Nokia เปิดอินไซต์ผู้ใช้สมาร์โฟน มองหามือถือใช้งานนานขึ้น-ราคาเอื้อมถึงพัฒนาโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ตอบโจทย์ตลาด ปริมาณการใช้งานโทรศัพท์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 90 เปอร์เซ็นต์ในรอบทศวรรษ
Nokia เปิดตัวสมาร์ทโฟน 6 รุ่นใหม่อย่างเป็นทางการที่ผ่านมา สะท้อนแนวคิดการวางเป้าหมายช่วยให้สมาร์ทโฟนมีราคาย่อมเยาและใช้งานได้ยาวนานขึ้น เป็นการสนับสนุนให้ผู้ใช้ทั่วโลกเก็บรักษาและใช้งานโทรศัพท์ได้นานวันกว่าเดิม โดย 6 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดจากผู้ผลิตโทรศัพท์สัญชาติฟินแลนด์ ถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับรายงาน
เทรนด์โลกที่พบว่า 69 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้คิดว่าสมาร์ทโฟนมีราคาแพงเกินไปและ 81 เปอร์เซ็นต์ต้องการโทรศัพท์ที่สามารถรองรับการใช้งานได้แม้เวลาจะผ่านไปนานปี เช่นเดียวกับตลาดในประเทศไทย 58 เปอร์เซ็นต์คิดว่าสมาร์ทโฟนในตลาดราคาสูงเกินไป และ 95 เปอร์เซ็นต์ ต้องการสมาร์ทโฟนที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น
สตีเฟ่น เทย์เลอร์ (Stephen Taylor) ประธานฝ่ายการตลาดของเอชเอ็มดี โกลบอล เจ้าของลิขสิทธิ์การจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เสริมแบรนด์โนเกียทั่วโลก กล่าวว่า “รายงานนี้ไม่เพียงเน้นย้ำถึงความรักที่ผู้คนทั่วโลกมีต่อโทรศัพท์ของตัวเองเท่านั้น แต่ยังแสดงว่าผู้ใช้มีความต้องการโทรศัพท์มือถือที่ไว้วางใจได้มากขึ้น ว่าจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดปลอดภัย และสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น โทรศัพท์ใหม่ทั้ง 6 รุ่นของเราที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตอบข้อกังวลที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจ ประสิทธิภาพพร้อมคุณภาพสูงของโทรศัพท์จะยังคงอยู่ตลอดการใช้งานเป็นเวลาหลายปี ทุกเครื่องจะได้รับการอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นประจำเพื่อยกระดับความปลอดภัยตลอดเวลา ไม่ว่าเครื่องนั้นจะมีราคาระดับใด ก็สามารถทำงานบนแพลตฟอร์ม Android ล่าสุดได้”
ด้านการปฏิสัมพันธ์
ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้คนพึ่งพาโทรศัพท์มากขึ้น จนมีการจับสัมผัสเครื่องเฉลี่ย 142 ครั้งต่อวัน เฉลี่ยแล้วมีการใช้เวลาในการมองหน้าจอ 18 ชั่วโมง 12 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งเทียบเท่ากับการดูซีรีส์ดัง Game of Thrones ต่อเนื่อง 2 ภาคแรก โดยชาวไทยใช้เวลาในการดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือ เฉลี่ย 11.5 ชั่วโมง ต่อวัน ชาวโคลอมเบียใช้เวลาส่วนใหญ่ดูหน้าจอน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่เยอรมนีและโปรตุเกสติดหน้าจอน้อยที่สุดคือ 2 ชั่วโมงต่อวัน
สถิติการใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 95เปอร์เซ็น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดย 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานทั่วโลกยอมรับว่า “รัก” โทรศัพท์ของตน ขณะที่ด้านคนไทยพบ 98 เปอร์เซ็นต์ โดย “ความรัก” นี้แปลว่าโทรศัพท์มือถือกลายเป็นศูนย์กลางในทุกส่วนของชีวิตคน
ยุคดิจิทัลจากผู้ใช้มือถือคนไทยปี 2020 – 2021 โดย 3 อันดับแรกพบ 91% เปอร์เซ็นต์ หันมาใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการชำระเงิน สำหรับทำธุรกรรมต่าง ๆ รองลงมา 88 เปอร์เซ็นต์ ช้อปปิ้งออนไลน์จากเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Instragram Facebook และ 86เปอร์เซ็นต์ เลือกทำงานต่าง ๆ บนโทรศัพท์
5 รูปแบบยอดนิยมของการใช้โทรศัพท์ทั่วโลก คือ:
- ท่องอินเทอร์เน็ต
- ดูโซเชียลมีเดีย
- ฟังเพลง
- เล่นเกม
- ส่งข้อความ
ความไว้วางใจในเทคโนโลยี
ความไว้วางใจเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกโทรศัพท์มือถือคู่กาย การสำรวจพบว่า 51.9 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยยอมรับว่า “การรู้ว่าโทรศัพท์ของตัวเองปลอดภัย” นั้นสำคัญมาก
อย่างไรก็ตาม 39 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าจะตัดสินใจรออย่างน้อย 2 สัปดาห์เพื่อดาวน์โหลดการอัปเดตด้านความปลอดภัย โดย 1 ใน 3 หรือ 29 เปอร์เซ็นต์ ไม่รู้ว่าโทรศัพท์ของตัวเองมีการอัปเดทด้านความปลอดภัยล่าสุดหรือไม่ ทำให้เกิดความเสี่ยงถูกคุกคามและถูกแฮก ในขณะที่ 1 ใน 3 หรือ 34 เปอร์เซ็นต์ ไม่ลงมือดาวน์โหลดการอัปเดตใด ๆ เลยด้วยความเชื่อว่าไม่ต้องทำอะไร
สาเหตุ 5 อันดับแรกที่ทำให้คนอังกฤษ (Brits) ไม่ดาวน์โหลดการอัปเดทด้านความปลอดภัย คือ:
- มีความคิดว่าไม่ต้องทำอะไรเลย (34 เปอร์เซ็นต์)
- กังวลว่าโทรศัพท์จะทำงานช้าลง (13 เปอร์เซ็นต์)
- ห่วงว่าการอัปเดตจะใช้พื้นที่บนโทรศัพท์มากเกินไป (8 เปอร์เซ็นต์)
- เชื่อว่าการอัปเดตจะทำให้โทรศัพท์มือถือล้าสมัยตกรุ่น (7 เปอร์เซ็นต์)
- เชื่อว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์จะสามารถสอดแนมได้ (2 เปอร์เซ็นต์)
ลดประมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์
ในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาที่ผู้ใช้ในอังกฤษ (Brits) ถือครองโทรศัพท์ โดยเฉลี่ยแล้วพบว่ามีการรอน้อยกว่า 3 ปีก่อนที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ มีเพียง 1 ใน 3 หรือ 33 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เก็บโทรศัพท์ไว้ได้นานกว่า 3 ปี อย่างไรก็ตาม 3 ใน 4 หรือ 73 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าต้องการเก็บโทรศัพท์ไว้ใช้งานได้นานขึ้น และ 78 เปอร์เซ็นต์จะใช้งานโทรศัพท์นั้นต่อเนื่องหากอุปกรณ์ยังคงประสิทธิภาพการทำงานเมื่อเวลาผ่านไป1 ใน 2 หรือ 50 เปอร์เซ็นต์ กังวลว่าการอัปเกรดเครื่องอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดย 1 ใน 3 หรือ 38 เปอร์เซ็นต์ ห่วงเกี่ยวกับการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป