Apple เพิ่งเปิดตัว MacBook Air , MacBook Pro และ Mac mini รุ่นแรกที่ใช้ชิป M1 ที่เป็น Apple Silicon สถาปัตยกรรม ARM ขนาด 5nm ไปสดๆ ร้อนๆ และวันนี้คะแนน benmark ของชิปตัวใหม่ของ Apple ก็ปรากฏบนเว็บไซต์ Geekbench
ชิป M1 ตัวที่ทดสอบเป็นของ MacBook Air ที่มี RAM 8GB โดยทำคะแนน single-core ได้ 1,687 คะแนน และทำคะแนน multi-core ได้ 7,433 คะแนน จากข้อมูลของ benchmark ชิป M1 มีความถี่พื้นฐาน 3.2 GHz
เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ iOS ต่างๆ ที่มีอยู่ ชิป M1 ใน MacBook Air มีประสิทธิภาพดีกว่าอุปกรณ์ iOS ทั้งหมด หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ลองนำมาเทียบกับ iPhone 12 Pro ที่ได้คะแนน single-core ได้ 1,584 คะแนน และทำคะแนน multi-core ได้ 3,898 คะแนน หรือจะเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ iOS อย่าง iPad Air ที่ใช้ชิป A14 Bionic ที่ทำคะแนนของ Geekbench ได้ดีที่สุด สามารถทำคะแนน single-core ได้ 1,585 คะแนน และทำคะแนน multi-core ได้ 4,647 คะแนน
เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ตระกูล Mac พบว่าประสิทธิภาพแบบ single-core นั้นดีกว่า Mac ตัวอื่นๆ ทุกตัวที่มีอยู่ ส่วนประสิทธิภาพของ multi-core นั้นถือว่าทำได้ดีและเหนือกว่า MacBook Pro รุ่น 16 นิ้วของปี 2019 ทุกรุ่น รวมถึงรุ่น high-end ที่ใช้ชิป Intel Core i9 รุ่นที่ 10 ตัว 2.4GHz โดยที่ MacBook 16 นิ้วรุ่น high-end ทำคะแนน single-core ได้ 1,096 คะแนน และทำคะแนน multi-core ได้ 6,870 คะแนน
แม้ชิป M1 จะมีคะแนนประสิทธิภาพเหนือกว่า MacBook Pro 16 นิ้วเมื่อเปรียบเทียบกันในเชิงเกณฑ์มาตรฐานของ CPU แต่หากพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบ MacBook Pro 16 นิ้วมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพดีกว่าในด้านอื่นๆ เช่น GPU เนื่องจากรุ่น MacBook Pro เหล่านั้นมี GPU ที่แยกและประสิทธิภาพสูง
สิ่งที่น่าสังเกต คือ มีความเป็นไปได้ที่จะมีความแตกต่างกันระหว่าง MacBook Air และ MacBook Pro ตัวใหม่ล่าสุดที่แม้จะใช้ชิป M1 เหมือนกัน แต่ใน MacBook Air รุ่นใหม่ล่าสุดนั้นออกแบบมาให้แบบไม่มีพัดลม ส่วน MacBook Pro รุ่นใหม่ล่าสุดมีระบบระบายความร้อนที่ Apple ออกแบบใหม่
นอกจากนี้ ยังมีคะแนนของ Mac mini ที่ใช้งานชิป M1 ด้วย โดยทำคะแนน single-core ได้ 1,682 คะแนน และทำคะแนน multi-core ได้ 7,067 คะแนน
Geekbench มีอัปเดตล่าสุดผลคะแนนของ MacBook Pro 13 นิ้ว RAM 16GB ที่ใช้งานชิป M1 ตัว 3.2GHz ทำคะแนน single-core ได้ 1,714 คะแนน และทำคะแนน multi-core ได้ 6,802 คะแนน
ที่มา : macrumors