อินเทลได้เปิดตัว Intel Server GPU ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลกราฟิกแบบแยก (Discrete GPU) สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ตัวแรกของอินเทล สร้างบนสถาปัตยกรรมย่อส่วน XLP และออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการเล่นเกมผ่านคลาวด์บนแอนดรอยด์และการสตรีมเนื้อหา
อินเทลประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาหลายปี เพื่อมุ่งสู่การมอบสถาปัตยกรรมผสมผสานพร้อมประสบการณ์ซอฟต์แวร์ที่เป็นหนึ่งเดียว บริษัทประกาศแผนเปิดตัว Intel oneAPI Toolkits เวอร์ชันสมบูรณ์ในเดือนธันวาคม พร้อมความสามารถใหม่ๆ ในกลุ่มซอฟต์แวร์ ตามแนวทางการออกแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างผสมผสานของอินเทล และอินเทลยังได้เปิดตัว Intel Server GPU ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลกราฟิกแบบแยก (Discrete GPU) สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ตัวแรกของอินเทล สร้างบนสถาปัตยกรรมย่อส่วน Xe-LP และออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการเล่นเกมผ่านคลาวด์บนแอนดรอยด์และการสตรีมเนื้อหา รองรับความหนาแน่นสูงและความหน่วงต่ำ
นายราจา โคดูรี่ รองประธานอาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสถาปัตยกรรม และผู้จัดการทั่วไปกลุ่มสถาปัตยกรรม กราฟิก และซอฟต์แวร์ของอินเทล กล่าวว่า “วันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญบนเส้นทาง oneAPI และ XPU อันยิ่งใหญ่ของเรา ด้วยการประกาศเปิดตัว oneAPI Toolkits เวอร์ชันสมบูรณ์ เราได้ขยายขอบเขตประสบการณ์ของนักพัฒนาจากไลบรารีและเครื่องมือการเขียนโปรแกรมประมวลผลที่คุ้นเคย ไปสู่สถาปัตยกรรม Vector-Matrix-Spatial และเรายังเปิดตัว GPU สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ตัวแรกสุดที่ใช้สถาปัตยกรรมย่อส่วน Xe-LP โดยมุ่งตอบโจทย์กลุ่มการเล่นเกมบนคลาวด์และการสตรีมเนื้อหาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว”
เหตุใดจึงสำคัญ: โลกปัจจุบันได้เปลี่ยนผันมาสู่ยุคที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์อัจฉริยะหลายพันล้านชิ้นพร้อมจำนวนข้อมูลมหาศาลที่เพิ่มสูงขึ้นแบบทวีคูณ ทำให้ต้องเปลี่ยนความสำคัญของ CPU ไปสู่การผสมผสานสถาปัตยกรรมระหว่าง CPU, GPU, FPGA และตัวเร่งความเร็วต่างๆ อินเทลเรียกสิ่งเหล่านี้รวมกันว่า “วิสัยทัศน์ XPU” และการเปิดตัว Intel Server GPU นี้เป็นอีกก้าวในการสานต่อการนำเสนอจากอินเทลในยุคแห่ง XPU
กลุ่มซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมมีความสำคัญอย่างมากต่อการประมวลผลคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน เหล่านักพัฒนาจะสามารถเข้าถึงโมเดลการเขียนโปรแกรมบนมาตรฐานแบบเปิดที่ใช้ร่วมกันผ่าน Intel XPU และ oneAPI Toolkits ของอินเทล ที่ปลดล็อกประสิทธิภาพในฮาร์ดแวร์ ลดค่าใช้จ่ายการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบำรุงรักษา พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นจากการปรับใช้การเร่งความเร็วการประมวลผล เมื่อเทียบกับโซลูชันอันเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของผู้ผลิต
เกี่ยวกับ Intel oneAPI Toolkits เวอร์ชันสมบูรณ์: โครงการริเริ่มระดับอุตสาหกรรม oneAPI เปิดตัวครั้งแรกในงาน SuperComputing 2019 มีวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่เพื่อมุ่งสู่โมเดลการเขียนโปรแกรมที่เป็นหนึ่งเดียวและง่ายดาย เพื่อมอบสุดยอดประสิทธิภาพการทำงานโดยไม่ต้องยึดติดกับกรรมสิทธิ์ของผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง พร้อมความสามารถในการผสมผสานโค้ดดั้งเดิมได้ด้วย นักพัฒนาสามารถใช้ oneAPI เพื่อเลือกสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละโจทย์ความท้าทาย โดยไม่ต้องเขียนโค้ดซอฟต์แวร์ขึ้นใหม่เพื่อใช้กับสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์มในอนาคต
Intel oneAPI Toolkits ใช้งานความสามารถของฮาร์ดแวร์และชุดคำสั่งรุ่นใหม่ล่าสุดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น Intel AVX-512 และ Intel DL Boost บน CPU และคุณลักษณะเฉพาะอื่นๆ บน XPU โดย Intel oneAPI Toolkits สร้างมาจากเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาของอินเทลที่ผ่านการพิสูจน์มาอย่างยาวนาน จึงสามารถมอบภาษาและมาตรฐานที่คุ้นเคย และยังมอบความต่อเนื่องอย่างเต็มรูปแบบกับโค้ดที่มีอยู่เดิม
วันนี้ อินเทลเปิดตัว Intel oneAPI Toolkits เวอร์ชันสมบูรณ์พร้อมส่งมอบในเดือนธันวาคม ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรีทั้งบนเครื่องและผ่าน Intel DevCloud พร้อมกันกับเวอร์ชันสำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ที่มาพร้อมการสนับสนุนทั่วโลกจากวิศวกรที่ปรึกษาด้านเทคนิคของอินเทล และอินเทลจะเปลี่ยนผ่าน Intel Parallel Studio XE และชุดเครื่องมือ Intel System Studio ไปใช้งาน oneAPI โดยทันที
นอกจากนี้ บน Intel DevCloud ซึ่งนักพัฒนาสามารถทดสอบโค้ดและเวิร์กโหลดบนสถาปัตยกรรมอันหลากหลายของอินเทล จะขยายเพื่อรวมเอาความสามารถของฮาร์ดแวร์กราฟิก Intel Iris Xe รุ่นใหม่ โดยเปิดการเข้าถึงกราฟิก Intel Iris Xe MAX โดยสาธารณะแล้ว และเปิดให้เข้าถึง Intel Xe-HP ได้สำหรับนักพัฒนาบางราย
oneAPI ได้รับการสนับสนุนในอุตสาหกรรม รวมถึงการรับรองล่าสุดจาก Microsoft Azure และ TensorFlow และองค์กรวิจัยชั้นนำ บริษัท และมหาวิทยาลัยต่างๆ ยังให้การรับรอง oneAPI อีกด้วย
นอกจากนี้ สถาบันเบคแมนส์ ซึ่งเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ วันนี้ได้ประกาศการจัดตั้งศูนย์ศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence: CoE) ด้าน oneAPI แห่งใหม่ โดยใช้โมเดลการเขียนโปรแกรม oneAPI เพื่อขยายการปรับใช้งาน Nanoscale Molecular Dynamics (NAMD) ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในสภาพแวดล้อมการประมวลผลเพิ่มเติม ซึ่ง NAMD สามารถจำลองระบบชีวโมเลกุลขนาดใหญ่เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายในชีวิตจริง เช่น วิกฤติโควิด-19 นอกจากศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนี้ ยังมีสถาบันอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม (SeRC) ที่เน้นวิจัย GROMACS และมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก (URZ) ซึ่งเน้นมอบการสนับสนุน oneAPI แก่ GPU จากผู้ผลิตรายต่างๆ