AIS Business 5G ในฐานะ Your Trusted Smart Digital Partner เผยเทรนด์ดิจิทัลเทคโนโลยีที่ธุรกิจและองค์กรต้องมีเพื่อผ่าวิกฤตท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ชี้ 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่ทุกองค์กรและธุรกิจต้องมี เพื่อเร่งปรับตัวและนำมาใช้งานจริง พร้อมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรอย่าง ไมโครซอฟท์ ผู้นำดิจิทัลเทคโนโลยีระดับโลก มาเผยมุมมองที่องค์กรและธุรกิจต้องเร่งดำเนินการปรับตัวเพื่อมองหา New way, New ME เพื่อช่วยผลักดันให้ทุกองค์กรและธุรกิจสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและปรับใช้ได้อย่างมั่นคง
นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business เปิดเผยว่า จากผลกระทบของโควิด-19 ตั้งแต่ในปี 2020 จนถึงปัจจุบันได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการเป็นตัวเร่งให้กับทุกองค์กรและธุรกิจก้าวข้ามอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยโควิด-19 มีส่วนอย่างมากในการเร่งให้องค์กรและธุรกิจทุกขนาดมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วจากเดิม 18 เท่า เป็น 40 เท่า (จากการสำรวจของ McKinsey & Company) โดยมองหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อได้อย่างไม่สะดุด อาทิ การทำงานแบบ Remote, การทำงานจากที่บ้านหรือ Work From Home เป็นต้น อีกทั้งในวันนี้มีแนวโน้มว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันผู้คนไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการทำธุรกิจและการขับเคลื่อนองค์กรในวันนี้คงไม่ได้มีแค่การใช้งานแบบ Online และ Offline แบบ 50:50 อีกต่อไป เพราะในวันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาส่วนช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจ โดยมี 10 เทคโนโลยีที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญและพร้อมนำไปใช้ในทุกกระบวนการ เพื่อสามารถเดินหน้าฝ่าวิกฤตสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อก้าวสู่โลกของการทำ Digital Business ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดย 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่องค์กรและธุรกิจต้องใช้เพื่อการปรับ ได้แก่
- 5G : ในฐานะที่ AIS เป็นผู้ 5G เทคโนโลยีมีความครอบคลุมมากถึง 77 จังหวัด ได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้ 5G เพื่อองค์กรกรและธุรกิจโดยเฉพาะในภาคอุสาหกรรมการผลิต เนื่องด้วย 5G เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ใช่แค่มือถือแต่รวมถึงอุปกรณ์อัจฉริยะทุกชนิดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet Of Things) อีกทั้งด้วยความเร็วสูงที่มากกว่า 4G ถึง 20 เท่า และการตอบสนองที่รวดเร็วกว่า จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทุกวงการอุตสาหกรรม ซึ่งในแง่องค์กรและธุรกิจจะได้ประโยชน์เพราะส่งเสริมธุรกิจให้เชื่อมต่อได้เร็วขึ้น
- IoT : เทคโนโลยีที่จะช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ผ่านการรับส่งข้อมูลและสั่งงานจากที่ต่างๆ โดย AIS ยังคงเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมและโซลูชันใหม่ๆ เพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจทุกขนาดสามารถเป็นไปอย่างราบรื่น
- Cloud & Edge Computing : เป็นเทคโนโลยีที่ AIS มีการสนับสนุนให้กับทุกองค์กรและธุรกิจในการบริการ ซึ่งคลาวด์จะเป็นตัวช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดำเนินธุรกิจที่ในยุคโควิด-19 ทุกคนทำงานจากที่บ้าน ส่วน Edge ก็จะร่วมกับ 5G ในการทำให้ use cases ที่ต้องการการตอบสนองแบบรวดเร็วเกิดขึ้นได้
- Extended Reality : หรือ XR เทคโนโลยีสุดล้ำที่จะเข้ามามีบทบาทกับเรามากขึ้นทุกวัน กับเทคโนโลยีโลกเสมือนที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สวมใส่ประเภทต่าง ๆ เข้ากับอินเตอร์เน็ตในการเข้าไปสู่โลกอีกใบ XR นั้นเป็นเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ผสมผสานหลากหลายมิติเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมในโลกจริง สภาพแวดล้อมดิจิทัล รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสวมใส่
- AI/Machine Learning : เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมาจนสามารถนำใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ที่ใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรค, การขายออนไลน์เพื่อหยิบเลือกสินค้าหรือบริการให้กับผู้บริโภคได้อย่างตรงใจ หรือแม้กระทั่งการเป็นผู้ช่วยแนะนำการลงทุนให้กับนักลงทุน เป็นต้น
- Robotics : ตัวอย่างของ Robotics technology ที่ใกล้ตัวและเห็นได้ชัดที่สุดในปัจจุบัน เช่น หุ่นยนต์ประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุ ที่พร้อมจะช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการทานยาและช่วยแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น หรือในปัจจุบันที่มีการพัฒนาเกมส์แข่งขันตั้งแต่ระดับเยาวชนจนถึงมืออาชีพกับการแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่นด้านการขนส่ง การจัดการสินค้าในโรงงาน ที่ถูกนำไปใช้จริงเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้อย่างดี เป็นต้น
- Big Data & Analytics : การบรรจบกันของยุคข้อมูลมหาศาลกับ Technology และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาในฐานข้อมูลและหา Insight จากข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ยอดซื้อขาย การวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้า หรือการนำข้อมูลมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับธุรกิจได้
- Cyber Security : เทคโนโลนีการป้องกันการถูกโจมตีหรือถูกโจรกรรมข้อมูลในภาวะที่ทุกคนทำงานผ่านโลกออนไลน์ซึ่งอาจะเป็นช่องโหว่ให้กับโจรไซเบอร์ในการฉกฉวยโอกาส AIS ให้บริหาร E2E Cyber Security Services โดยแนะนำให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ โดยมีการร่วมกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำระดับโลก
- Robotic Process Automation : หรือ RPA คือการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยธุรกิจโดยเฉพาะในแง่ของงานด้านออฟฟิศที่ใช้มนุษย์ทำซ้ำ ๆ เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบข้อมูลในระบบ Website เพื่อนำข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือสนใจมาป้อนในระบบต่างๆ ของธุรกิจ เช่น การสำรวจข้อมูลทางการตลาด, การรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าในตลาด, การอ่านข้อมูล Email เพื่อนำข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแต่ละธุรกิจไปป้อนลงระบบต่างๆ เช่น Customer Service, CRM และอื่นๆ หรือนำข้อมูลจากในระบบดังกล่าวมาสร้างเป็น Email โต้ตอบลูกค้าโดยอัตโนมัติ, การนำข้อมูลจากระบบต่างๆ ในธุรกิจ เช่น ERP, MRP, CRM, POS มาป้อนใส่ระบบอื่นๆ เพื่อทำการรับส่งข้อมูลระหว่างระบบได้โดยอัตโนมัติอย่างง่ายดาย
- Blockchain : การนำ Technology Blockchain มาใช้กับองค์กรที่เป็นที่นิยมในต่างชาติเช่น การจัดเก็บลายเซ็นต์ที่ใช้เป็นลายเซ็นต์สำคัญ, การเก็บฐานข้อมูลลูกค้า, การจัดเก็บเอกสารด้านความปลอดภัยเช่นเรื่องกฏหมาย โฉนดทีดิน และยังรวมถึงการเพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านการเงินที่รู้จักกันดี
“สิ่งสำคัญที่ดีที่สุดในการ Digital Transformation คือการมีพันธมิตรที่ดี ในการสร้าง Ecosystem เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงของการทำงานให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญของเทคโนโลยีซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างมากในการทำ Digital Business เพื่อสร้างธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน โดย AIS ได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลกเพื่อสร้างสรรค์และออกแบบนวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์กับองค์กรและธุรกิจในประเทศไทย โดย AIS ถือเป็นพันธมิตรรายแรกของ Microsoft ในประเทศไทยที่ให้ความร่วมมือกันในการอินทิเกรตเทเลคอมโซลูชันกับคลาวด์ระดับโลกของ Microsoft โดยให้บริการ Microsoft Edge Node และ AIS Azure ExpressRoute ทางด้านธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรในการเป็น Cloud Service Provider ในกับทาง Microsoft ด้วย” นายธนพงษ์ กล่าว
ด้าน นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกองค์กรและธุรกิจเกิดความยากลำบากและเป็นปัญหาสำหรับทุกคน แต่ในทางกลับกันภายใต้ปัญหานั้นก็นำมาซึ่งโอกาสมากมาย โดยโอกาสในที่นี่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องคิดใหม่ทำใหม่ หรือ “New way, New ME” แต่ในการคิดใหม่ทำใหม่นั้นอาจจะต้องมานั่งมองหาว่าสิ่งที่อยากจะทำคืออะไร เพราะในขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงอยู่รอบๆ ตัวเรา การขับเคลื่อนและดำเนินธุรกิจยังคงต้องเดินหน้าต่อไป โดยขอแนะนำ 8 สิ่งที่องค์กรและธุรกิจต้องเร่งดำเนินการปรับตัวเพื่อมองหา New way, New ME ดังนี้
- AnyWhere Everywhere : การทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home ในวันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการทำงานของทุกๆ องค์กรและธุรกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งที่ทุกองค์และธุรกิจต้องมองไกลกว่านั้นคือการปรับตัวให้ในอนาคตทุกการทำงานสามารถเกิดขึ้นโดยทำจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งหนึ่งที่องค์กรจะต้องสร้างความสามารถให้กับพนักงานในการทำงานจากที่ไหนก็ได้
- Shaping and Architecting the “Digital First World” : Business และ Digital ต้องมาด้วยกัน เนื่องด้วยทุกวันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในมือของลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานในองค์กร อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการใช้ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรถือเป็นแกนสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น
- The Dominant of “Cloud Economy” : ทุกวันนี้คลาวด์เปรียบเสมือนน้ำไฟที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นการขับเคลื่อนองค์กรและธุรกิจหากต้องนั่งรอข้อมูลที่ใช้เวลาในการหาและดำเนินการอาจจะต้องใช้เวลามหาศาล การมีคลาวด์จะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ขององค์กรและธุรกิจสามารถทำได้ง่ายขึ้นทุกเวลาที่ต้องการ
- New Gen of “Business & Intelligence” : การใช้เทคโนโลยี AI ในการทำธุรกิจถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ไม่ควรพลาด เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยี AI จะช่วยทำให้เรื่องที่ดูยากกลายเป็นง่ายๆ อย่างการทำ AI Chatbot ที่สามารถทำให้การเชื่อมต่อกับลูกค้าของธุรกิจเป็นไปอย่างง่ายดาย รวมถึงการใช้ AI กับการดำเนินธุรกิจในแง่ต่างๆ
- “Strategic Economy Partnership” with Purpose : โลกของวันนี้ไม่มีคำว่า it’s ME อีกต่อไปแต่ต้องเป็น It’s We คือ การมีพาร์ทเนอร์ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับธุรกิจได้อย่างมหาศาล
- Emerging of “Citizen Developers” : เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้จำกัดอยู่เพียงคนที่เรียนทางด้านไอที, วิศวกรคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมเมอร์เท่านั้น แต่วันนี้เป็นโอกาสของทุกคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม สร้างแอปพลิเคชั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นจากในอดีต จนสามารถต่อยอดใช้ประโยชน์กับองค์กรและธุรกิจได้
- Built in “The Economy of Trust” : การสร้างความเชื่อให้กับองค์กรและธุรกิจผ่านการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน โดยเฉพาะการสร้างความน่าเชื่อถือไม่ให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ เพราะทุกวันนี้ไม่เพียงแค่ลูกค้าหรือพันธมิตรเท่านั้นที่ต้องการความเชื่อถือขององค์กรและธุรกิจ แต่การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรและธุรกิจผ่านเทคโนโลยีต่างๆ จะสร้างความเชื่อมมั่นและเป็นจุดสำคัญในการเปิดโอกาสให้หลายๆ หน่วยงานเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร
- A call to Action for “Sustainable Development Goal” : หากเราคิดถึงเพียงแค่ผลกำไร/ขาดทุนขององค์กรเพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพออีกต่อไป องค์กรควรจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความยั่งยืน เพื่อช่วยให้ประเทศมีศักยภาพในการพัฒนามากยิ่งขึ้น
“Digital Transformation ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วย Technology แต่ขับเคลื่อนด้วย Business เมื่อ Business ไปได้แล้ว Digital technology จึงเข้ามา support ตัวอย่างเช่น Intelligent Cloud และ Intelligent Edge เราลงทุนมากกว่า 200 Data center ทั่วโลก เราต้องการทำให้เป็นเหมือนน้ำ ไฟ ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้จริง ๆ ไม่เพียงแต่ Intelligent Cloud เท่านั้น เรายังให้ความสำคัญกับ Intelligent edge ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีอุปกรณ์ IoT มากมายที่มีอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องส่งกลับมาที่ระบบ cloud ไม่ว่าจะเป็น Autonomous Cars, Robotics, Smart City ต่างๆ ดังนั้น AIS จึงร่วมกับ Microsoft ทำตรงนี้เพื่อให้ลูกค้าทุกคนได้รับบริการเหล่านี้เพื่อช่วยเสริมศักยภาพให้ตอบโจทย์ Business ได้” นายธนวัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้ AIS Business ยังได้แนะแนวทางสำหรับธุรกิจทุกขนาดในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเต็มประสิทธิภาพ พร้อมปรับทิศทางตามโจทย์ใหม่ ให้ก้าวสู่ความสำเร็จในยุคแห่งนวัตกรรม ด้วยส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง บุคลากร กระบวนการ เทคโนโลยี และข้อมูล โดยแนวทางที่แนะนำ คือหลัก 4 รู้ ได้แก่ รู้ตนเอง, รู้ลูกค้า, รู้เทคโนโลยี, รู้ partner ต้องประกอบไปด้วย 4 อย่างนี้เข้าด้วยกัน จึงจะนำไปสู่กระบวนการในการหาทางออกด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้
รู้ตนเอง คือ รู้เป้าหมายที่จะไป หรือรู้ว่าปัญหาที่ประสบอยู่คืออะไร รวมถึงรู้ความสามารถขององค์กรและบุคคลาการว่าจะนำเทคโนโลยีมาใช้ได้เพียงได้
รู้ลูกค้า คือ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร หรือประสบปัญหาอะไร เราจะไป capture value เหล่านั้นในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร
รู้เทคโนโลยี คือ รู้ว่าเทคโนโลยีจะไปตอบโจทย์จากการรู้ตนเองและรู้ลูกค้าได้อย่างไร เลือกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น
รู้ partner คือ รู้ว่า partner รายใดที่น่าจะช่วยนำ technology กับ business expertise มาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่ง partner นั้นต้องไว้ใจได้ เพราะมีประสบการณ์, มีความสามารถ, และมี partners อีกมากมายที่จะร่วมกันทำให้เกิดความสำเร็จ
“AIS Business มุ่งมั่นที่จะเดินสร้างแพลตฟอร์มและเวทีแห่งการแบ่งปันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันในแง่ของเทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของหลายๆ ภาคส่วน รวมทั้งภาคการศึกษาและภาคราชการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่เรามองว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างมิติและแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาในการสนับสนุนธุรกิจในประเทศไทยและทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ industy 4.0 แบบเต็มรูปแบบ” นายธนพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ประกอบการไทย ที่สนใจสมัครหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมขายที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือ เว็บไซต์ AIS Business https://business.ais.co.th/