HUAWEI

งาน APAC 5G Industry Forum 5G ผลักดันคุณค่าใหม่ เร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0

APAC 5G Industry Forum หรือ 5GIF ได้จัดงานประชุมออนไลน์ภายใตแนวคิด “5G ผลักดันคุณค่าใหม่ เพื่อเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0” สนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างกันภายในอีโคซิสเต็ม และพัฒนานวัตกรรมที่จะเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมร่วมกัน

ในงานประชุมดังกล่าวซึ่งหัวเว่ยเป็นผู้ร่วมจัดงาน ได้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 800 คนจาก 30 ประเทศ จากแวดวงต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม นักวิชาการ และพาร์ทเนอร์ด้าน ICT และอุตสาหกรรมแนวดิ่งรายต่าง ๆ

ภายในงาน APAC 5G Industry Forum ได้มีการเชิญพันธมิตรด้านเทคโนโลยีและเจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้ามาร่วมแบ่งปันและพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาให้เกิดความร่วมมือในอีโคซิสเต็ม 5G อย่างยั่งยืน เพื่อเสริมศักยภาพและสร้างธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยวิทยากรภายในงานมาจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากทั้งในประเทศจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย

“5G จะเข้ามาปฏิวัติระบบเศรษฐกิจโลกและเสริมศักยภาพการเติบโตของภาคธุรกิจ รวมทั้งขับเคลื่อนบริการด้านดิจิทัลและการค้า อย่างไรก็ตามยังคงมีความท้าทายอีกมากที่เราจะต้องก้าวผ่านให้ได้ เทคโนโลยีไม่เพียงแต่ต้องอาศัยผู้พัฒนานวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญที่ต้องมีความกล้าในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา กรณีของโรงพยาบาลศิริราชในประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดี โดยเราพบว่ามีความท้าทายหลายอย่างในการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานแบบดั้งเดิม แต่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้ริเริ่มนำบริการ 5G มาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตรวจอาการคนไข้ทางไกล รถพยาบาลอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับโครงข่าย รวมไปถึงรถยนต์ไร้คนขับเพื่อช่วยให้บริการจัดส่งยารักษาให้กับคนไข้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” นายเดนนิส เซียว ประธานของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวในช่วงเปิดงาน

ด้านนายดัสติน คีโฮ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการด้านข้อมูลระดับโลกของ APAC & ME กล่าวในการประชุมว่ามีธุรกิจองค์กรกว่า 15,000 รายในภูมิภาคอาเซียนที่ได้ใช้เงินกว่า 246,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาด้าน ICT ในปัจจุบัน โดยอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เริ่มประยุกต์ใช้ 5G ในภาคการผลิต น้ำมันและแก๊ส สาธารณสุข และเครือข่ายในสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งประเทศในอาเซียนต่างมีความมุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะและขยายจำนวนแรงงานในอุตสาหกรรมผ่านการฝึกชุดทักษะที่หลากหลายรวมไปถึงทักษะทางเทคโนโลยี

“5G สำหรับภาคองค์กรธุรกิจ (5GtoB) จะช่วยสร้างประโยชน์เป็นอย่างยิ่งให้กับระบบเศรษฐกิจโลก โดยหัวเว่ยเสนอโครงข่ายเป้าหมาย 5G แบบ 1+N เพื่อตอบโจทย์ความต้องการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบหลังบ้านด้านการเผยแพร่คอนเทนท์วิดีโอ (video backhaul) ระบบแมชชีนวิชัน (machine vision) การควบคุมทางไกล และระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (real-time positioning)” นางสาวเดซี่ จู รองประธานด้านการตลาดระบบไร้สายของหัวเว่ย กล่าว จากนั้นเธอได้กล่าวถึงตัวอย่างต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องจักรอัตโนมัติในอุตสาหกรรมการผลิต สนามบิน และท่าเรือขนส่ง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยี 5G ที่ช่วยส่งมอบแบนด์วิดท์ที่มากขึ้น พร้อมความหน่วงที่ต่ำลง และระบบการระบุตำแหน่ง (positioning)

ทั้งนี้ หัวเว่ยและผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้จัดตั้งกรอบความร่วมมือด้าน IoT มากมายในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาอีโคซิสเต็มในแต่ละประเทศได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยก้าวต่อไปของหัวเว่ยคือการเสาะหากรณีการใช้งานจริงในเชิงธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ ผ่านความร่วมมือกับผู้พัฒนานวัตกรรม, สตาร์ทอัพ และผู้ให้บริการโซลูชันต่าง ๆ ที่จะสร้างให้เกิดโซลูชัน 5G สำหรับอุตสาหกรรมแนวดิ่ง ซึ่งจะเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม

การรับเทคโนโลยี 5G มาใช้อย่างรวดเร็วตลอดทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายในอุตสาหกรรมแนวดิ่งต่าง ๆ การลงทุนด้าน ICT อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความร่วมมือร่วมใจของแต่ละภาคส่วนจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะช่วยเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล และพัฒนาอีโคซิสเต็มโดยพันธมิตรภายในประเทศ ที่จำเป็นต่อการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ ๆ และจุดประกายการเร่งให้เกิดอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ในที่สุด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มได้ที่รายงาน GSMA APACE Digital Societies Report 2020 ที่ https://www.gsma.com/asia-pacific/resources/apac-digital-societies-2020/