ร้านค้าหลัง COVID-19 ได้เวลาคิดใหม่! ปลดล็อคสร้างรายได้ ทรูมันนี่ แนะร้านค้าจับเทรนด์ผู้บริโภคด้วย 4 เคล็ดลับมัดใจลูกค้าในวันที่ Digital BOOM
ภายหลังคลายมาตรการหลายระลอกและลูกค้าในหลายธุรกิจเริ่มกลับมา จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรับมือกับผลกระทบโดยตรง ข้อมูลจากสมาคมธนาคารไทยประเมินว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศถึง 1.3 ล้านล้านบาท และเมื่อรัฐบาลประกาศผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์เป็นระยะ ๆ ก็เป็นสัญญาณบวกให้ผู้ประกอบการได้กลับมาเปิดกิจการเพื่อพลิกฟื้นรายได้ โดยยังมีมาตรการ Social Distancing กำกับ
ในวิกฤติยังมีโอกาสเมื่อการใช้ชีวิตดิจิทัลตั้งแต่ Work From Home การซื้อหรือสั่งอาหารออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติของหลายคน โดยมี 2 องค์ประกอบสำคัญที่กลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสังคมวันนี้และอนาคตไปแล้วนั่นก็คือ บริการส่งสินค้า (Delivery) และการรับชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Cashless Payment) ซึ่งมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยปรับตัวได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา skill การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สรรหาช่องทางการทำตลาดใหม่ ๆ เช่น ไลฟ์สด, สร้าง story หรือ content ที่แตกต่าง, ออกแบบ package หรือออกแคมเปญช่วยเหลือสังคมในแบบที่ตนเองถนัด ได้เปิดประสบการณ์ให้ผู้ค้าหลายคนได้สัมผัสประโยชน์ของ e-Commerce เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าขาย
โดยข้อมูลรายงานจาก Rapyd Asia Pacific 2020 eCommerce and Payment study ระบุว่าประเทศไทยถือเป็นตลาด e-Commerce ขนาดใหญ่อันดับสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยช่วงที่ประเทศส่วนใหญ่มีการล็อคดาวน์ (มีนาคม-เมษายน 2563) คนไทยใช้จ่ายผ่านแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท เป็นประจำสูงที่สุดเป็นอันดับหนึ่งที่ 66% รองลงมาคือ cash on delivery (60%) และ credit card (55%) โดย 16.8% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้แอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท กว่าวิธีการอื่น ๆ
นอกจากนี้ ข้อมูลจากทรูมันนี่ก็ยังเผยให้เห็นว่ามีการเติบโตของการจ่ายเงินเพื่อซื้อของออนไลน์จากผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง Lazada เพิ่มมากขึ้นถึง 40% ซึ่งก็สอดคล้องกับรายงานของ ETDA ที่ระบุว่าแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์มียอดการเข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้นและลูกค้ามารวมกันอยู่บนโลกออนไลน์แล้วส่งผลให้การขายของออนไลน์ทำได้ง่ายขึ้น
โดยเพื่อให้พ่อค้าแม่ค้ายุค Digital BOOM! ก้าวสู่ความสำเร็จได้สะดวกขึ้น TrueMoney หนึ่งในผู้นำบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ขอนำเสนอ 4 เคล็ดลับง่าย ๆ มัดใจลูกค้ามาให้ร้านค้าและผู้ประกอบการต่าง ๆ นำไปปรับใช้เป็นแนวทางการค้าขายให้ต่อเนื่อง ดังนี้
- Follow consumer trends จับเทรนด์ผู้บริโภค เช่น การตั้งราคาสินค้าเมื่อเทียบกับของแบบเดียวกันในตลาด ไม่ทำความรู้จักคู่แข่ง โปรโมชั่นไม่มี ของแถมไม่ให้ นั่นเท่ากับเอาธุรกิจไปแขวนอยู่บนเส้นด้ายและเมื่อเกิดวิกฤติก็ทำให้ปรับตัวตามเทรนด์ผู้บริโภคไม่ทัน เพราะเคยชินและยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ สำหรับทุกธุรกิจก็คือจับเทรนด์ผู้บริโภคให้ได้และเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างเช่นปัจจุบันลูกค้าเลือกจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสหรือโอนเงินผ่านแอปฯ มากขึ้น ร้านค้าควรหาโซลูชั่นการจ่ายแบบไร้สัมผัสมารองรับเทรนด์นี้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
- Always Communicate สื่อสารกับลูกค้าผ่านทุกช่องทางอย่างสม่ำเสมอ การสื่อสารเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการค้าขายและให้บริการในวันนี้ เพราะคนซื้อวันนี้ไม่อดทนรอแล้ว เมื่อลูกค้าพบหรือค้นหาร้านคุณเจอ ชมและเลือกสินค้าแล้วก็คาดหวังให้คุณตอบกลับอย่างรวดเร็ว แม้ว่าตอนนั้นจะเป็นเวลาสองทุ่มก็ตาม แต่ถ้าต้องรอให้คุณตอบกลับตอนเช้าถึงจะ cf คอนเฟิร์มการสั่งซื้อได้นั้นก็สายไปแล้ว ดังนั้นการมีช่องทางและการสื่อสารที่ครบและมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นข้อความตอบกลับอัตโนมัติ หรือจะมีผู้ช่วยมาตอบกลับได้อย่างรวดเร็วจะทำให้คุณปิดการขายได้เห็นผลกว่า
- Be Safe & Hygienic หน้าร้านมีความสะอาด ปลอดภัย มาตรการครบ เอื้อการเว้นระยะห่าง ข้อมูลจาก WPP เผยว่า 52% คนไทยกังวลด้านสุขภาพ เห็นได้จากการหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันมากขึ้นและ 46% หลีกเลี่ยงการไปซื้อของจากร้านหรือซื้อของแบบ Offline สิ่งเหล่านี้คือความท้าทายที่พ่อค้าแม่ค้าต้องพบในโลก New Normal เมื่อสถานการณ์คลายล็อคแล้ว ผู้ประกอบการต้องยึดหลักสุขภาพต้องมาก่อนเป็นส่วนนึงในการทำธุรกิจ ดังนั้นการหมั่นทำหน้าร้านให้ลูกค้ามั่นใจเรื่องความสะอาดช่วยดึงดูดลูกค้าให้กลับมาได้เสมอ หรือการสรรหาเมนูสุขภาพมานำเสนอลูกค้า พ่อค้าเเม่ค้าออนไลน์หลายรายนำเสนอการจัดส่ง delivery แบบไม่สัมผัสหรือแถมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรือหน้ากากผ้าให้กับลูกค้า นี่เป็นตัวอย่างเทคนิคการขายที่แสดงถึงความใส่ใจสุขภาพลูกค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ได้ใจคนซื้อ
- Redesign payment platform เปิดระบบรับ-จ่ายเงินแบบแทนเงินสด ลดสัมผัส ผลวิจัยจาก VISA สะท้อนให้เห็น new norm การใช้จ่ายของคนไทยวันนี้เป็นอย่างดี โดย 61% ของผู้บริโภคกำลังพัฒนาสกิลการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด และ 69% บอกว่าจะไม่กลับไปใช้เงินสดอีกแล้วแม้สถานการณ์โควิดจะดีขึ้นก็ตาม สอดคล้องกับการที่ห้างร้านต่าง ๆ เพิ่มรูปแบบการชำระเงินแบบ contactless payment เข้าไปในมาตรการความปลอดภัย ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ใช้ contactless payment มากขึ้น ร้านค้าควรมีแพลตฟอร์มการรับชำระที่เป็นทางเลือกในการลดสัมผัสเงินสดในช่วงนี้ เพื่อปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงจากลูกค้าใหม่ ๆ ได้อีกทาง
การค้าบน “เงินสด” จริง ๆ แล้วมี “ต้นทุนแฝง” นับตั้งแต่การต้องเดินทางไปกดเงินแลกเหรียญเงินทอน การเสียเวลาและเสี่ยงรับจ่ายเหรียญและธนบัตรจากมือลูกค้า จนไปถึงการนับเงินทำบัญชีและเดินทางไปเอาเข้าธนาคารซึ่งเสี่ยงต่อการสูญหาย จะเห็นได้ว่าตรงข้ามกับความสะดวกสบายรวดเร็วของการรับจ่ายแบบไร้สัมผัส ที่ไม่ต้องคอยเสียเวลาและเสี่ยงรับ/จ่ายโดยสัมผัสเหรียญและธนบัตร สามารถตรวจสอบทุกการรับ/จ่ายได้ผ่านแอปฯ รวมถึงเอาเข้าบัญชีธนาคารได้แค่ปลายนิ้วผ่านมือถือ
โดยสรุปแล้วประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจการยังมีอีกมากมายแต่ที่สำคัญไม่ว่าสถานการณ์ใด ๆ มาตรฐานในการให้บริการบวกกับคุณภาพสินค้าต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ ในขณะที่ราคาต้องเอื้อมถึงได้ (Value of Money) โดยธุรกิจควรจับกลุ่มลูกค้าให้ได้ และเติมช่องทาง delivery และการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภควันนี้ โดย e-Wallet อย่าง TrueMoney Wallet ก็ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ เนื่องจากมีผู้ใช้มาก ตลอดจนวันนี้ก็พัฒนาจนมีบทบาทมากกว่าแค่การจ่ายเงิน อาทิ ร้านค้าและผู้ประกอบการสามารถรับประโยชน์จากการหันมาเปิดช่องทางรับชำระผ่าน e-Wallet ได้มากขึ้น อาทิ การโปรโมทร้านค้าผ่านออนไลน์ด้วยฟีเจอร์ “ร้านค้าใกล้ฉัน (Shop near me)” ที่ระบบจะแนะนำร้านของคุณไปยังผู้ใช้ทรูมันนี่ วอลเล็ท กว่า 13 ล้านราย พร้อมโชว์ตำแหน่งที่ตั้งบนแผนที่ดิจิทัล ช่วยเชื่อมต่อร้านค้าและผู้บริโภค สร้างโอกาสเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
สนใจร่วมเป็นผู้ประกอบการที่รับการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส กับ TrueMoney คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.truemoney.com/partner-merchant/