HUAWEI CONNECT 2021 ภายใต้หัวข้อหลัก “มุ่งสู่ดิจิทัล” เพื่อค้นหาแนวทางการผนวกเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับการใช้งานเชิงธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงกรณีศึกษาในภาคอุตสาหกรรม หาวิธีให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมนี้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อฟูมฟักอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมแบบเปิดกว้างและผลักดันความสำเร็จไปด้วยกัน
งานในครั้งนี้ประกอบด้วยการกล่าวปราศรัยสำคัญ 4 ครั้ง งานประชุม 5 ครั้ง งานอภิปรายย่อย 66 ครั้ง โดยมีวิทยากรมากกว่า 200 ท่าน ซึ่งรวมบรรดาผู้มีวิสัยทัศน์ในภาคอุตสาหกรรม ผู้นำในภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับหัวกะทิ และพาร์ทเนอร์ต่างๆ ในอีโคซิสเต็มเข้าร่วม ทั้งยังถ่ายทอดสด 11 ภาษา ผ่านเว็บไซต์ของหัวเว่ยและสื่อพาร์ทเนอร์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการแบบออนไลน์ การเยี่ยมชมฮอลล์จัดแสดงงานจากทางไกล และการเปิดวงอภิปรายในหัวข้อต่างๆ เพื่อมอบประสบการณ์ออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์กันและครบจบในที่เดียว
คุณอีริค สวี ประธานกรรมการบริษัทหมุนเวียนตามวาระ ของหัวเว่ย ได้กล่าวเปิดงานในหัวข้อ “มุ่งสร้างนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง เร่งสร้างกระบวนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล” ว่าการช่วยภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของพันธกิจหัวเว่ยที่ต้องการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าถึงทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ
“การพัฒนาด้านดิจิทัลนั้นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหลัก เราต้องมุ่งสร้างนวัตกรรมและคุณค่าใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เทคโนโลยีดิจิทัลตอบโจทย์ได้ โดยเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญมี 3 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีคลาวด์ AI และเทคโนโลยีด้านเครือข่าย” คุณอีริค สวี กล่าวและยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าของหัวเว่ยในด้านเทคโนโลยีทั้ง 3 นี้ รวมถึงสิ่งที่หัวเว่ย ทำเพื่อผลักดันการพัฒนาที่ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแนวทางที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในภาพรวมจะมุ่งไปข้างหน้า
คุณอีริค สวี อธิบายว่า ธุรกิจหัวเว่ยคลาวด์ (HUAWEI CLOUD) ได้เปิดตัวสู่ตลาดไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และได้ดึงดูดนักพัฒนากว่า 2.3 ล้านคน พาร์ทเนอร์ด้านการให้คำปรึกษากว่า 14,000 ราย พาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีกว่า 6,000 ราย และยังส่งมอบบริการมากกว่า 4,500 แบบภายใน Marketplace ของหัวเว่ยคลาวด์ ปัจจุบันหัวเว่ยคลาวด์ กลายเป็นแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับทั้งบริษัทด้านอินเทอร์เน็ต องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ และภาครัฐ ในการปรับเปลี่ยนองค์กรของพวกเขาเข้าสู่ยุคดิจิทัล
ภายในงานครั้งนี้ คุณอีริค สวี ยังได้เปิดตัวบริการที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์เป็นพื้นฐานในภาคอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในชื่อว่า UCS ซึ่งเป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์เป็นพื้นฐานและสามารถใช้งานได้ทุกที่บนหัวเว่ยคลาวด์ ด้วยบริการ UCS นี้ หัวเว่ยวางแผนที่จะส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีความเสถียรให้แก่องค์กรต่างๆ ในขณะที่พวกเขาใช้งาน แอปพลิเคชันที่มีพื้นฐานอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์ โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในด้านภูมิศาสตร์ ด้านการใช้บริการคลาวด์ข้ามประเภท หรือข้อจำกัดในด้านทราฟฟิกข้อมูล ซึ่งจะมีส่วนช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในทุกภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ เทคโนโลยีเต็มรูปแบบ (full-stack) ซึ่งเป็นสายผลิตภัณฑ์ด้าน AI ที่ครบวงจรสำหรับทุกสถานการณ์ของหัวเว่ยซึ่งเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2561 และได้รับการพัฒนาตามที่คาดหมายไว้ และโครงสร้าง MindSpore ของหัวเว่ยก็ได้กลายเป็นโครงสร้างด้านการประมวลผล AI ที่นำไปใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีน ในขณะเดียวกัน คลัสเตอร์ AI Atlas 900 รวมถึงการให้บริการคลาวด์ที่ปฏิบัติการด้วยคลัสเตอร์ตัวนี้ ก็ได้ให้บริการคลาวด์แก่ธุรกิจองค์กรเป็นจำนวนมากกว่า 300 แห่งในปัจจุบันนี้
คุณสวีได้อธิบายเพิ่มเติมถึงการที่หัวเว่ยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ อันเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในระดับโลกที่จะก้าวสู่จุดสูงสุดของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความเป็นกลางทางคาร์บอน ยิ่งไปกว่านั้น หัวเว่ยยังได้เน้นย้ำถึงแนวคิดหลัก 3 ประการ ได้แก่
- การลงทุนและการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ ICT ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรม ICT ที่มีปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ
- การลงทุนในนวัตกรรมพลังงานอิเล็กทรอนิกส์ (power electronics) ผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าด้วยกัน เพื่อยกระดับพลังงานสะอาดและกระบวนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลของพลังงานแบบดั้งเดิม
- มอบการสนับสนุนทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อช่วยเหลือทุกภาคส่วนให้เปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัลและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
คุณจาง ปิงอัน ประธานกรรมการบริหารของหน่วยธุรกิจคลาวด์และประธานฝ่ายบริการลูกค้าคลาวด์ของหัวเว่ย ได้อธิบายถึงแนวคิดเชิงกลยุทธ์ของหัวเว่ยคลาวด์ พร้อมเปิดตัวการให้บริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ภายในงานว่า “กุญแจสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลคือ การคิดอย่างคลาวด์และปฏิบัติอย่างคลาวด์โดยแท้จริง โดยหัวเว่ยคลาวด์ พร้อมทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ของเราร่วมกันศึกษาความเป็นดิจิทัล และศักยภาพของการให้บริการในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการแบบครอบคลุมทุกด้าน (Everything as a Service) การให้บริการในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service) ให้เข้าถึงได้จากทั่วโลก การให้บริการด้านเทคโนโลยี (Technology as a Service) สำหรับนวัตกรรมที่ยืดหยุ่น และการให้บริการด้านความเชี่ยวชาญ (Expertise as a Service) สำหรับความเชี่ยวชาญร่วมกัน”
นอกจากนี้ คุณจางยังได้ประกาศพื้นที่การให้บริการเพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ ประเทศเม็กซิโกและเขตอูหลานฉาปู้ในประเทศจีน พร้อมเปิดตัวการให้บริการหัวเว่ยคลาวด์ อีก 10 รูปแบบ ประกอบด้วย MacroVerse แพลตฟอร์มแอปพลิเคชันเป็นบริการ (aPaaS) ของหัวเว่ยคลาวด์ OptVerse AI Solver, HUAWEI CLOUD Stack 8.1, SparkRTC – การให้บริการเสียงและวิดีโอที่ประมวลผลทันที และ Pangu โมเดลขนาดใหญ่สำหรับโมเลกุลของยา
คุณสวีได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า “การพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้งเป็นพลังเบื้องหลังของการขับเคลื่อนสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลมาโดยตลอด หากเราหวังจะมุ่งสู่จุดมุ่งหมายอันทะเยอะทะยานสำหรับกระบวนการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในอนาคตต่อจากนี้ การสร้างนวัตกรรมแบบไม่หยุดยั้งจะยังคงเป็นกุญแจสำคัญต่อไป ดังนั้น เราจึงควรร่วมพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้งไปด้วยกัน เพื่อสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้น”
ทั้งนี้ หัวเว่ยได้จัดงาน HUAWEI CONNECT 2021 ในรูปแบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน ถึงวันที่ 31 ตุลาคม ภายใต้หัวข้อหลัก “มุ่งสู่ดิจิทัล” หัวเว่ยจะร่วมศึกษาการนำเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ คลาวด์ AI และ 5G ไปใช้จริงในทุกอุตสาหกรรม รวมถึงการศึกษาว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความสามารถในการปรับตัว และที่สำคัญที่สุดคือเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่องค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาดได้อย่างไร ท่ามกลางช่วงเวลาที่เรากำลังก้าวสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนี้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานครั้งนี้ สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.huawei.com/en/events/huaweiconnect