ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยก้าวสู่ ยุคอุตสาหกรรม ยืนโดดเด่นในฐานะหนึ่งในฐานการผลิตชั้นนำของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการผลิตยานยนต์ แม้กระนั้น ความท้าทายมากมายที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความจำเป็นที่จะต้องคงไว้ซึ่งศักยภาพทางการแข่งขันทำให้ ณ ขณะนี้ประเทศไทยจะต้องมุ่งเน้นในเรื่องการเร่งเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม
เครื่องจักรอัตโนมัตินั้นเป็นเสมือนหัวใจหลักของการเร่งเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมมาช้านาน แต่เครื่องจักรอัตโนมัติระบบดิจิทัลในส่วนของผู้ผลิตทั้งหลายนั้นยังมีข้อจำกัดในการใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราได้เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ก็ถือว่าเรากำลังอยู่ในกระแสหลักของการใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ช่วยให้เราได้ใช้งานเทคโนโลยีล้ำสมัยกันมากขึ้น อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Machine Learning) อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หรือ ไอโอที (IoT) เทคโนโลยี Edge Cloud Computing และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ การเชื่อมต่อไร้สายรุ่นต่อไปโดยผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) รวมถึงคู่ค้าทางด้านเทคโนโลยีของพวกเขา
ความสำคัญพื้นฐานของเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัว
สายเคเบิลแบบประจำที่หรือเครือข่ายไร้สายรุ่นก่อน อย่าง 3G และ 4G อาจไม่เหมาะกับการใช้งานในโรงงานแห่งอนาคต ในยุคไทยแลนด์ 4.0 นี้ ระดับของความสามารถในการผลิต ประสิทธิภาพ และความคล่องตัวเชิงปฏิบัติการจะเกิดขึ้นได้ด้วยแอปพลิเคชันที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีความสามารถของเครือข่ายที่มีความหน่วงต่ำมาก และมีความน่าเชื่อถือที่เครือข่ายรุ่นก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้
โซลูชั่นไร้สายแบบส่วนตัวสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ซึ่งทำงานด้วยการเชื่อมต่อบนระบบ 4.9G หรือ 5G จะช่วยให้ผู้ประกอบการโรงงานสามารถจัดการธุรกิจได้ดีขึ้น พร้อมเพิ่มสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับศักยภาพเชิงปฏิบัติการและประสิทธิภาพในระยะยาวได้ ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากสัญญาณที่กว้างขึ้น ความหน่วงของเวลาที่น้อยลง และความปลอดภัยที่ได้รับการปรับให้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยเสริมศักยภาพให้กับระบบได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยเครื่องมือเชื่อมต่อที่สามารถสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ได้
อีกสิ่งที่ทำให้เครือข่ายที่ล้ำสมัยมีความแตกต่าง คือมันสามารถแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วน ๆ ได้ นั่นคือบริการให้เช่าเครือข่ายแบบเหมารวมที่สามารถนำไปจัดสรรให้กับการปฏิบัติงานเฉพาะอย่างที่อยู่ภายในสภาพแวดล้อมทางการผลิตนั้น สิ่งนี้ช่วยเสริมการใช้ระบบอัตโนมัติในโรงงานขึ้นไปอีกขั้นด้วยการเชื่อมต่อที่มีความหน่วงต่ำมากและมีความน่าเชื่อถือในระดับสูงมากที่จะทำให้การดำเนินการเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0 มีความราบรื่น อาทิ ฝาแฝดดิจิทัล (Digital twins) หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMRs) เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (AR) เทคโนโลยีการจำลองภาพให้เสมือนจริง (VR) เช่นเดียวกับ Edge computing
เพิ่มพูนเชาวน์ปัญญาผ่านฝาแฝดดิจิทัล
ฝาแฝดดิจิทัล คือ แบบจำลองเสมือนของวัตถุทางกายภาพที่ใช้ตัวเซ็นเซอร์และการวิเคราะห์แบบ IoT สำหรับประเทศไทยค่านิยมการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีถูกยกขึ้นมาอยู่ในความสนใจเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างเช่น ฝาแฝดดิจิทัลที่ถูกใช้เพื่อช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชนไทยที่ติดอยู่ในถ้ำ ด้วยการทำแผนที่เพื่อจำลองพื้นที่ภายในถ้ำเพื่อใช้ในปฏิบัติการกู้ชีพดังกล่าว
สำหรับกรณีของโรงงาน ฝาแฝดดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานสามารถวางแผนได้รอบด้านยิ่งขึ้นจากข้อมูลที่รวบรวมมาได้เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาโมเดลเสมือนจริงทั้งของเครื่องจักรและสายการผลิต นอกจากนี้ฝาแฝดดิจิทัลยังช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จะส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์อย่างไร รวมถึงการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตรงกับความต้องการในการผลิตได้ดียิ่งขึ้น
ในภาพรวม ฝาแฝดดิจิทัลช่วยในการเฝ้าติดตามประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อคงคุณภาพในการผลิต ขณะเดียวกันยังช่วยในด้านการคาดการณ์ด้านการบำรุงรักษา (predictive maintenance) เพื่อให้ช่วงเวลาที่เครื่องไม่ทำงานคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถเสริมให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วยเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวที่จะช่วยเพิ่มความไว้วางใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของอุปกรณ์และสายการผลิตได้
ในช่วงที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ฝาแฝดดิจิทัลได้นำใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการผลิตวัคซีน ซึ่งเช่นเดียวกับกรณีของการผลิตอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เพื่อใช้รับมือกับการระบาดของโรคนี้ด้วย สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยีฝาแฝดดิจิทัลยังแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์มากมายต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเฟื่องฟู เนื่องจากผู้ผลิตยานยนต์สามารถเร่งการผลิตรถยนต์และช่วยให้สายงานการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
สร้าง AMRs ให้ฉลาดขึ้นและปรับใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMRs) สามารถทำให้สภาพแวดล้อมทางการผลิตมีความซับซ้อนมากขึ้น ยืดหยุ่นได้ดีขึ้น และมีความคุ้มทุนขึ้น เปรียบเทียบกับยานยนต์ลำเลียงสินค้าอัตโนมัติแบบดั้งเดิม (automated guided vehicles: AGVs) AMR เหนือกว่าในการช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถกำหนดเส้นทางได้ทั่วทั้งพื้นที่โรงงาน
อนึ่ง เครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวที่มีความยืดหยุ่นและมีความถี่ต่ำช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้กับ AMR ยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยการทำให้ AMR ชาญฉลาดและช่วยให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น เนื่องจากการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถเสริมให้ AMR ฉลาดขึ้นด้วยการเข้าใจถึงบริบทและการกำหนดเส้นทางแบบเปิดเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางและการชน ด้วยเครือข่ายดังกล่าวยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลและระบบได้ทั่วทั้งโรงงานเพื่อให้การทำงานของ AMR มีความทันสมัยรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสายการผลิต นอกจากนี้ ยังเสริมการทำงานของข้อมูลแบบเรียลไทม์จากกล้องออนบอร์ดและตัวเซ็นเซอร์เพื่อช่วยให้การประสานงานระหว่างคนกับเครื่องจักรอัตโนมัติทำได้ดีขึ้นอีกด้วย
ในประเทศไทย ประโยชน์ของ AMR อัจฉริยะเกิดขึ้นภายในส่วนการผลิตหุ่นยนต์นั่นเอง สิ่งนี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยภาคส่วนการผลิตหลักอื่น ๆ ในประเทศ อาทิ ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ภาคส่วนในประเทศที่มีการใช้งาน AMR อยู่แล้วในขั้นตอนที่เป็นอัตโนมัติต่าง ๆ อย่างการประกอบชิ้นส่วนอย่างแม่นยำ เช่นเดียวกับการนำไปใช้ในส่วนงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ที่ไม่เพียงจะช่วยลดอัตราความผิดพลาดและการสูญเสียวัตถุดิบทางการผลิต แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบชิ้นส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน
เสริมประสิทธิภาพเทคโนโลยีเสมือนจริงแบบใหม่และความยืดหยุ่นในเชิงปฏิบัติการที่ดียิ่งขึ้นผ่าน Edge Computing
Edge computing ช่วยเสริมความสามารถในการประมวลผลของคลาวด์ และสภาพแวดล้อมของบริการด้านไอที ณ แหล่งข้อมูลที่ใกล้ที่สุดของเครือข่าย ถือเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลังสำหรับนวัตกรรม เนื่องจากสภาพแวดล้อมแบบขอบจะถูกกำหนดคุณลักษณะโดย ความใกล้เคียง (proximity) ความหน่วงระดับต่ำมาก และแบนด์วิดท์ระดับสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเสริมการทำงานให้ดียิ่งขึ้นด้วยการเชื่อมต่อไร้สายประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยี Edge computing ยังช่วยสนับสนุนไอโอทีแอปพลิเคชั่นสำหรับคอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่ใช้ระบบ Virtual reality (VR) และ/หรือ Augmented reality (AR) ซึ่งเป็นเพราะว่าข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้สามารถป้อนข้อมูลให้กับแรงงานที่กำลังใช้เครื่องมือที่เชื่อมต่อได้โดยตรง (เช่น หูฟัง และแท็บเล็ตเคลื่อนที่) ผ่าน VR หรือ AR เพื่อเปลี่ยนการติดตั้งอุปกรณ์และปรับอุปกรณ์ใหม่ได้อย่างรวดเร็วตามที่ต้องการสำหรับคำสั่งงานใหม่
ในส่วนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ อย่าง ภาคการผลิตยานยนต์ ระบบ VR และ AR สามารถนำไปปรับใช้ในงานออกแบบ การสร้างรถยนต์ต้นแบบ และการผลิต ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษ VR และ AR เป็นตัวช่วยในการสร้างเวอร์ชั่นเสมือนจริงของแบตเตอรี่ไฟฟ้าแบบเฉพาะ ที่ช่วยกำหนดสภาพที่แท้จริงของแบตเตอรี่และมันจะช่วยเสริมการทำงานให้กับรถยนต์ได้อย่างไร นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังช่วยวิศวกรให้สามารถฝึกปรือในการตรวจจับความผิดพลาดได้มากขึ้น รวมถึงปรับพัฒนายานยนต์ดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของประเทศในการส่งเสริมรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่ความมีประสิทธิภาพและอัตราความผิดพลาดที่ลดน้อยลงด้วย
เทคโนโลยี Edge computing ยังช่วยให้สายการผลิตสามารถสร้างผลผลิตได้มากขึ้นและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ด้วยการผสมผสานข้อมูลแบบเรียลไทม์และโปรไฟล์ตามประวัติการทำงานเพื่อปรับระบบต่าง ๆ ได้อัตโนมัติเพื่อสมรรถนะสูงสุด ขณะเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักรสามารถคาดคะเนในเรื่องการซ่อมบำรุงและป้องกันความผิดพลาด สิ่งนี้จะเปลี่ยนให้การปฏิบัติงานด้วยตนเองกลายเป็นรูปแบบอัตโนมัติ เช่น การใช้หุ่นยนต์ไร้สายและตั้งเป้าประสงค์ในการปฏิบัติงานให้พวกมันใหม่ตามต้องการ นับว่ามีประโยชน์ในการช่วยให้สายการผลิตมีความยืดหยุ่นได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นจะช่วยสร้างความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้การดำเนินงานหยุดชะงักอย่างการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่เช่นโควิด-19
เมื่อ 5G เปิดตัวในประเทศไทย การยอมรับเทคโนโลยี Edge computing ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีการผลักดันในลำดับถัดไปร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ อย่างระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง และ AI ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการการเชื่อมต่อที่ไร้รอยต่อและมีความเร็วสูง ที่มีเพียง Edge computing เท่านั้นที่สามารถทำได้ ซึ่งการเปิดรับ use case ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ ไม่ได้เจาะจงแต่เพียงในด้านการผลิตแต่รวมถึงอุตสาหกรรมส่วนอื่นอีกด้วย
มอบอนาคตที่สดใสให้กับผู้ประกอบการโรงงานในประเทศไทย
ขณะที่ในช่วงหลายปีมานี้มีการเรียกร้องให้โรงงานทั้งหลายปรับตัวเพื่อเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล ความเร่งด่วนที่ว่านี้ได้รับการยกระดับขึ้นอีกขั้นเพื่อให้การดำเนินกิจการสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีความท้าทายได้มากขึ้น ซึ่งการปรับใช้เหล่านี้จะก่อให้เกิดวิธีการที่รวดเร็วขึ้นเพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันในอนาคต ทั้งในระดับประเทศและนานาประเทศ
กระนั้น การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมโรงงานทั้งระบบให้เป็นดิจิทัลนั้น ทั้งส่วนแอปพลิเคชันและกระบวนการทั้งหมดจะต้องได้รับการวางรากฐานด้วยการเชื่อมต่อไร้สายที่ครอบคลุมในทุกหนแห่งและยังต้องน่าเชื่อถือ นั่นคือรัฐบาล ผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CPS) ของประเทศไทยจะต้องมีบทบาทร่วมกันในการเร่งให้เกิดการสร้างโรงงานแห่งอนาคตในประเทศต่อไป