Sea

Sea เผยทิศทางการดำเนินธุรกิจ และมุมมองการเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Nation

Sea (ประเทศไทย) ชูวิสัยทัศน์ดิจิทัลแห่งอนาคต เผยทิศทางการดำเนินธุรกิจ และมุมมองการเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Nation ที่สร้างคุณค่าให้สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล

Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) จัดงาน Sea Story 2021: Digital Visionary เผยการเติบโตและทิศทางดำเนินธุรกิจ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ที่มุ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Digital Nation เพื่อสร้างคุณค่าและโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคม อีกทั้งยังชวนทุกคนมองภาพอนาคตยุคดิจิทัลหลังโควิด-19 ไปกับการเสวนาในหัวข้อ “Accelerated Transitions to the Digital Nation” ซึ่งได้ผู้เชี่ยวชาญด้านอนาคตศาสตร์มาร่วมมองอนาคตและพูดคุยถึงแรงขับเคลื่อนที่จะนำเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่ยุคหลังโควิด-19 ที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะยิ่งทวีความสำคัญ

การเติบโตและทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เติมเต็มชีวิตยุคดิจิทัลของผู้บริโภคและ SMEs 

บนการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างคุณค่าให้สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล ธุรกิจหลักของ Sea มีการเติบโตต่อเนื่องควบคู่ไปกับการพัฒนาของสังคมและเศรษฐกิจไทยในยุคดิจิทัล โดยในไตรมาส 2 ของปี 2564 การีนา (ธุรกิจดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์) เข้าถึงผู้เล่นกว่า 725 ล้านคน (Quarterly Active Users) ในกว่า 130 ตลาดทั่วโลก ส่วนเกม Garena Free Fire ที่การีนาเป็นผู้พัฒนาเองก็เติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยยอดดาวน์โหลดมากกว่า 1 พันล้านครั้งบน Google Play ทั้งยังได้รับการจัดอันดับจาก App Annie ให้เป็นเกมออนไลน์บนมือถือที่มียอดดาวน์โหลดสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 – 2563

ช้อปปี้ (ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ) มีการเติบโตทั้งในแง่คำสั่งซื้อและความเข้มแข็งของฐานผู้ใช้งาน โดยมีกว่า 1,400 ล้าน Gross Order ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เติบโตราว 127% จากช่วงเดียวกันของปี 2563 ก้าวสู่การเป็นอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันทั้งในแง่ผู้ใช้งานจริงในแต่ละเดือน (Monthly Active User) และระยะเวลาการใช้งาน (Time Spent) บนแอปพลิเคชัน โดยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยราว 95% ของ เป็นผู้ใช้งานช้อปปี้ ด้านซีมันนี่ (ธุรกิจการเงินดิจิทัล) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มอีโคซิสเต็มทางธุรกิจของ Sea มีมูลค่าธุรกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ราว 156% และมี Quarterly Paying Users ราว 32.7 ล้านคน

นอกจากนี้ นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) ยังเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยขยายตัวต่อเนื่องและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วน Internet Penetration ในประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ 96.5% ในปัจจุบันและยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้บริการดิจิทัลยิ่งเป็นที่ต้องการในสังคมไทยมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นจนเกิดความคุ้นเคยมากพอสมควร และมีแนวโน้มที่จะใช้เครื่องมือดิจิทัลเหล่านี้ต่อไปในอนาคตและSea (ประเทศไทย) พร้อมจะตอบโจทย์ Unmet Needs และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานและพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศไทย พร้อมส่งเสริมให้อีโคซิสเต็มในอุตสาหกรรมที่เราดำเนินธุรกิจอยู่มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น”

การีนาจะมีการนำเกมออนไลน์แนวใหม่ๆ มาเปิดประสบการณ์ผู้เล่นในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในเบื้องต้นจะนำเกมระดับทริปเปิ้ลเอ (AAA) อย่างเกม Undawn เข้ามาให้บริการแก่แฟนเกมชาวไทยอย่างแน่นอน ด้านช้อปปี้ เราจะมุ่งใช้ Data สร้างประสบการณ์การใช้งานบนแพลตฟอร์มที่มี ‘Personalization’ ‘Engagement’ และ ‘Social Interaction’ เพื่อขานรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็น ‘Exploring Shoppers’ ให้สามารถเข้าถึงสินค้าที่ตรงใจและตัวเลือกที่หลากหลายได้ พร้อมช่วยเชื่อมโยงแบรนด์และร้านค้าต่างๆ เข้ากับผู้บริโภค เติมเต็ม CustomerJourney นำไปสู่การสร้างยอดขายโดยใช้ฟีเจอร์ยอดนิยมอย่าง Shopee Prize, Shopee Live และ You Might Like 

นอกจากนี้ ยังมีการนำฟีเจอร์และโปรแกรมใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนให้เกิดบริการที่ครบถ้วนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Shopee Premium หรือ Shopee Mall Brand Memberships ส่วนซีมันนี่ เป็น Financial Arm ที่ช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจของการีนาและช้อปปี้ นอกจากนี้ จะมุ่งขยายฐานผู้ใช้งานเพื่อนำเสนอบริการทางการเงินที่มีความครอบคลุมกับกลุ่มู้ใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเต็มที่ ได้เข้าถึงบริการทางการเงินทางเลือกที่มีความหลากหลายได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงการเข้าไปร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งในธุรกิจต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งานดิจิทัลเพย์เมนต์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ประจำวันในยุคดิจิทัล” คุณมณีรัตน์ กล่าวเสริม

การเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นวาระเร่งด่วน

ในช่วงการเสวนา “Accelerated Transitions to the Digital Nation” ยังได้รับเกียรติจาก ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร FutureTales Lab by MQDC และนางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) มาร่วมพูดคุยถึงการเปลี่ยนผ่านไปยังยุคของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งถูกเร่งให้เร็วและมีความรุนแรงด้วยโรคระบาดครั้งใหญ่

เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อโลกในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และทุกภาคส่วนต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความครอบคลุม สะดวก และสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับเศรษฐกิจและสังคมในองค์รวม โดยรายงาน IMD World Digital Competitiveness Ranking 2021 พบว่า ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับที่ 38 จาก 64 ประเทศทั่วโลก

โดยมีปัจจัยด้าน Technology (อันดับที่ 22) เป็นจุดแข็ง และมีปัจจัยด้าน Knowledge (อันดับที่ 42) และด้าน Future Readiness (อันดับที่ 44) เป็นจุดที่ต้องเร่งพัฒนา ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) จึงให้ความสำคัญกับการเสริมทักษะสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยหลากหลายกลุ่มในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล นำไปสู่การริเริ่มโครงการมากมายที่มุ่งสร้างแรงงานดิจิทัลที่พร้อมด้วยทักษะในการประกอบอาชีพ

และส่งเสริมให้ทุกคนสามารถใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอย่างมีคุณภาพ การเสริมสร้างทักษะเหล่านี้ไม่เพียงแต่จำเป็นต่อบุคคลทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตลาดแรงงานและอุตสาหกรรมโดยรวมที่มีแนวโน้มจะขาดแคลนในอนาคตจากการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น การพัฒนาแรงงานดิจิทัลจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยเตรียมพร้อมให้ประเทศเดินหน้าไปสู่อนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Sea Digital Nation

เป็นเวลา 2 ปีกว่า นับตั้งแต่ Sea (Group) ประกาศยุทธศาสตร์ 10 in 10 ตั้งเป้าสร้าง ‘Digital Talent’ 10 ล้านคน ใน 10 ปี ในปัจจุบัน Sea (ประเทศไทย) สามารถเข้าไปเสริมสร้างทักษะดิจิทัลด้านต่างๆ ให้แก่คนไทยได้ราว 3.8 ล้านคน โดยในปีนี้ Sea (ประเทศไทย) จัดโครงการต่างๆ โดยมุ่งเน้นที่ Mega Trends คือ “E-commerce for All” หรือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากอีคอมเมิร์ซเป็นเครื่องมือที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาด้านรายได้และความมั่นคงทางรายได้

ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน ได้อย่างตรงจุดที่สุด ประกอบกับเทรนด์ในปัจจุบัน การใช้จ่ายเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์จำนวนมาก ผู้ประกอบการก็ต้องปรับตัวให้ทัน ในขณะที่คนกลุ่มอื่นๆ ที่เดิมไม่ใช่ผู้ประกอบการ แต่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ก็ใช้การค้าขายบนโลกออนไลน์เป็นช่องทางในการหารายได้เพิ่มเติม สะท้อนให้เห็นได้จากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่เป็นนักเรียนนักศึกษา แม่บ้าน และพนักงานบริษัทที่มีงานประจำอยู่แล้ว

จะเห็นได้ว่าผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของอีคอมเมิร์ซมาก แต่ยังพบกับความท้าทายในการปรับตัวโดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) จึงเข้ามาช่วยสร้างเสริมทักษะและวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลให้กับกลุ่มคนหลากหลายในสังคมผ่านโครงการต่างๆ ตลอดทั้งปี” คุณมณีรัตน์ กล่าว

กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ (Youth)

  • ความร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มุ่งกระจายองค์ความรู้ ด้านการทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานในอนาคต หรือสามารถต่อยอดศักยภาพสู่การเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลได้เช่นกัน
  • E-Commerce 101 ช้อปปี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดคอร์สมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับนิสิต-นักศึกษาที่จะเป็นรากฐานที่สำคัญในการช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคตและคว้าโอกาสในโลกยุคดิจิทัล
  • โครงการ DOTs (Digital Opportunities for Talentsโครงการประกวดแผนธุรกิจที่นำนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ มาพัฒนาทักษะด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก Sea และช้อปปี้คอยให้คำแนะนำ เพื่อลงมือทำแผนธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาธุรกิจจริงให้กับ SMEs โดยทั้งผู้ร่วมโครงการและ SMEs ก็จะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน และ SMEs จะได้แนวทางไปพัฒนาตนเองต่อได้ในระยะยาวด้วย

โครงการสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการและเกษตรกร

  • Shopee Bootcamp Trainers ช้อปปี้ร่วมกับหน่วยงานราชการต่างๆ ถ่ายทอดความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซให้ตัวแทนจากหน่วยงาน พัฒนาสู่ Trainers ที่จะช่วยส่งต่อความรู้และทักษะให้กับ SMEs เกษตรกร และชุมชนต่างๆ ในวงกว้าง ตัวอย่างเช่น การอบรมเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ที่ประจำศูนย์ดิจิทัลประเทศไทย เพื่อส่งต่อความรู้ให้กับชุมชนต่อไป 

โครงการสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ (Active Seniors)

  • ความร่วมมือกับ Young Happy มุ่งสนับสนุนให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีความสุข รู้สึกมีคุณค่า และพึ่งพาตัวเองได้ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง โดยในปีนี้ได้ยกระดับทักษะจากผู้ซื้อสินค้าออนไลน์เป็นผู้ประกอบการออนไลน์ ด้วยการจัดเวิร์คช้อป “ขายได้ขายดีกับช้อปปี้” เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้สร้างธุรกิจจริงบนช้อปปี้ และในปีหน้าจะมีการเปิดตัว E-module ซึ่งเป็นคอร์สออนไลน์ที่ขยายผลไปสู่ Active Senior กว่า 30,000 คนบนแพลตฟอร์ม YoungHappy
Sea Digital Nation

ในโอกาสนี้ ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร FutureTales Lab by MQDC ยังร่วมมองการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตยุคดิจิทัลในมุมอนาคตศาสตร์ ว่า “การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม อีกทั้งตัวเร่งจาก COVID-19 ส่งผลให้มนุษย์ต้องเร่งปรับตัวทั้งด้านการเรียนรู้ การทํางาน และการใช้ชีวิต ซึ่งกลุ่มคนวัยทำงานรวมไปถึงกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานต้องปรับตัวให้เร็วขึ้นโดยเฉพาะการเสริมทักษะด้านดิจิทัลและในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญในอันดับต้น เพราะเราเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

อาทิ การทำงานแบบ Hybrid ที่เน้นผลิตภาพและความยืดหยุ่น การทำงานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีขั้นสูงให้ผลลัพธ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนไปถึง  การเรียนรู้และการทำงานในโลกเสมือนจริง (Metaverse) จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอนาคตการทำงานในสาขาต่างๆ และวิชาชีพที่เน้นด้านความรู้แนวใหม่อย่างมาก นอกจากนี้ รัฐและเอกชนควรหันมาร่วมมือกันผลักดันการเพิ่มทักษะนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพื่อให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เตรียมพร้อมและพัฒนาความรู้ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต”

การเดินหน้าสู่ Digital Nation จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย ภาคเอกชน หรือแม้แต่ผู้ประกอบการและผู้คนทั่วไป เพื่อร่วมกันสร้างการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการปรับตัวและการเรียนรู้ทักษะดิจิทัล รวมทั้งร่วมกันสร้างโครงการเพื่อนำเสนอความรู้ด้านดิจิทัลและปรับระบบการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานให้มีความเหมาะสมและยืดยุ่น สร้างความรู้และทักษะต่างๆ ที่ทันโลก

นำไปสู่ขับเคลื่อนดุมล้อแห่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เริ่มต้นหมุนได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้าง Digital Nation ในอุดมคติ ที่มี Digital Inclusion สูง สามารถกระจายโอกาสจากการเติบโตของสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลให้คนทุกกลุ่มเก็บเกี่ยวประโยชน์ได้อย่างทั่วถึงนั่นเอง