HUAWEI เปิดตัว 10 โมเดลใหม่จากผลิตภัณฑ์ซีรี่ส์ AirEngine Wi-Fi 6 ช่วยตอบโจทย์การวางรากฐานการเชื่อมต่อไร้สายคุณภาพสูงในแคมปัสได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ผลิตภัณฑ์ซีรี่ส์ AirEngine Wi-Fi 6 จาก HUAWEI โดดเด่นด้วยหลากหลายเทคโนโลยีนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นเสาอากาศอัจฉริยะรองรับช่องสัญญาณแบบคู่ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครในตลาด การโรมมิ่งแบบไร้รอยต่อ และ เทคโนโลยีเร่งความเร็วในการประมวลผลแอปพลิเคชันอัจฉริยะ (Dynamic Turbo) โดยหนึ่งในโมเดลใหม่นี้ คือซีรี่ส์ AirEngine Wi-Fi 6 8760 รุ่นเรือธง ที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 16 ชุด ซึ่งถือว่ามากที่สุดในอุตสาหกรรม จึงมอบความเร็วสัญญาณไร้สายได้ถึง 10 Gbps หรือมากกว่า
ทั้งนี้ หัวเว่ย คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2566 จะมีการใช้งาน Wi-Fi 6 ในกลุ่มองค์กรธุรกิจกว่าร้อยละ 90 จึงเรียกได้ว่า Wi-Fi คือเทคโนโลยีเครือข่ายสำคัญที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวณการในการผลิตและให้บริการขององค์กรธุรกิจให้เป็นรูปแบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แน่นอนว่า เทคโนโลยีที่เพิ่งได้รับการพัฒนาอย่าง 5G, IoT และ AI ต่างมีส่วนช่วยเร่งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่ อย่างไรก็ตาม ศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center ก็ถือเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่นี้ ซึ่งศูนย์ข้อมูลต่างๆ ได้พัฒนาจากยุคเวอร์ชวลไลเซชัน (virtualization) เข้าสู่ยุคสมัยแห่งความชาญฉลาด (intelligence) และเพื่อก้าวสู่ความล้ำสมัยเหล่านี้ หัวเว่ย ได้เปิดตัวโซลูชัน CloudFabric แบบใหม่ทั้งหมดที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับยุคสมัยแห่งความชาญฉลาดโดยเฉพาะ
โซลูชัน CloudFabric สร้างขึ้นบนสวิตช์ CloudEngine อันโด่งดัง (พร้อมกับการฝังชิป AI และพอร์ทแบบ 400GE ที่มีความจุพอร์ทสูงสุด) อัลกอริทึม iLossless ที่ไม่เหมือนใครในภาคอุตสาหกรรม และ iMaster NCE ซึ่งเป็นระบบการจัดการและควบคุมการขับเคลื่อนของเครือข่ายอัตโนมัติ เมื่อได้ติดตั้งโซลูชัน CloudFabric ของหัวเว่ย ผู้ใช้บริการสามารถสร้างเครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่มีความชาญฉลาดรอบด้าน และสร้างโครงข่าย ultra-broadband แห่งโลกอนาคตที่สามารถเชื่อมต่ออย่างไร้ที่ติ ซึ่งถือเป็นการนำศูนย์ข้อมูลทั้งหลายเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้จัดงาน IP Club Carnival ผ่านออนไลน์ ภายใต้แนวคิด “ทบทวนเครือข่าย IP (Internet Protocol) ร่วมสร้างกลไกเพื่อดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” ไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เป้าหมาย ภายใต้สถานการณ์ของโรคระบาดในปัจจุบัน ช่วยกลุ่มลูกค้าเอ็นเตอร์ไพรส์ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้สามารถสร้างกลไกในการเปลี่ยนเข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกิจกรรมออนไลน์ที่จะช่วยจุดประกายความคิดในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 25,000 คนจากกลุ่มลูกค้าเอ็นเตอร์ไพรส์และกลุ่มพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ภาครัฐ การคลัง พลังงาน การขนส่ง การสาธารณสุข รวมไปถึงภาคการศึกษาอีกด้วย