หน่วยงานกำกับมาตรฐานโฆษณาของประเทศอังกฤษ หรือ Advertising Standards Authority (ASA) ออกกฏห้ามใช้ฟิลเตอร์ปรับแต่ง ในการโฆษณาทางโซเชียลมีเดียที่เกินจริง ทั้งในภาพถ่ายหรือวิดีโอซึ่งอาจมีผลกระทบถึงผลิตภัณฑ์
โดย ASA ตอบสนองต่อแคมเปญ #filterdrop ที่มีการรณรงค์และเรียกร้องให้เหล่า influencer ระบุเมื่อพวกเขา/เธอใช้ฟิลเตอร์ความสวยความงามเพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือเครื่องสำอาง โดย ASA กล่าวว่าคอนเทนต์ที่ผ่านการใช้ฟิลเตอร์ความสวยความงามอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจากผลลัพท์ที่ได้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ความงามที่เกินความเป็นจริง
Sasha Pallari ผู้เริ่มแคมเปญ #filterdrop ในเดือนกรกฎาคม 2020 ความหวังจะได้เห็นผิวจริงๆ มากขึ้นบน Instagram
ทั้งนี้ ASA ได้ตรวจสอบ 2 ตัวอย่างที่ผ่านการใช้ฟิลเตอร์บนการโฆษณาแบบวิดีโอของผลิตภัณฑ์ทำผิวสีแทนที่แชร์บน IG Stories ได้แก่ Skinny Tan Ltd และ Tanologist Tan และมีการตัดสินว่าโฆษณาทั้ง 2 ตัวมีแนวโน้มทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และตัดสินให้แบนการใช้ฟิลเตอร์ เนื่องจากฟิลเตอร์ดังกล่าวทำให้ผลลัพท์ออกมาดูเกินจริง ส่งผลให้เกิดการเข้าใจผิดว่าการใช้ผลิตภัณฑ์สามารถทำให้บรรลุผลลัพท์แบบในวิดีโอได้
ASA เพิ่มเติมว่า คำสั่งข้างต้นไม่ได้มีผลแค่กับโฆษณา 2 ชิ้นนี้เท่านั้น แต่จะใช้กับแบรนด์ต่างๆ รวมถึง influencer และเหล่าเซเลปคนดังทั้งหมดในสหราชอาณาจักร หากมีโฆษณาไม่ว่าจะรูปแบบที่เป็นรูปภาพหรือวิดีโอละเมิดกฏดังกล่าว ASA กล่าวว่าโฆษณาตัวนั้นจะถูกลบออกและห้ามไม่ให้ปรากฏอีกต่อไป เพราะการใช้ฟิลเตอร์ที่เกินจริง มีแนวโน้มที่จะทำลายชื่อเสียงของทั้งผู้โฆษณาและ influencer
Rahi Chadda นายแบบและ influencer ที่มีผู้ติดตามทาง instagram กว่า 900,000 คนกล่าวว่าเขาเห็นด้วยกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง และมองว่าการมีกฏนี้บังคับใช้ทำให้การโฆษณานั้นทำในทางที่ถูกต้องขึ้น แต่เขามีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการออกกฏการห้ามใช้ฟิลเตอร์อยู่ว่า ASA มีขอบเขตของการบังคับใช้กฏนี้อย่างไร? และที่สำคัญ ASA นิยามของคำว่าการใช้ฟิลเตอร์ไว้อย่างไรบ้าง?
เมื่อพูดถึงฟิลเตอร์ เรากำลังพูดถึงการจัดแสง การใช้เอฟเฟกต์พิเศษ หรือการแต่งหน้าก่อนโพสต์โปรโมทผลิตภัณฑ์
รูปภาพส่วนใหญ่บนโซเชียลมีเดีย ต่างก็ใช้ฟิลเตอร์กันทั้งนั้น
พวกเขาต้องระบุนิยามคำว่าการใช้ฟิลเตอร์ให้ชัดเจน
Rahi Chadda กล่าวถึงเรื่องการใช้ฟิลเตอร์
Sasha Pallari ออกแคมเปญ #filterdrop เพื่อต้องการเห็นผลลัพท์ 3 ประการ ดังนี้
- เพื่อกระตุ้นให้ผู้หญิงไม่ต้องพึ่งพาการใช้ฟิลเตอร์ให้ได้มากที่สุด
- ต้องการให้ ASA เรียกร้องให้ influencer ในโซเชียลมีเดียและเซเลปต้องระบุให้ชัดเจนว่าพวกเขาใช้ฟิลเตอร์ในการโปรโมทเครื่องสำอางหรือไม่
- เพื่อลบฟิลเตอร์ที่ปรับเปลี่ยนใบหน้าและปรับเปลี่ยนรูปร่างออกจาก instagram
โดย Pallari กล่าวว่าเป้าหมายของเธอตอนนี้ประสบความสำเร็จแล้ว 2 ข้อ เหลืออีกเพียงข้อเดียวที่เธอต้องต่อสู้เพื่อลบฟิลเตอร์แก้ไขใบหน้าออกจาก instagram ให้ได้ทั้งหมด
ทางฝั่ง Instagram ปฏิเสธที่จะออกความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องแคมเปญ #filterdrop และเรื่องการออกกฏของ ASA
ที่มา : BBC