NBTC 5G Auction 2020 700 MHz 2600 MHz 26 GHz

กสทช. สรุปประมูล 5G รวมเกิน 1 แสนล้านบาท AIS ได้ครบทุกความถี่ 700MHz, 2600MHz และ 26GHz

กสทช. สรุปผลการประมูลคลื่นความถี่ 5G ประกอบด้วย 700MHz, 2600MHz และ 26GHz ผลออกมารวมมูลค่าใบอนุญาตในการประะมูลครั้งนี้ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,521 ล้านบาท

วันอาทิตย์ที่ 16 ก.พ. 2563 สำนักงาน กสทช.จัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz โดยมีผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่มีคุณสมบัติและมีความประสงค์เข้าร่วมการประมูลจำนวน 5 ราย ได้แก่

กสทช. สรุปประมูล 5G รวมเกิน 1 แสนล้านบาท AIS ได้ครบทุกความถี่ 700MHz, 2600MHz และ 26GHz
  • บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด – True
  • บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) – TOT
  • บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด – Dtac
  • บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) – CAT
  • บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด – AIS

ทั้งนี้ ทาง กสทช.ประมาณการรายได้จากการประมูลคาดว่าจะนำส่งเข้ารัฐ จำนวนกว่า 70,000 ล้านบาท โดยรายละเอียดของคลื่นความถี่แบ่งออกเป็น

  • 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 440 ล้านบาท
  • 2600 MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 93 ล้านบาท
  • 26 GHz จำนวน 27 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 22 ล้านบาท
  • สำหรับคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล

การประมูลครั้งนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 5 ชั่วโมง 35 นาที มีราคาประมูลรวมทุกคลื่นความถี่ 100,521 ล้านบาท แบ่งดังนี้

คลื่นความถี่ย่าน 700 MHz

มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย (CAT, AIS, True) การประมูลสิ้นสุดลงในรอบที่ 20 จำนวนใบอนุญาต 3 ชุด (2×5 MHz) มีผู้ประมูลได้ทั้งหมด 3 ชุด ราคาสุดท้ายต่อชุดคลื่นความถี่อยู่ที่ 17,153 ล้านบาท ผลรวมในการกำหนดย่านความถี่เท่ากับ 1 ล้านบาท รวมราคาทั้งสิ้น 51,460 ล้าน แบ่งเป็น

  • CAT ได้ไป 2 ชุด คือ 738-748 MHz คู่กับ 793-803 MHz มีราคาสุดท้าย 34,306 ล้านบาท
  • AIS ได้ ไป 1 ชุด คือ 733-738 MHz คู่กับ 788-793 MHz มีราคาสุดท้าย 17,154 ล้านบาท
  • True ไม่ได้รับการจัดสรรชุดคลื่นความถี่

คลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz

มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย (AIS, CAT, True) การประมูลสิ้นสุดในรอบที่ 2 จำนวนใบอนุญาต 19 ชุด มีผู้ประมูลได้ทั้งหมด 19 ชุด ราคาสุดท้ายต่อชุดคลื่นความถี่อยู่ที่ 1,956 ล้านบาท ผลรวมในการกำหนดย่านความถี่เท่ากับ 269,888,888 บาท รวมราคาทั้งสิ้น 37,433,888,888 บาท แบ่งเป็น

  • AIS ได้ไป 10 ชุด คือ 2500-2600MHz มีราคาสุดท้าย 19,561 ล้านบาท
  • True ได้ไป 9 ชุด คือ 2600-2690MHz มีราคาสุดท้าย 17,872,888,888 บาท
  • CAT ไม่ได้รับการจัดสรรชุดคลื่นความถี่

คลื่นความถี่ย่าน 26 GHz

มีผู้เข้าร่วมประมูล 4 ราย (AIS, True, Dtac, TOT) การประมูลสิ้นสุดตั้งแต่รอบแรก จำนวนใบอนุญาต 27 ชุด มีผู้ประมูลได้ทั้งหมด 26 ชุด (เหลือ 1 ชุด) ราคาสุดท้ายต่อชุดความถี่อยู่ที่ 445 ล้านบาท รวมราคาทั้งสิ้น 11,627,288,889 บาท แบ่งเป็น

  • AIS ได้ไป 12 ชุด คือ 25.2-26.4 GHz มีราคาสุดท้าย 5,345 ล้านบาท
  • True ได้ไป 8 ชุด คือ 24.3-25.1 GHz มีราคาสุดท้าย 3,576,888,888 บาท
  • TOT ได้ไป 4 ชุด คือ 26.4-26.8 GHz มีราคาสุดท้าย 1,795 ล้านบาท
  • Dtac ได้ไป 2 ชุด คือ 26.8-27.0 GHz มีราคาสุดท้าย 910,400,001 บาท

การประมูลครั้งนี้ รวมรายได้ทั้งสิ้น 100,521,177,777 บาท (ยังไม่รวม VAT)

สรุปข้อมูลแยกตามผู้ให้บริการ

  • AIS ประมูลได้ไป 23 ชุดคลื่นความถี่ ครบทั้ง 3 คลื่น รวมทั้งสิ้น 1,310 MHz เป็นราคาทั้งสิ้น 42,060 ล้านบาท
  • True ประมูลได้ไป 17 ชุดคลื่นความถี่ รวมทั้งสิ้น 890 MHz เป้นราคาทั้งสิ้น 21,449,777,776 บาท
  • TOT ประมูลได้ไป 4 ชุดคลื่นความถี่ รวมทั้งสิ้น 500 MHz เป็นราคาทั้งสิ้น 1,795 ล้านบาท
  • CAT ประมูลได้ไป 2 ชุดคลื่นความถี่ รวมทั้งสิ้น 170 MHz เป็นราคาทั้งสิ้น 34,306 ล้านบาท
  • Dtac ประมูลได้ไป 2 ชุดคลื่นความถี่ รวมทั้งสิ้น 100 MHz เป็นราคาทั้งสิ้น 910,400,001 บาท

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน