vivo

Vivo โชว์วิดีโอสตรีมมิง 8K UHD ผ่าน 5G mmWave งาน MWC Shanghai 2021

vivo เผยโฉมสุดยอดนวัตกรรมวิดีโอสตรีมมิงความละเอียดสูงระดับ 8K ultra-high-definition (UHD) ผ่านการไลฟ์โดยใช้สัญญาณการเชื่อมต่อความเร็วสูง 5G ในงาน Mobile World Congress (MWC) Shanghai 2021 ตอกย้ำภาพผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยี 5G Millimeter Wave (mmWave)

Vivo จัดแสดงนวัตกรรมวิดีโอสตรีมมิงระดับ 8K UHD ผ่านเทคโนโลยี 5G mmWave ในงาน MWC Shanghai 2021ภายในงาน Vivo ได้ดึงเอาศักยภาพของสัญญาณ 5G mmWave ถ่ายทอดภาพวิดีโอความละเอียดระดับ 8K UHD จากเซิร์ฟเวอร์ไปยังสมาร์ตโฟนของ Vivo จากนั้นฉายวิดีโอความละเอียดระดับ UHD ไปยังทีวีที่รองรับภาพความละเอียด 8K แบบไร้สายได้อย่างลื่นไหลไม่สะดุด

โดยสมาร์ตโฟน Vivo ที่ใช้จัดแสดงภายในงานนั้นเป็นรุ่นที่รองรับเครือข่ายสัญญาณ 5G ทั้งคลื่นความถี่แบบ Sub-6GHz และ mmWave (n257/258/260/261) โดยใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อ NSA (EN-DC) แบบคู่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณที่เร็วและแรงยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของ Vivo ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G mmWave และเพิ่มศักยภาพในการนำสัญญาณดังกล่าวไปใช้ในเชิงพาณิชย์

vivo 8K UHD

งาน MWC Shanghai 2021 มีโซนการจัดแสดงเทคโนโลยี 5G mmWave Zone ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง GSMA (Global System for Mobile Communications) องค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสาร ร่วมกับพันธมิตรกว่า 39 แบรนด์ รวมทั้ง Vivo, China Unicom และ Qualcomm มาร่วมทดสอบประสิทธิภาพผ่านสถานการณ์จำลองต่างๆ ที่ต้องใช้สัญญาณ 5G mmWave โดยภายในโซนได้สาธิตวิธีการใช้งานสัญญาณ 5G mmWave กับงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว (Winter Olympics) ให้มีความทันสมัยและชาญฉลาดยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มความเป็นไปได้และสร้างมาตรฐานในอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรม mmWave ของจีนแบบไร้ขอบเขตมากยิ่งขึ้น

vivo 8K UHD
Vivo จัดแสดงต้นแบบ mmWave ณ งาน MWC Shanghai 2021

ในปัจจุบัน การให้บริการเครือข่ายสัญญาณ 5G ทั่วโลกใช้ความถี่แบบ sub-6Ghz และ mmWave เป็นหลัก ซึ่งคลื่น Millimeter นั้น เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น 1mm ถึง 10mm และช่วงความถี่อยู่ที่ 30GHz ถึง 300GHz เมื่อเปรียบเทียบกับคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 6GHz แล้ว พบว่าความถี่แบบ mmWave มีข้อได้เปรียบที่โดดเด่นมากกว่า

ไม่ว่าจะเป็นแบนด์วิธ (Bandwidth) ที่ใหญ่ขึ้น ความล่าช้าในการเชื่อมต่อทางอากาศที่ต่ำลง และการกำหนดค่า Air Interface ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของระบบการสื่อสารแบบไร้สาย อัตราการส่งข้อมูล รวมทั้งแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครือข่ายไฮบริดทั้งแบบความถี่ต่ำ (Low-frequency) และความถี่สูง (High-frequency) จะกลายมาเป็นสถาปัตยกรรมพื้นฐานของระบบการสื่อสารเคลื่อนที่แบบ 5G

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Vivo ทุ่มงบประมาณลงทุนกับเทคโนโลยี 5G mmWave และได้รับผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม โดยทีมนักพัฒนา 5G ของ Vivo เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี mmWave ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2016 และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน 3GPP R15/R16 mmWave ซึ่งมีส่วนสำคัญในมาตรฐานของ 5G mmWave และในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา มีข้อมูลจากการทดสอบภาคสนามที่จัดโดยกลุ่ม IMT2020 (5G) Promotion Group ในเขตหวายโหรว (Huairou) ของกรุงปักกิ่ง

พบว่าอัตราการดาวน์ลิงก์ (downlink) 4CC สูงสุดบนสมาร์ตโฟน 5G mmWave ของ Vivo อยู่ที่ 2.06 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) โดยขยายระยะทางออกไปได้ไกลถึง 1.3 กิโลเมตร (ตามเงื่อนไข LOS ณ สถานที่ทดสอบ) และในงาน World 5G Convention 2020 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Vivo ได้จัดแสดงวิธีการทำงานที่สมาร์ตโฟน 5G mmWave สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมจำลองเครือข่ายไร้สาย ซึ่งได้รับความสนใจจากคนในแวดวงอุตสาหกรรมมากมายอีกด้วย

ด้วยศักยภาพและการประยุกต์การใช้งานอย่างกว้างขวาง Vivo พร้อมจะเดินหน้ามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและแอปพลิเคชัน 5G mmWave พร้อมทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อส่งมอบศักยภาพของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ 5G ให้ทรงประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น