สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คุณศรวุฒิ กิตติบัณฑร นักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ กำลังศึกษาและมองหาวิธีการรีไซเคิลขยะ/ของเหลือใช้ โดยเขาเล็งไปที่ ขนไก่ ที่ถูกจากอุตสาหกรรมผลิตเนื้อไก่ ทิ้งปีนึงหลายล้านตัน
ตอนนี้ เขาได้กลับมาบ้านของเขาในประเทศไทย คุณศรวุฒิ กำลังหาทุนเพื่อดำเนินงานวิจัยของเขาต่อไปว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของสารอาหารที่พบในขนของไก่ ให้เปลี่ยนเป็นผงที่สามารถเปลี่ยนเป็นแหล่งอาหารที่กินได้ ไม่ติดมันและอุดมไปด้วยโปรตีน
ขนของไก่มีโปรตีน และถ้าเราสามารถเสิร์ฟโปรตีนนี้ให้แก่คนอื่นๆ ทั่วโลกได้ ความต้องการจากคนทั่วโลกจะช่วยเป็นการลดขยะไปในตัวด้วย
คุณศรวุฒิ บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์
อันที่จริง งานวิจัยนี้ดูมีศักยภาพมากกว่านั้น โดยคุณศรวุฒิคาดว่าจะมีขนไก่ถูกทิ้งเพียงแค่ในทวีปยุโรป ถึงปีละประมาณ 2.3 ล้านตัน และด้วยปริมาณการบริโภคสัตว์ปีกที่สูงขึ้นในทวีปเอเชีย เขาเชื่อว่าอาจมีขยะจากขนไก่เพิ่มขึ้นถึง 30% ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในภูมิภาคนี้
คุณศรวุฒิ เรียนปริญญาโทสาขา Material Futures ในลอนดอนกล่าวเพิ่มเติมว่าแนวคิดนี้ยังต้องผ่านขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาอื่นๆ อีก แต่ต้นแบบงานวิจัยรวมถึงที่เขาใช้ตัวอย่างที่นำขนไก่ไปทำเป็นไก่นักเก็ตและสเต็ก นั้นได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก
เรื่องของ texture นั้นเป็นอะไรที่ซับซ้อนและลึกล้ำมาก เป็นสิ่งที่คุณไม่คาดคิดมาก่อนว่าขนไก่จะสามารถดัดแปลงเป็นอาหารประเภทนี้ได้ หลังจากตักสเต็ก ที่เสิร์ฟมาพร้อมน้ำเกรวี่ มันฝรั่งบด และสลัด ก็สามารถจินตนการว่าสิ่งที่เสิร์ฟมาให้นั้น เป็นเหมือนอาหารระดับมิชลินสตาร์ หรือร้าน fine dining เลย
ชลรพี อัศวินวิจิตร Food Blogger ชื่อดังกล่าวหลังจากได้ลองชิมสเต็กที่ทำจากขนไก่
รศ.ดร. หทัยรัตน์ ริมคีรี อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รู้สึกแปลกใจถึงผลลัพท์ที่ได้เช่นกัน และมองว่าสิ่งนี้มีศักยภาพที่จะกลายเป็นแหล่งอาหารทางเลือกในอนาคต
ปัจจุบัน อาหารทดแทนที่ทำจากพืชที่คล้ายเนื้อสัตว์ได้รับความนิยมเนื่องจากผู้คนหันมารับประทานอาหารมังสวิรัติกันมากขึ้น ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับประทานเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม อาหารที่ทำจากขนไก่ ไม่สามาถจัดอยู่ในอาหารประเภท vegan หรืออาหารมังสวิรัติได้
ที่มา : HUFFPOST