VISA

VISA x Ksher ขยายช่องทางการชำระเงินดิจิทัล ให้ธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย

วีซ่า (VISA) พร้อมด้วย เคเชอร์ (Ksher) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบริการด้านการบริการชำระเงินดิจิทัล ประกาศความร่วมมือสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์สามารถรับชำระเงินผ่านวีซ่าได้สะดวกยิ่งขึ้น

ภายใต้ความร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้ เคเชอร์ มุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง ตลอดจนผู้ค้ารายบุคคล กว่า 10,000 ราย สามารถเข้าถึงการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลได้ภายในปี 2564 นี้

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบัน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป พวกเขาคาดหวังการชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย การช่วยให้ร้านค้าไม่ว่าจะขนาดไหนก็ตามสามารถรับการชำระเงินแบบดิจิทัลได้ นอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้แก่พวกเขาแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และช่วยให้พวกเขาสามารถโฟกัสกับการขยายธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น วีซ่ามีความมุ่งมั่นที่จะให้การช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ทำธุรกิจในทุก ๆ  รูปแบบได้มีเครื่องมือที่จะช่วยดึงลูกค้าและให้บริการได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบันที่เราได้เห็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน  และเรายินดีที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเคเชอร์ เพื่อช่วยกันสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจให้แก่เหล่าร้านค้า ให้สามารถดำเนินต่อไปได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล”

สันทิต จีรวงศ์ไกรสร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เคเชอร์ เพย์เมนท์ จำกัด ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะที่เราเป็นบริษัทชั้นนำที่เชี่ยวชาญเรื่องการบริการด้านการชำระเงินดิจิทัล เรายังคงเดินหน้าแสวงหาโอกาสและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  ที่จะช่วยเสริมศักยภาพการทำธุรกิจในประเทศไทย เป้าหมายหลักของเราคือการช่วยปูทางให้กับผู้ค้าสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมใหม่อย่างเศรษฐกิจดิจิทัลนี้ได้ โดยทำให้การยอมรับการชำระเงินแบบดิจิทัลกลายเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ว่าพวกเขาจะทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ใด ๆ ก็ตาม ความร่วมมือกับวีซ่าครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถให้บริการด้านการชำระเงินออนไลน์ที่ไร้รอยต่อและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นให้กับผู้ค้าออนไลน์ในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้พวกเขาเข้าถึงโซลูชั่นการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ได้มาตรฐานอีกด้วย”

VISA Ksher

เคเชอร์ จะมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ LinkPay ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินแบบใช้งานได้ทันที โดยที่กลุ่มผู้ค้าออนไลน์สามารถใช้บริการได้ไม่ว่าพวกเขาจะขายของอยู่ที่ใดก็ตาม ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการสนทนากันของผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ซื้อเพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ด หรือคลิกที่ลิงค์เพื่อทำการชำระเงิน จากนั้นระบบจะพาไปที่หน้าเพจที่มีระบบความปลอดภัยเพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเพื่อชำระเงิน ซึ่ง LinkPay จะตรวจสอบการซื้อ และจับคู่ข้อมูลการชำระเงินกับคำสั่งซื้อ และส่งข้อความแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ของการทำธุรกรรมดังกล่าวไปที่ผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อแจ้งให้ทราบว่าการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้บริการ LinkPay ยังช่วยให้ผู้ขายสามารถบริหารจัดการคำสั่งซื้อและเช็คยอดบัญชีได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอดจนสามารถแชร์ข้อมูลเหล่านั้นไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram LINE YouTube และ WhatsApp

ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคชาวไทยได้เปลี่ยนมาทำการชำระเงินแบบดิจิทัลในการช้อปปิ้งมากยิ่งขึ้น โดย 21 เปอร์เซ็นต์ ของนักช้อปชาวไทยใช้คิวอาร์โค้ดเพื่อชำระเงินเป็นครั้งแรก ซึ่งจากการศึกษาครั้งล่าสุดเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study) พบว่า มากกว่าสามในสี่ของผู้บริโภคชาวไทยได้ทำการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ (77 เปอร์เซ็นต์) โดยกลุ่มเจเนเรชั่น วาย เป็นกลุ่มที่ใช้คิวอาร์โค้ดในการชำระเงินมากที่สุด (48 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยกลุ่มเจเนเรชั่น เอ็กซ์ (40 เปอร์เซ็นต์) และกลุ่มเจเนเรชั่น ซี (38 เปอร์เซ็นต์)

“จำนวนผู้บริโภคที่เข้าถึงเทคโนโลยีมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ความยืดหยุ่นในวิธีการและสถานที่ทำงาน ตลอดจนความต้องการในเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ได้เข้ามาเปลี่ยนภาพรวมในการทำการค้าในประเทศไทยไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่าเราต้องสรรหาและคิดค้นโซลูชั่นใหม่ ๆ มานำเสนอให้แก่ร้านค้าเพื่อให้พวกเขาสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในสภาวะที่พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เรายินดีที่จะได้เข้าถึงกลุ่มผู้ค้ารายย่อยและมีความคล่องตัวเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นจากการร่วมมือกับเคเชอร์ในครั้งนี้ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ทำงานร่วมกันเพื่อคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพอันดีนี้ให้คงอยู่ต่อไปและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น” สุริพงษ์ กล่าวสรุป

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน