เคยสงสัยหรือไม่ว่า พวกบรรดา นักเลงคีย์บอร์ด ที่ทำตัวป่วนกวนโลกอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียนั้น ในชีวิตจริงแล้ว พวกเขาเป็นคนยังไงกันแน่?
จากงานวิจัยใหม่ที่มีชื่อว่า “The Psychology of Online Political Hostility: A Comprehensive, Cross-National Test of the Mismatch Hypothesis” โดย Alexander Bor กับ Michael Bang Petersen จาก Aarhus University ถูกตีพิมพ์ใน American Political Science Review โดยรายงานนี้ ทีมงานวิจัยได้ตั้งคำถามว่า . . .
เหตุใดการสนทนาออนไลน์เกี่ยวกับการเมือง จึงทำให้เกิดวิวาทะและเป็นปรปักษ์กันมากกว่าการสนทนาแบบออฟไลน์?
ทีมงานวิจัยตั้งคำถามเกี่ยวกับงานวิจัยดังกล่าว
ในบทความดังกล่าวยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไปเพียงเพราะ “พวกเขาอยู่หลังจอคอมพิวเตอร์/สมาร์ทโฟน” และมีอะไรที่มากไปยิ่งกว่านั้นอีก
เพื่อเป็นการทดสอบสมมุติฐานที่ไม่ตรงกัน (Mismatch Hypothesis) ท่ามกลางตัวชี้วัดอื่นๆ ทีมนักวิจัยจึงได้ค้นหาผู้เข้าร่วมในการอภิปรายเรื่องการเมืองทั้งออนไลน์และออฟไลน์ หลังจากจำกัดกลุ่มหัวข้อให้เหลือเพียง 770 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์แล้ว ทางทีมงานก็เริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลความเป็นปรปักษ์ โดยผู้เข้าร่วมจะถูกถามคำถามเกี่ยวกับการกระทำของพวกเขาทางออนไลน์และในโลกแห่งความจริงผ่านคำถาม 2 ชุด
ผลปรากฏรายงานว่า ผู้คนที่ถูกตั้งคำถามมี “ระดับความเกลียดชังทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์เท่ากัน” ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เป็นปรปักษ์กันทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์
นอกจากนี้ ในการวิจัยนี้มีทางเลือกหนึ่งสำหรับสมมุติฐานที่ไม่ตรงกันโดยมุ่งเน้น ไม่เพียงแต่เรื่องผลกระทบทางจิตวิทยาของสภาพแวดล้อมออนไลน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงต้นทุนที่แท้จริงของสภาพแวดล้อมการสนทนาออนไลน์ด้วย
นักวิจัยกล่าวต่อโดยอธิบายว่า สภาพแวดล้อมการสนทนาออนไลน์ มีความเชื่อมโยงกันอย่างมากโดยเป็นแบบสาธารณะและถาวร และ การกระทำของบุคคลที่เป็นศัตรูเพียงไม่กี่คน จะมองเห็นได้ทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์
สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดแนวคิดที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง “vocal minority” ที่จบลงด้วยเสียงที่ดังกว่าเสียงของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ออกความเห็นใดๆ บางมุมอาจมีความสมดุลมากกว่าด้วยความเห็นที่ถูกแสดงออกมาแตกต่างกัน นอกจากนี้ ผู้คนมักจะพบการมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์มากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับตัวบุคคล ดังนั้น พวกเขาจึงมีแนวโน้มที่จะมีความเป็นปรปักษ์ทางออนไลน์
จากการใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากสหรัฐอเมริกาและเดนมาร์ก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เข้าร่วมงานวิจัย พวกเขาพบเห็นการโจมตีตนเอง เพื่อน และคนแปลกหน้าทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ แต่แน่นอนว่ารายงานความเป็นปรปักษ์ทางออนไลน์นั้นสูงกว่าออฟไลน์ และการโจมตีทางออนไลน์กับคนแปลกหน้านั้นมีรายงานมากที่สุดในชุดข้อมูลทั้ง 2 ชุด
ด้วยการค้นพบและหลักฐานที่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ไม่ตรงกัน นักวิจัยสรุปว่า การสนทนาเรื่องการเมืองทางออนไลน์นั้น ดูมีความเป็นศัตรูกันมากกว่าการสนทนาแบบออฟไลน์ แม้จะมีงานวิจัยทางจิตวิทยาเกี่ยวกับหัวข้อนี้มากขึ้น แต่บุคคลที่ดูถูก เหยียดหยาม ทำตัวเป็น นักเลงคีย์บอร์ด ด่าทอผู้อื่นทางออนไลน์อาจทำเพื่อพยายามสร้างอารมณ์ขัน หรือทำให้อีกฝ่ายรู้สึกขุ่นเคือง หัวร้อน
แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม งานวิจัยที่น่าสนใจที่สุดควรทำให้ทุกคนนั้นฉุกคิด ทบทวน ใจเย็นๆ และคิดให้ดีก่อนทำการตอบโต้กันบนโลกอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดีย จนบานปลายไปถึงขั้นทะเลาะกัน
ที่มา : hothardware