Twitter

Twitter เปิดใช้ ระบบการยืนยันตัวตน แบบใหม่ เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น

ทวิตเตอร์ได้ประกาศแผนงานนโยบายของการยืนยันตัวตนใหม่บนทวิตเตอร์สำหรับ ปี 2021ได้รับการตอบรับกว่า 22,000 แบบสอบถาม ฟีดแบ็กจากสาธารณชนถือเป็นส่วนสำคัญมากในขั้นตอนของการพัฒนานโยบายเพื่อสร้างความมั่นใจว่านโยบายดังกล่าวนั้นได้สะท้อนถึงการให้บริการระดับโลกและผู้คนที่ใช้งาน

ฟีดแบ็กของทุกคนช่วยกำหนดนโยบายของทวิตเตอร์ได้อย่างไร

ส่วนหนึ่งของการที่ทวิตเตอร์ได้อัปเดตในนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ จากฟีดแบ็กที่ได้รับจากทุกคนมีดังนี้

  • เราได้รับฟีดแบ็กในส่วนของเกณฑ์การพิจารณาตรงโปรไฟล์ว่าจะต้องมีข้อมูล “ครบสมบูรณ์” ซึ่งทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นการจำกัดมากเกินไป จึงได้อัปเดตคำจำกัดความใหม่โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลของโปรไฟล์หรือภาพเฮดเดอร์
  • เราได้อัปเดตข้อมูลอ้างอิงบน Wikipedia เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเผยแพร่บทความของสารานุกรมเพื่อให้มีคุณภาพและโดดเด่นมากขึ้น
  • เพื่อความชัดเจนและมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นหมวดหมู่ของ “ข่าว” เราได้เพิ่มเป็นหมวดหมู่ของ “ข่าวและนักข่าว” และในส่วนของหมวดหมู่ “กีฬา” มีการเพิ่มเป็น “กีฬาและอีสปอร์ตส” นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มส่วนของดิจิทัลคอนเท้นท์ครีเอเตอร์ เข้าไปในหมวดหมู่ “ความบันเทิง” ด้วยเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • เราได้รับฟีดแบ็กในเรื่องของข้อกำหนดของจำนวนผู้ติดตามขั้นต่ำที่นับตามฐานของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการพิจารณาเสมอไป ทั้งนี้ จึงได้อัปเดตการพิจารณาจำนวนผู้ติดตามที่อ้างอิงตามฐานของแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ข้อกำหนดในการนับจำนวนผู้ติดตามมีความเสี่ยงต่อการถูกสแปมน้อยลงและมีความเท่าเทียมต่อประชากรในทุกพื้นที่มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีหลายคนที่แนะนำให้เพิ่มหมวดหมู่ในการยืนยันตัวตนของนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำ
ทางศาสนาเข้าไปด้วย ซึ่งทวิตเตอร์มีแผนที่จะเพิ่มหมวดหมู่ต่างๆ เหล่านี้ในนโยบายใหม่ภายในปีหน้า โดยในระหว่างนี้บุคคลเหล่านี้อาจถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของ “นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และอินฟลูเอ็นเซอร์” ไปก่อน

ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020  ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลกในการระบุตัวตนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ที่ทวีตเกี่ยวกับโควิด-19 และได้ทำการยืนยันตัวตนให้กับหลายร้อยบัญชี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือดังกล่าว  ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนของบุคลากรเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่เนื่องจากเป็นความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับวิกฤตทางด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน

คุณสามารถคลิกเข้าไปอ่านนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ของทวิตเตอร์ได้ที่นี่ หรือ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการกดตรงเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าได้ทั้งในแอปหรือบนเว็บไซต์

ทวิตเตอร์จะเริ่มใช้นโยบายนี้ใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2020 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำการดำเนินการลบเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชีที่ไม่ได้มีการใช้งานและบัญชีที่ไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ โดยนโนบายใหม่จะมีการกำหนดว่า บัญชีที่มีความสมบูรณ์จะต้องมีหนึ่งในข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • จะต้องมีการยืนยันอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีรูปภาพโปรไฟล์
  • แสดงชื่อผู้ใช้งาน

หากบัญชีของคุณมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเครื่องหมายยืนยันตัวตน คุณจะได้รับแจ้งทางอีเมลอัตโนมัติและมีการแจ้งเตือนจากในแอปการใช้งานของทวิตเตอร์ว่า หากคุณไม่ต้องการให้ถูกลบเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชี จะต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หากคุณเข้าไปปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ ก่อนวันที่ 20 มกราคม 2020 บัญชีของคุณจะไม่โดนลบเครื่องหมายยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ไม่ได้มีเจตนาที่จะลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนออกจากบัญชีที่ไม่มีการใช้งานเนื่องจากการเสียชีวิต และกำลังดำเนินการหาวิธีที่จะระลึกถึงบัญชีเหล่านั้นในปี 2021 ภายใต้นโยบายใหม่นี้ ทวิตเตอร์จะทำการลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนจากบัญชีที่พบกว่ามีการละเมิดกฎของทวิตเตอร์อย่างรุนแรงหรือมีการละเมิดกฎซ้ำๆ โดยจะมีการพิจารณาบัญชีเหล่านั้นตามแต่ละกรณี และจะมีการปรับปรุงการใช้งานระหว่างการบังคับใช้นโยบายการยืนยันตัวตนในปีหน้า แน่นอนว่าทุกคนที่ใช้งานทวิตเตอร์จะต้องอยู่ภายใต้กฎของทวิตเตอร์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปอ่านเกี่ยวกับกฎของทวิตเตอร์ว่ามีขอบเขตในการดำเนินการอย่างไรบ้างได้จากที่นี่

ฟีดแบ็กที่ได้รับได้ช่วยในกระบวนการพัฒนานโยบายใหม่ ซึ่งจะนำเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงว่า ระบบการยืนยันตัวตนคืออะไร ใครควรได้รับการยืนยันตัวตน และทำไมบางบัญชีทวิตเตอร์ถึงถูกลบการยืนยันตัวตน ทั้งนี้ เพื่อให้นโยบายดังกล่าวมีความเท่าเทียมกัน

ฟีดแบ็กของทุกคนช่วยกำหนดนโยบายของทวิตเตอร์ได้อย่างไร

ส่วนหนึ่งของการที่ทวิตเตอร์ได้อัปเดตในนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ จากฟีดแบ็กที่ได้รับจากทุกคนมีดังนี้

  • เราได้รับฟีดแบ็กในส่วนของเกณฑ์การพิจารณาตรงโปรไฟล์ว่าจะต้องมีข้อมูล “ครบสมบูรณ์” ซึ่งทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นการจำกัดมากเกินไป จึงได้อัปเดตคำจำกัดความใหม่โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลของโปรไฟล์หรือภาพเฮดเดอร์
  • เราได้อัปเดตข้อมูลอ้างอิงบน Wikipedia เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเผยแพร่บทความของสารานุกรมเพื่อให้มีคุณภาพและโดดเด่นมากขึ้น
  • เพื่อความชัดเจนและมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นหมวดหมู่ของ “ข่าว” เราได้เพิ่มเป็นหมวดหมู่ของ “ข่าวและนักข่าว” และในส่วนของหมวดหมู่ “กีฬา” มีการเพิ่มเป็น “กีฬาและอีสปอร์ตส” นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มส่วนของดิจิทัลคอนเท้นท์ครีเอเตอร์ เข้าไปในหมวดหมู่ “ความบันเทิง” ด้วยเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • เราได้รับฟีดแบ็กในเรื่องของข้อกำหนดของจำนวนผู้ติดตามขั้นต่ำที่นับตามฐานของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการพิจารณาเสมอไป ทั้งนี้ จึงได้อัปเดตการพิจารณาจำนวนผู้ติดตามที่อ้างอิงตามฐานของแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ข้อกำหนดในการนับจำนวนผู้ติดตามมีความเสี่ยงต่อการถูกสแปมน้อยลงและมีความเท่าเทียมต่อประชากรในทุกพื้นที่มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีหลายคนที่แนะนำให้เพิ่มหมวดหมู่ในการยืนยันตัวตนของนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำ
ทางศาสนาเข้าไปด้วย ซึ่งทวิตเตอร์มีแผนที่จะเพิ่มหมวดหมู่ต่างๆ เหล่านี้ในนโยบายใหม่ภายในปีหน้า โดยในระหว่างนี้บุคคลเหล่านี้อาจถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของ “นักกิจกรรม ผู้จัดงาน และอินฟลูเอ็นเซอร์” ไปก่อน

ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020  ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลกในการระบุตัวตนของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ที่ทวีตเกี่ยวกับโควิด-19 และได้ทำการยืนยันตัวตนให้กับหลาย
ร้อยบัญชีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือดังกล่าว  ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนของบุคลากรเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายใหม่ที่กำลังดำเนินการอยู่เนื่องจากเป็นความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับวิกฤตทางด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน

คุณสามารถคลิกเข้าไปอ่านนโยบายการยืนยันตัวตนใหม่ของทวิตเตอร์ได้ที่นี่ หรือ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการกดตรงเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าได้ทั้งในแอปหรือบนเว็บไซต์

ทวิตเตอร์จะเริ่มใช้นโยบายนี้ใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2020 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำการดำเนินการลบเครื่องหมาย
ติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชีที่ไม่ได้มีการใช้งานและบัญชีที่ไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ โดยนโนบายใหม่จะมีการกำหนดว่า บัญชีที่มีความสมบูรณ์จะต้องมีหนึ่งในข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • จะต้องมีการยืนยันอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีรูปภาพโปรไฟล์
  • แสดงชื่อผู้ใช้งาน

หากบัญชีของคุณมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเครื่องหมายยืนยันตัวตน คุณจะได้รับแจ้งทางอีเมลอัตโนมัติและมีการ
แจ้งเตือนจากในแอปการใช้งานของทวิตเตอร์ว่า หากคุณไม่ต้องการให้ถูกลบเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าออกจากบัญชี จะต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หากคุณเข้าไปปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ ก่อนวันที่ 20 มกราคม 2020 บัญชีของคุณจะไม่โดนลบเครื่องหมายยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ไม่ได้มีเจตนาที่จะลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนออกจากบัญชีที่ไม่มีการใช้งานเนื่องจากการเสียชีวิต และกำลังดำเนินการหาวิธีที่จะระลึกถึงบัญชีเหล่านั้นในปี 2021 ภายใต้นโยบายใหม่นี้ ทวิตเตอร์จะทำการลบเครื่องหมายยืนยันตัวตนจากบัญชีที่พบกว่ามีการละเมิดกฎของทวิตเตอร์อย่างรุนแรงหรือมีการละเมิดกฎซ้ำๆ โดยจะมีการพิจารณาบัญชีเหล่านั้นตามแต่ละกรณี และจะมีการปรับปรุงการใช้งานระหว่างการบังคับใช้นโยบายการยืนยันตัวตนในปีหน้า แน่นอนว่าทุกคนที่ใช้งานทวิตเตอร์จะต้องอยู่ภายใต้กฎของทวิตเตอร์ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปอ่านเกี่ยวกับกฎของทวิตเตอร์ว่ามีขอบเขตในการดำเนินการอย่างไรบ้างได้จากที่นี่

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในลำดับต่อไป

การยืนยันตัวตนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานที่ทวิตเตอร์ทำเพื่อให้ผู้ใช้งานบนทวิตเตอร์สามารถทราบว่าพวกเขากำลังสื่อสารอยู่กับใคร ทวิตเตอร์ทราบดีว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประเมินความถูกต้องของบัญชีผู้ใช้งานทางอินเตอร์เน็ตและการเข้าใจว่าคุณกำลังสื่อสารและโต้ตอบอยู่กับใครคือหัวใจสำคัญของการสนทนาสาธารณะ

ในการช่วยให้ผู้คนสามารถเกิดความไว้วางใจว่าพวกเขากำลังพูดคุยโต้ตอบอยู่กับใครบนทวิตเตอร์ ทั้งข้อมูลของประวัติ เนื้อหาของทวีต การกดติดตามกันและข้อมูลในหน้าโปรไฟล์เป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม
ทวิตเตอร์จึงเริ่มให้มีการติดป้ายรับรองบัญชีให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานรัฐบาล และสื่อที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล นอกจากนี้เรากำลังดำเนินการออกแบบวิธีในการแบ่งประเภทของบัญชีใหม่ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย

  • บัญชีที่เป็นอัตโนมัติ บัญชีที่มีการโพสต์ข้อความอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า “บอท” สามารถช่วยในเรื่องการให้บริการได้เป็นอย่างมาก เมื่อต้องแชร์ข้อความจำพวกการเตือนภัยแผ่นดินไหว หรือการแจ้งเตือนถึงวิธีในการดูแลตัวเอง ซึ่งบางครั้งอาจสร้างความสับสนให้กับหลายๆ คนได้หากว่าไม่มีการระบุให้ชัดเจนว่าบัญชีนั้นเป็นบอท ดังนั้นในปี 2020 เราจึงวางแผนที่จะแบ่งประเภทบัญชีที่เป็นบอทออกจากบัญชีที่มีผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงๆ ให้ชัดเจนเพื่อทุกคนจะได้ทราบว่าบัญชีไหนเป็นบอทบ้าง
  • บัญชีเพื่อการระลึกถึง เราทราบว่าบัญชีผู้ใช้งานของผู้ที่จากไปมีความสำคัญกับผู้ที่ยังอยู่อย่างไร เราจึงกำลังปรึกษากันว่าควรรักษาบัญชีประเภทนี้ไว้อย่างไร ในปี 2020เ ราวางแผนที่จะสร้างประเภทของบัญชีใหม่ๆ สำหรับบัญชีเพื่อการระลึกถึง ซึ่งในนโยบายใหม่จะมีการอัปเดตถึงรายละเอียดของบัญชีประเภทนี้และขั้นตอนการสมัครเพื่อขอให้บัญชีนั้นเป็นบัญชีเพื่อการระลึกถึงได้อย่างไร

งานที่ทวิตเตอร์กำลังทำอยู่นั้นอาจจะห่างไกลจากคำว่าสำเร็จเสร็จสิ้น อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนมองไปข้างหน้า ถึงสิ่งที่เรากำลังทำ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจในแนวทางของของทวิตเตอร์มากขึ้น เรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่กำลังจะเริ่มเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตนอีกครั้งและจะเริ่มเปิดตัวบัญชีประเภทใหม่ๆ ซึ่งเราจะมาอัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมในเร็ววันนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะในช่วงที่เปิดให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นสาธารณะเพื่อช่วยให้เราสามารถกำหนดนโยบายใหม่ได้อย่างชัดเจน