Facebook เดินหน้า สนับสนุนโครงการ Community Accelerator ในไทย

Facebook ประเทศไทย ลงทุนสนับสนุนชุมชนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในงาน ‘Thailand Community Day’ และเชื่อมต่อผู้คนทั่วโลกให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ด้วยโครงการ Community Accelerator

ชุมชนของ Facebook จึงมีบทบาทที่สำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้นต่อคนไทย ในขณะที่พวกเขากำลังรักษาระยะห่างทางสังคม โดยมีผู้คนมากกว่า 45 ล้านคนในประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของกลุ่มบน Facebook กว่า 6 ล้านกลุ่มที่มีกิจกรรมและการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่องในเดือนที่ผ่านมา ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค มีผู้คนจำนวนกว่า 650 ล้านคนที่เป็นสมาชิกและได้มีส่วนร่วมในกลุ่มบน Facebook อย่างต่อเนื่อง กลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีความหลากหลาย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ กลุ่มด้านเทคโนโลยีคราวด์ซอร์สซิ่ง (crowdsourcing) กลุ่มด้านการศึกษา และอื่นๆ อีกมากมาย

โครงการ Community Accelerator ของ Facebook ในประเทศไทย

นอกจากนี้ ในงานแถลงข่าวออนไลน์ยังเน้นถึงความสำคัญของโครงการ Community Accelerator ซึ่งเป็นโครงการที่มีระยะเวลา 6 เดือนและถูกเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ของ Facebook โดยจัดการฝึกอบรม ให้คำปรึกษา และจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนผู้นำชุมชนในการสร้างชุมชนของพวกเขาให้เติบโต และโครงการนี้ยังคงเปิดรับสมัครในประเทศไทยไปจนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ facebook.com/community/
accelerator/

Facebook Thailand Community Day

โครงการ Community Accelerator เป็นวิวัฒนาการจากโครงการ Fellowship ของ Facebook ซึ่งให้การสนับสนุนผู้นำชุมชนจำนวน 115 คนทั่วโลก ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับผู้คนจำนวนกว่า 1.9 ล้านชีวิต และเป็นจำนวนกว่า 580,000 ชีวิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเพียงภูมิภาคเดียว การใช้งานทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ มีผู้คนจำนวนกว่า 200,000 คนจากกว่า 50 ประเทศได้มารวมตัวกันแบบออฟไลน์ในอีเวนต์ พื้นที่ที่ปลอดภัย และประสบการณ์สร้างสรรค์ต่างๆ โดยมีการรายงานว่าร้อยละ 88 ของผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้นำสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ไปปรับใช้จริงกับชุมชนของพวกเขา

คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้นำจากกลุ่ม Run2gether (วิ่งด้วยกัน) ซึ่งผลสำเร็จเป็นรูปธรรมจากโครงการคือ ประสบความสำเร็จในการขยายการดำเนินงานของชุมชนจาก 4 พื้นที่ เป็น 10 พื้นที่ กลุ่มได้มีการจัดมหกรรมงานวิ่งในกรุงเทพฯ และมีชุมชนชาวต่างชาติเข้าร่วม มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายออนไลน์ให้กับนักวิ่งผู้พิการ ณ ปัจจุบันกลุ่มวิ่งด้วยกันมีการจัดกิจกรรมวิ่งที่นำนักวิ่งมารวมตัวกันแล้วมากกว่า 2,000 ชีวิตและขยายเครือข่ายไปอีก 6 จังหวัด เข้าถึงนักวิ่งอาสาหรือไกด์รันเนอร์อีก 3,000 คน

กิจกรรมอื่นๆ ภายใต้โครงการ Community Leadership ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกของ Facebook ประกอบด้วยการนำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับโคโรน่าไวรัสที่มาจากองค์กรด้านสุขภาพ เช่น องค์การอนามัยโลก แก่ผู้นำชุมชน Learning Labs ซึ่งเชื่อมต่อแอดมินกลุ่มผ่านห้องเรียนดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ Power Admin Groups ซึ่งได้รวบรวมผู้นำชุมชนกว่า 40,000 คนเข้าหากันเพื่อแบ่งปันคำแนะนำและเชื่อมต่อกับ Facebook เพื่อทดสอบและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ๆ และ Community Hub 

Facebook Thailand Community Day

เรื่องราวความสำเร็จของผู้นำกลุ่มในการสร้างชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย

งานแถลงข่าวในวันนี้ยังมีการจัดเสวนากลุ่มระหว่างผู้นำชุมชนชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ กลุ่ม Thailand Restaurant Rescue :: ช่วยร้านอาหารไทยต้านภัย COVID-19 ที่สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาเดียวกัน ผู้นำชุมชน Courageous Kitchen ที่สนับสนุนด้านการเข้าถึงอาหารแก่เยาวชนที่ด้อยโอกาสและมาจากชุมชนชายขอบ รวมถึงผู้ก่อตั้งชุมชน Read for the Blind และแอดมินกลุ่มช่วยอ่านหน่อยนะ (Help Us Read) เพื่อผู้พิการทางด้านสายตา

การเสวนากลุ่มได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของชุมชนและกลุ่มบน Facebook ในการเชื่อมต่อผู้คนเข้าหากัน และการที่ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น อีเวนต์ โพลล์ และ Stories ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมภายในกลุ่มในช่วงเวลาที่ยากลำบากในปัจจุบัน โดยคุณปาณิศา จันทร์วิไล ผู้ร่วมก่อตั้งชุมชน Courageous Kitchen ได้เล่าถึงการเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกันของอาสาสมัครของชุมชนผ่านการใช้งาน Workplace และเน้นย้ำถึงพลังของเครื่องมือออนไลน์อย่าง Facebook และ Instagram ซึ่งช่วยให้ชุมชน Courageous Kitchen สามารถเข้าถึงผู้คนได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย และช่วยให้สมาชิกภายในชุมชนสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างต่อเนื่อง

คุณโชติวัน วัฒนลาภ แอดมินกลุ่ม Thailand Restaurant Rescue :: ช่วยร้านอาหารไทยต้านภัย COVID-19 กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่ผู้คนต่างต้องรักษาระยะห่างทางสังคม และหลายภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปิดทำการ ช่องทางออนไลน์อย่าง Facebook ได้มอบพื้นที่ที่ทำให้ชุมชนของเรายังคงเชื่อมต่อได้ ความสามารถในการสร้างการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนซึ่งกันและกันผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและทำให้เรามองเห็นความหวังจากชาวไทยด้วยกัน”

คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ และคุณชลทิพย์ ยิ้มย่อง ผู้ร่วมก่อตั้งชุมชน Read for the Blind และแอดมินกลุ่มช่วยอ่านหน่อยนะ (Help Us Read) อธิบายว่า Facebook ได้ช่วยเหลือพวกเขาตั้งแต่วันแรกในการสร้างความเป็นชุมชนและการสนับสนุนกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นในประเทศ ในปัจจุบันมีผู้ติดตามเพจ Read for the Blind จำนวนกว่า 190,000 คน และมีสมาชิกกลุ่มช่วยอ่านหน่อยนะ อีกกว่า 19,000 คน โดยทั้งสองชุมชนได้รับประโยชน์จากเครื่องมือเพื่อสร้างการเข้าถึงของ Facebook นอกจากนี้ แช็ตบ็อตบน Messenger ของ Read for the Blind ยังช่วยให้ชุมชนสามารถเชื่อมต่อกับอาสาสมัครได้มากขึ้นอีกด้วย

ในขณะที่ทั้งสองชุมชนกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ และคุณชลทิพย์ ยิ้มย่อง ยังได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของผู้นำและสมาชิกในการสร้างบทสนทนาอย่างเป็นประจำและให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเกี่ยวกับความมุ่งมั่นร่วมกันของกลุ่มแก่สมาชิกทุกคน ซึ่งรวมถึงการแจ้งกฎในการใช้งานของกลุ่มอย่างเป็นประจำ และสนับสนุนโพสต์เชิงบวกและเป็นตัวอย่างที่ดีจากสมาชิกของกลุ่ม