WeChat นำเสนอมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมค้าปลีกให้สามารถฟื้นตัวและเติบโต เพื่อยกระดับอีโคซิสเต็มของให้มีประสิทธิภาพในการเผชิญการระบาดของโควิด-19
ขณะที่ธุรกิจในจีนเริ่มค่อยๆ กลับมาทำการและดำเนินการผลิตอีกครั้งหลังต้องหยุดชะงักไปเพราะโควิด-19 การระบาดของโรคได้แพร่ระบาดและส่งผลกระทบต่อธุรกิจในต่างแดน การปรับมาใช้ช่องทางออนไลน์ รวมถึงการหาทางเพิ่มโอกาสและแนวทางในการเติบโตถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนินธุรกิจในช่วงนี้
ปลดล็อกฟังก์ชันใหม่เพื่อช่วยธุรกิจค้าปลีก
ร้านค้าปลีกที่ขายของแบบออฟไลน์ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายร้านต้องปรับตัวขึ้นมาขายของออนไลน์ นอกจากการขายของตามปกติของอีคอมเมิร์ซแล้ว หลายร้านยังนำเทรนด์ที่กำลังมาแรงอย่างการถ่ายทอดสด หรือ ไลฟ์สตรีม (livestream) มาช่วยในการขาย โดยในเดือนกุมภาพันธ์ วีแชตได้เปิดตัว วีแชต ไลฟ์ สำหรับธุรกิจ (WeChat Live for businesses) เพื่อช่วยให้ร้านต่างๆ สามารถติดต่อกับลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้ผ่านการไลฟ์สตรีมด้วยฟีเจอร์มินิโปรแกรม (Mini Program)
วีแชต ไลฟ์ ไม่เพียงแต่ใช้งานง่าย แต่ยังเอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์และซื้อขายภายในอีโคซิสเต็มของวีแซต โดยผู้ใช้บริการสามารถชมไลฟ์สตรีมไปพร้อมกับซื้อของและติดต่อกับร้านค้าได้ในเวลาเดียวกัน
ขณะที่ วีแชต ไลฟ์ เอื้อธุรกิจให้มียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นและเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น ฟีเจอร์การให้คำปรึกษาส่วนตัว หรือ 1 on 1 Consultant ของวีแชต ยังสามารถช่วยร้านค้าให้เข้าถึงฐานผู้ใช้งานที่มีอยู่ในระบบและจัดการระบบแฟนของร้านค้าได้ ช่วยเพิ่มจำนวนคนเข้าร้าน กระตุ้นยอดขายด้วยเครือข่ายและคอนเน็กชันบนโลกโซเชียลที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ผู้ให้บริการยังสามารถเริ่มบทสนทนากับผู้ติดตามในบัญชีทางการของร้าน ด้ เพื่อแนะนำบริการ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ติดตามกลับมาซื้อของที่ร้านอีกครั้ง
ในช่วงที่มีโรคแพร่ระบาด วีแชต เวิร์ก (WeChat Work) ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการทำงานระยะไกล และหลายบริษัทได้นำมาใช้เพื่อติดต่อกับลูกค้า เพื่อขยายธุรกิจบนโลกออนไลน์ไปพร้อมกัน
วีแชต เวิร์ก 3.0 เปิดตัวบนโลกออนไลน์ไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2562 โดยร้านค้าสามารถใช้งาน 3 ฟังก์ชันหลัก นั่นคือฟังก์ชันการติดต่อลูกค้าได้โดยตรง ฟังก์ชันการติดต่อลูกค้าผ่านวีแชต กรุ๊ป (WeChat Groups) และฟังก์ชันการติดต่อลูกค้าผ่านวีแชต โมเมนต์ (WeChat Moments) ซึ่งพนักงานของแต่ละบริษัทสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง เป็นการพัฒนาฐานลูกค้า และเพิ่มความสามารถในการทำงาน วีแชต เวิร์ก ได้เปิดตัวฟังก์ชันไลฟ์สตรีมตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการระบาดของโรค โดยผู้ใช้งานสามารถจัดไลฟ์สตรีม จัดประชุมออนไลน์ และแชร์ให้ผู้ใช้งานวีแชตเข้าร่วมได้ทันที
ได้ลูกค้าเพิ่ม ยอดขายมากขึ้น วีแชต เพย์ (WeChat Pay) ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้การชำระเงินไปยังร้านค้าโดยตรงทำได้สำเร็จ หลังจากเปิดตัวได้ห้าปี วีแชต เพย์ ยังให้บริการครอบคลุม 16 สกุลเงินใน 60 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก ในช่วงที่มีการระบาดของโรค วีแชต เพย์ ยังมีบทบาทสำคัญในการทำอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน รวมถึงการสั่งซื้อสินค้าในพื้นที่ และการสแกนชำระเงินด้วยตนเอง (Scan and go)
โจวไท่ฟุก (Chow Tai Fook) ดีเอฟเอส (DFS) ฟาร์เฟ็ตซ์ (Farfetch) และแบรนด์ชั้นนำอีกมากมายได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าธุรกิจสามารถนำฟังก์ชันที่เอื้อประโยชน์อันหลากหลายของวีแชตมาใช้งานเพื่อมอบบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าไปได้พร้อมกับการอัปเกรดการดำเนินกิจการ โดยบริษัทเหล่านี้ยังประสบความสำเร็จบนระบบอีโคซิสเต็มของวีแชต และยังใช้เครื่องมือของวีแชตที่มีแอปพลิเคชันล้ำสมัยมากมาย ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้กับแบรนด์ระดับโลกอื่นๆ ได้ต่อไป
โจวไท่ฟุก (Chow Tai Fook): วีแชต เวิร์ก เสริมพลังในการช้อป
ธุรกิจเครื่องประดับมักจะให้ความสำคัญกับการต้อนรับลูกค้าทางออฟไลน์ เช่นเดียวกับ โจวไท่ฟุก ผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องประดับที่มีสาขากว่า 3,000 แห่งทั่วโลก ที่ไม่คุ้นชินกับความท้าทายใหม่ที่ต้องเผชิญในช่วงโควิด-19 อย่างไรก็ตาม โจวไท่ฟุกได้ปรับมาใช้ช่องทางขายบนโลกออนไลน์อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองลูกค้าที่ต้องการช้อปได้ทุกที่ ทุกเวลา
คลาวด์เซลส์ 365 (CloudSales 365) ของโจวไท่ฟุก เป็นเครื่องมือที่ผสมผสานธุรกิจออนไลน์ไปยังออฟไลน์ที่พัฒนาบนระบบวีแชต เวิร์ก เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลหลังบ้าน คลังข้อมูล และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ในจีนและต่างประเทศ ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถติดต่อลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เซอร์เรย์ เปา (Surrey Pau) รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารศูนย์การจัดการแห่งประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ มองว่า แพลตฟอร์มนี้ช่วยโจวไท่ฟุกในการ “สร้างเสริมพลังให้พนักงาน”
ดีเอฟเอส (DFS): การสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งใหม่ด้วยวีแชต
ดีเอฟเอสจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์อันหลากหลายให้แก่นักท่องเที่ยว โดยมีร้านและสาขาตั้งอยู่ทั่วโลก ทั้งในสนามบินและตามศูนย์กลางของเมืองใหญ่ต่างๆ โดยที่ผ่านมา ดีเอฟเอสได้จัดตั้งโปรแกรมสำหรับสมาชิกบนวีแชต อย่าง “โปรแกรมดีเอฟเอส ที วีไอพี คลับ มินิ” (DFS T VIP Club Mini Program) ซึ่งเปลี่ยนนักช้อปออฟไลน์สู่การเป็นสมาชิกออนไลน์ด้วยการมอบสิทธิพิเศษแก่สมาชิกหลังจากที่มีการสั่งซื้อ
นอกจากนี้ ดีเอฟเอสยังได้ขยายการดำเนินการให้มีช่องทางการขายออนไลน์ในรูปแบบใหม่ ซึ่งก็คือ “เฟรนด์ลี่ ช้อปเปอร์” (Friendly Shopper) หรือโมเดลการขายที่ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าที่มีวางขายในร้านค้าแบบออฟไลน์ผ่านทาง Official DFS WeChat Account หรือบัญชีวีแชตของดีเอฟเอส หลังจากนั้น ผู้ใช้สามารถส่งลิงค์การสั่งซื้อให้นักช็อปที่อยู่ต่างประเทศไปรับสินค้าที่ร้านดีเอฟเอสให้ได้
ฟาร์เฟ็ตซ์ (Farfetch): อีคอมเมิร์ซ มาร์เก็ตเพลส ในอีโคซิสเต็มของวีแชต
ฟาร์เฟ็ตซ์ หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชซื้อขายสินค้าแฟชั่นแบรนด์หรูระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในจีนของบริษัทได้มีความก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพอย่างน่าทึ่ง ส่งผลให้ยอดขายที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มในจีนเติบโตเร็วกว่ามาร์เก็ตเพลสโดยรวมในขณะที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งการใช้ประโยชน์จากวีแชตอย่างชาญฉลาด เช่น มินิโปรแกรม (Mini Program) วีแชตไลฟ์ (WeChat Live) ได้ปูทางให้ฟาร์เฟ็ตซ์สามารถยืนหยัดอยู่บนอีโคซิสเต็มของวีแซตและประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
ฟาร์เฟ็ตซ์ ได้พัฒนา เมทริกซ์ (MATRIX) บนวีแชต ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาข่าวสารของลูกค้าของร้าน มาร์เก็ตเพลสบนมินิโปรแกรม ไปจนถึงการโต้ตอบกับผู้ใช้โดยตรงด้วยกลุ่มแชต โดยกลุ่มแชตมาจากอีเวิร์กชอป (E-Workshop) ที่คัดสรรมาอย่างดีโดยสไตลิสต์ผู้เชี่ยวชาญและการแชร์ความสนใจด้านแฟชั่น การบริการเหล่านี้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฟาร์เฟ็ต ทำให้สามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ยอดขายจึงมาจากการแนะนำแบบปากต่อปากจากผู้ใช้สู่ผู้ใช้โดยตรง
นอกจากนี้ การไลฟ์สตรีมที่รวมการแนะนำสินค้าแบบเรียลไทม์ (real-time) การบริการลูกค้าระดับมืออาชีพ และความเป็นเรียลลิตีโชว์เข้าไว้ด้วยกัน ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในผลักดันยอดขายให้แก่แบรนด์หรูได้ และฟาร์เฟ็ตยังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสร้างพันธมิตรกับแบรนด์ต่างๆ ในการครองตลาดในประเทศจีน
วีแชตสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกทั่วโลกก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19
หลังจากที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 หลายบริษัทคงมุ่งมั่นมากขึ้นเป็น 2 เท่า ในการมองหาโมเดลใหม่ที่ผสมผสานกลยุทธ์ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับผู้ค้าปลีกที่ทำตลาดต่างประเทศและในประเทศที่ก่อนหน้านี้เน้นการดำเนินการแบบออฟไลน์ ดังนั้น วีแชตจึงได้เปิดตัวนโยบายสนับสนุนการบริการของผู้ค้าที่ครอบคลุมทุกระดับ เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งในการดำเนินงาน เพิ่มโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายให้แก่ผู้ค้า โดยวีแชตมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจค้าปลีกใช้ประโยชน์จากอีโคซิสเต็มของวีแซตให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อปรับตัวในเชิงรุกให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมได้
ธุรกิจที่สนใจเข้าร่วม“แผนสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกโดยวีแชต”เพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัลและยกระดับยอดขาย การบริการ ลูกค้า และการดำเนินการ ด้วยการใช้ประโยชน์จากอีโคซิสเต็มของวีแซต สามารถยื่นใบสมัครออนไลน์ได้ที่ wechatgo@tencent.com