20 วิธีป้องกัน ง่ายๆ จากการโจมตีทางมือถือ ไม่ให้โดนแฮก ขโมยข้อมูล

เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานสมาร์ทโฟนในยุคนี้สมัยนี้ ขอแนะนำ 20 วิธีป้องกัน จากการโจมตีทางมือถือในยุค 2021 เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถูกแฮก ขโมยข้อมูล ด้วยวิธีที่ไม่ยาก มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย !

Wi-Fi

1. อย่าเปิด auto-join สำหรับ Wi-Fi สาธารณะต่างๆ หรือเน็ตเวิร์คที่ไม่คุ้นเคย เช่น True Wi-Fi , Dtac Wi-Fi หรือ AIS Wi-Fi เป็นต้น ถ้าหากเปิด auto-join เอาไว้ มือถือของเราจะพยายามค้นหาพวก Wi-Fi ชื่อที่เราเคยเชื่อมต่อแล้วพยายามเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ ดังนั้น ถ้าพวกแฮกเกอร์มีการปล่อย Wi-Fi ปลอมออกมาล่อ มือถือเราจะเชื่อมต่อแล้วถูกขโมยข้อมูลผ่านระบบ Man in the Middle โดยอัตโนมัติ

2. พยายามปิด Wi-Fi เมื่อไม่ใช่งาน หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้

3. ไม่ควรส่งข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ / sensitive ผ่านการเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่นข้อมูล user + password หรือ เลขบัตรเครดิตรวมถึงตัวเลขหลังบัตร เป็นต้น

แอปพลิเคชัน

4. ดาวน์โหลดและใช้งานแอปจากสโตร์ทางการเท่านั้น เช่น App Store หรือ Google Play Store เป็นต้น ถ้าไม่มีความจำเป็น อย่าติดตั้งแอพจากไฟล์ .apk หรือ .ipa ที่ได้มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

5. ก่อนดาวน์โหลด/ติดตั้งแอป อ่านคำอธิบาย อ่านรีวิวของแอปนั้นๆ ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปที่หน้าตาไม่คุ้น รวมถึงผู้พัฒนาที่ไม่รู้จักมาก่อน อ่านให้ดีก่อนว่ามันมีข้อจำกัดตรงไหนบ้าง มีรีวิวในเชิงลบมาก-น้อยแค่ไหน และรีวิวเขาพูดถึงแอปว่าอย่างไร

6. อัปเดตแอปให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเราได้อัพเดตตัว security patch ล่าสุดของแอปนั้นๆ ด้วย

7. หากแอปนั้นๆ ไม่ได้รับการซัพพอร์ตจากสโตร์อย่างเป็นทางการแล้ว ให้ลบออกจากเครื่องซะ

8. อย่าให้สิทธิ์ administrator หรือสิทธิพิเศษที่เข้าถึงข้อมูลต่างๆ กับแอปง่ายๆ เรื่องนี้อยากให้คิดในแง่ร้ายเอาไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย

เบราเซอร์

9. ระวังพวกโฆษณา แบนเนอร์ การแจกของรางวัล และการประกวด/การแข่งขันต่างๆ ที่ดูแล้วดีเกินจริง เพราะ มันมักจะนำไปสู่ phishing site ที่ดูเผินๆ เหมือนจะถูกกฎหมาย

10. อยากให้ใส่ใจ และสังเกต URL ให้ดี ว่า URL ที่กำลังจะเข้านั้น ถูกต้องอย่างที่มันควรจะเป็นหรือไม่ อาจเป็นเรื่องที่เสียเวลาหน่อย แต่เชื่อเถอะว่าคุ้มค่าเสียเวลาและเพิ่มความมั่นใจว่าจะเข้าเว็บไซต์ต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยขึ้นแน่ๆ

11. อย่าพยายามบันทึกข้อมูลการล็อคอิน เช่น user และ password เมื่อต้องใช้งานเบราเซอร์ เพราะ มีสิทธิ์ถูกแฮก ขโมย หรืออาจโดน hijack ด้วยการแอบมาใช้งานเครื่องแทนได้

Bluetooth

12. ปิดระบบ auto pairing เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ หรือเครื่องอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์

13. ปิดบลูทูธเมื่อไม่ใช้งาน

Phishing ผ่าน SMS

14. อย่าไว้ใจข้อความที่พยายามจะให้คุณเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น

15. ให้ระวังกลยุทธ์ล่อลวงแบบเดียวกับที่ใช้งานในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook , Messenger , Instagram เป็นต้น

16. ปฏิบัติแบบเดียวกับที่คุณควรทำกับการใช้งานอีเมล นั่นคือ คิดให้มากๆ ก่อนจะคลิ๊กเข้าลิงก์ใดๆ เสมอ

Voice + Email Phishing

17. อย่าพยายามตอบกลับคำขอข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล ทั้งทางโทรศัพท์และอีเมล ถ้าเกิดคุณสงสัยจริงๆ ให้โทรติดต่อตรงกลับไปยังธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้นๆ แทน โดยใช้หมายเลขที่ปรากฏอยู่หลังบัตร ATM , บัตรเครดิต หรือเอกสารแจ้งค่าใช้จ่ายรายเดือน

18. อย่าคลิ๊กลิงก์ในอีเมลเชิงพาณิชย์ที่ไม่ได้มีการร้องขอให้ทำการคลิ๊ก/จำเป็นต้องคลิ๊ก

19. จะพูดเกี่ยวกับข้อมูลทางบัญชีก็ต้องเมื่อคุณเป็นคนเริ่มต้นโทรไปก่อน และที่สำคัญ ให้คุยเฉพาะกับผู้รับสายที่เป็นคน หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับระบบ (ถ้าเป็นไปได้)

20. ติดตั้งซอฟ์ทแวร์ที่สามารถบอกคุณได้ว่าคุณอยู่ในเว็บไซต์ที่ปลอดภัย หรือเว็บปลอม

วิธีป้องกัน ขโมยข้อมูล

เพียงปฏิบัติตาม วิธีป้องกัน ทั้ง 20 ข้อนี้ เชื่อว่าคุณจะสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันการโจมตีทางมือถือได้ ไม่ถูก ขโมยข้อมูล สำคัญ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายในระดับที่คาดไม่ถึง และจงมีสติทุกครั้งเมื่อได้รับการติดต่อ ที่ดูไม่น่าไว้วางใจ

ที่มา : knowbe4

นักเขียนหน้าใหม่ ผู้หลงไหลในเรื่อง แมว หมี เทคโนโลยี และ โลกของไอที :)