดการใช้ถุงพลาสติก

สำหรับงานวิจัยและพัฒนา MarinaTex นั้น Lucy ตั้งโจทย์เอาไว้ว่า เค้ามีความต้องการที่จะลดการใช้พลาสติกลง เพราะขยะพลาสติก เป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่

ไอเดียการคิดค้น และ พัฒนา MarinaTex เริ่มจาก โปรเจคของมหาวิทยาลัย Sussex ประเทศอังกฤษ ที่ Lucy เอง ก็ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ เธอต้องการจะสร้าง “พลาสติกชีวภาพ” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง จะเข้ามาช่วยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก ลดปริมาณขยะในมหาสมุทร ที่เป็นต้นเหตุของ ปัญหาการสูญเสีย สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลเป็นจำนวนมาก

Lucy หาข้อมูลและพบว่า ในแต่ละปี พวกขยะอินทรีย์จากโรงงานอุตสาหกรรม ถูกทิ้งเป็นจำนวนมหาศาล ไม่เพียงเท่านั้น จากการไปดูงานในโรงงานแปรรูปอาหารแห่งหนึ่ง ก็ได้เห็นความจริงว่า ขยะอินทรีย์จากโรงงานแปรรูปอาหารแห่งนั้น ไม่ว่าจะเป็น เปลือกกุ้ง เปลือกหอย หนังปลา เกล็ดปลา ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก

เธอจึงดูว่า มีอะไรที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้บ้าง ก็พบว่าหนังปลาและเกล็ดปลานั้น มีความยืดหยุ่น มีศักยภาพและความเป็นไปได้สูง ที่จะนำมาใช้พลาสติกชีวภาพ

นอกจากนี้ เธอยังพบว่า สาหร่ายทะเลสีแดง ที่พบตามธรรมชาติ มีสารชีวภาพประเภทวุ้นที่มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับการนำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิต Bio Plastic เธอจึงได้ทำการทดลองผลิตอยู่กว่า 100 ตัวอย่าง ปรับเปลี่ยนแก้ไข จนสามารถพัฒนาออกมาได้เป็นผลสำเร็จ

MarinaTex

MarinaTexมีคุณสมบัติพิเศษที่ โปร่งแสง มีความยืดหยุ่น และ ทนทานกว่า พลาสติก ชนิด LDPE ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน และสามารถย่อยสลายได้เอง ภายใน 1-2 เดือน

จึงเริ่มมีการนำMarinaTex เป็นวัสดุอเนกประสงค์ เพื่อทดแทนและลดการใช้พลาสติกลง โดยมันถูกนำมาผลิตเป็น

  • ถุงพลาสติก แบบ ใช้งานครั้งเดียว แล้วทิ้ง
  • กล่องพลาสติกใส เอาไว้ใส่ กระดาษทิชชู่
  • เป็นบรรจุภัณฑ์ ไว้รองอาหาร หรือ บรรจุอาหาร เช่น ห่อแซนวิช เป็นต้น

MarinaTex

ด้วยความที่ MarinaTexตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมซะขนาดนี้ มันจึงได้รับรางวัล James Dyson Award ประจำปี 2019 ไปครอง พร้อมกับได้รับเงินรางวัลไปอีก 30,000 ยูโร

ที่มา : The James Dyson Award  

นักเขียนหน้าใหม่ ผู้หลงไหลในเรื่อง แมว หมี เทคโนโลยี และ โลกของไอที :)