ทีมวิจัยจาก Monash University ประเทศออสเตรเลีย ได้พัฒนา แบตเตอรี่ลิเธียม-ซัลเฟอร์ [lithium-sulphur (Li-S) battery] แบบใหม่ ที่ออกแบบให้มีความจุสูงมากเป็นพิเศษ โดย มีอายุการใช้งานนานกว่า แบตเตอรี่กล้องทั่วไป ถึง 4 เท่า และ ใช้งานกับสมาร์ทโฟน ได้ 5 วันติดต่อกัน โดยไม่ต้องชาร์จไฟ
หลายปีผ่านมา มีการคิดค้นและวิจัยแบตเตอรี่รูปแบบใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ก็ติดข้อจำกัดและยังพัฒนากันไปไม่ถึงไหน ล่าสุดทีมวิจัยของ Monash University นำโดย Dr. Mahdokht Shaibani ก็คิดค้นแบตเตอรี่แบบใหม่ออกมาได้สำเร็จ โดยที่ตอนนี้ได้รับการอนุมัติสิทธิบัตร พร้อมทั้งเริ่มมีการผลิตตัวต้นแบบแล้วที่ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมรายใหญ่ แสดงความต้องการที่จะนำมันไปใช้ผลิตจริงในระดับ Mass Product
การคิดค้นที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ มีแรงบันดาลใจมาจาก unique bridging architecture หรือ สถาปัตยกรรมการเชื่องโยงที่เป็นเอกลักษณ์ ระหว่าง โมเลกุล ใน ผงซักฟอก ที่ค้นพบในยุค 1970
ทีมวิจัยยึด architecture นั้นเป็นหลัก จากนั้นก็ให้ทีมวิจัยคิดค้นเพื่อที่จะสร้างพันธะที่แข็งแรง ระหว่างอนุภาคภายใน แบตเตอรี่ลิเธียม-ซัลเฟอร์ ทำให้เซลล์แบตเตอรี่ มีความเครียด (stress) และ มีความเสถียรอย่างที่ไม่เคยมีในแบตเตอรี่รุ่นใดมาก่อน
ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลิเธียม-ซัลเฟอร์ แบบใหม่นั้น ไม่ธรรมดาจริงๆ เพราะมันใช้งานได้ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดถึง 4 เท่า และขั้นตอนการผลิตก็ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอีกด้วย
อายุการใช้งานที่ว่ามากกว่านั้น ลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ถ้านำไปใช้งานกับสมาร์ทโฟน มันจะมีพลังงานเพียงพอสำหรับการใช้งานได้ถึง 5 วัน โดยไม่ต้องชาร์จไฟเติมระหว่างวัน หรือถ้านำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ก็จะมีพลังงานเพียงพอสำหรับการวิ่งได้ไกลถึง 1,000 กิโลเมตร ซึ่งมีความเป็นไปได้ ที่จะนำไปใช้ และ พัฒนาเป็นแบตเตอรี่ของเครื่องใช้อื่นๆ อีก เช่น กล้องถ่ายรูป เป็นต้น
สื่อของ Monash University ระบุว่า ทีมนักวิจัยกำลังจะทำ concept นี้ไปในเชิงพาณิชย์ และมีแผนจะทดสอบกับอุปกรณ์ต่างๆ อีก เช่น รถยนต์ แผงโซล่า มีกำหนดการช่วงต้นปี 2020
ที่มา : PetaPixel