AWS

โอกาสสําหรับการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยที่ขับเคลื่อนด้วย ระบบคลาวด์

โอกาสสําหรับการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยที่ขับเคลื่อนด้วย ระบบคลาวด์ โดย ควินท์ ไซมอน หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะเอเซียแปซิฟิกและญี่ปุ่น บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จำกัด

ปัจจุบันรัฐบาลของแต่ละประเทศทั่วเอเชียต้องเผชิญกับภารกิจที่ยากลําบากในการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการรับมือจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ผันเปลี่ยนสถานะจากการเป็นโรคระบาด (pandemic) เป็นโรคเฉพาะถิ่น (endemic) อย่างคาดเดาไม่ได้ จากการศึกษาของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ประเมินว่าประเทศกำลังพัฒนามีอัตราสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของภูมิภาคที่ระดับร้อยละ 6.0-9.5 ในปีพ.ศ. 2563 และร้อยละ 3.6-6.3 ในปีพ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของอุปสงค์และการท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมถึงการขยายตัวลุกลามไปทั่วโลกในระยะแรกของโรคระบาด ระบบคลาวด์ได้เป็นกลไกสำคัญที่ผลักดันให้รูปแบบการทํางานนอกสถานที่และการเรียนทางไกลเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และขณะนี้เทคโนโลยีดิจิทัลและ ระบบคลาวด์ นี้เองที่เป็นรากฐานสำคัญของกระบวนการดิจิทัลที่สามารถเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้องค์กรต่าง ๆ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างรวดเร็ว  

ระบบคลาวด์ คอมพิ้วติ้งที่มีคิดค่าบริการแบบออนดีมานด์ตามการใช้งานจริง เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ขยายและลดขนาดธุรกรรม ตลอดจนตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สตาร์ทอัพ รวมถึงองค์กรภาครัฐที่เลือกใช้ระบบคลาวด์แล้วจึงมีความพร้อมที่จะฟื้นฟูธุรกิจท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบาก ในประเทศไทย คลาวด์คอมพิวติ้ง

นับว่าเป็นกุญแจสำคัญของการบรรลุยุทธศาสตร์ 4.0 ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศ นอกจากนั้นความต้องการใช้คลาวด์ในประเทศไทยยังได้รับการกระตุ้นจากการใช้อินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ที่ขยายตัวขึ้นมาก รวมทั้งการที่บริษัทต่าง ๆ ปรับตัวสู่รูปแบบใหม่ของการทำงานออนไลน์ (virtual work)

 ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ระบบคลาวด์

รัฐบาลและการออกนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ จะยังคงมีบทบาทที่โดดเด่นในการผลักดันการนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ นโยบาย Cloud First ต่าง ๆ จะช่วยนำทางให้ภาคเอกชนและภาครัฐใช้งานระบบคลาวด์เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างรวดเร็ว โดยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในโลก ความมุ่งมั่นของประเทศไทยต่อนโยบายดิจิทัลของรัฐบาลจะเป็นตัวเร่งให้เกิดกระบวนการดิจิทัลของภาคเอกชนและภาครัฐ

ซึ่งช่วยกระตุ้นความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ดังจะเห็นได้ว่านโยบาย Cloud First ที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ที่ส่งเสริมการนําระบบคลาวด์มาใช้ สามารถกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจ

ตอบสนองสถานการณ์ ฟื้นฟู และสร้างขึ้นใหม่ ด้วยระบบคลาวด์สำหรับประชาชน

เทคโนโลยีคลาวด์ทำให้หลายสิ่งเป็นไปได้ นับตั้งแต่การเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท Moderna การสร้างความต่อเนื่องของการศึกษาผ่านโซลูชันบนระบบคลาวด์ และช่วยขยายบริการการแพทย์ทางไกล ระบบคลาวด์ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อการทำงานขององค์กรภาครัฐ ตั้งแต่การลดต้นทุนด้านการบำรุงรักษา ยกระดับเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเพิ่มความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและธุรกิจ

ไปจนถึงการเพิ่มความสามารถในการปรับตัว ความต่อเนื่องของบริการ และความสามารถในการฟื้นตัวในช่วงวิกฤติ นโยบาย Cloud First ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสาธารณะนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

ตัวอย่างเช่น บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส ภายใต้กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Group) ที่ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน Robinhood บนระบบคลาวด์ของ AWS เพื่อช่วยให้ร้านอาหารอิสระและร้านอาหารข้างทางในกรุงเทพฯ รอดพ้นจากผลกระทบที่รุนแรงของโควิด-19 โดยนับตั้งแต่เปิดตัวในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา Robinhood มีร้านอาหารเล็ก ๆ ใช้บริการมากกว่า 174,000 แห่ง มีไรเดอร์ถึง 26,000 คน จึงนับเป็นช่องทางที่ช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็กได้อย่างชัดเจน

กรณีศึกษาที่ยอดเยี่ยมอีกกรณีหนึ่ง คือความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ของ Doctor Raksa ซึ่งเป็นผู้ให้บริการการแพทย์ทางไกล จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้บริการการแพทย์ทางไกลได้รับความต้องการเพิ่มขึ้นมาก โดยมีประมาณการณ์ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5-10 ล้านคน ภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า การใช้ระบบคลาวด์ทำให้ Doctor Raksa สามารถตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการในช่วงโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือสามารถรองรับผู้ป่วยระหว่างดำเนินการรักษา (active patient) ได้ถึง 400,000 ราย ทั้งนี้ บริษัทกำลังมองหาวิธีใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยเบื้องต้นอีกด้วย

ทั้งนี้ นโยบาย Cloud First ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ย่อมต้องเป็นนโยบายที่สามารถแจกแจงบทบาทและความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐและผู้ให้บริการระบบคลาวด์ได้อย่างชัดเจน เลือกใช้วิธีประเมินความเสี่ยงมาใช้ในการจัดประเภทข้อมูล ดำเนินการตามมาตรฐานสากลในการปฏิบัติตามและรับรองระบบ รวมทั้งรองรับกลไกการจัดซื้อที่คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน (Pay-as-you-go) การใช้ประโยชน์จากระบบคลาวน์จะทำให้องค์กรภาครัฐสามารถมุ่งเน้นที่ภารกิจหลักของตนเองได้ ซึ่งนั่นก็คือการให้บริการประชาชนนั่นเอง

ทุ่มเทมหาศาลในธุรกิจ Startup

ในขณะที่ภูมิภาคนี้ยังคงเดินหน้าสร้างและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลควรลงทุนและสนับสนุนแนวคิดที่มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ธุรกิจสตาร์ทอัพ รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง จึงถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของการใช้นวัตกรรมและเป็นกลไกสำคัญในการเติบโตของประเทศไทยอีกด้วย และนั่นคือเหตุผลที่เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตผ่านโปรแกรมต่าง ๆ อาทิ AWS EdStart ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับการเรียนออนไลน์ วิเคราะห์และการจัดการวิทยาเขตบน AWS Cloud สำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป

ยกตัวอย่างธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษา เช่น บริษัท Vonder ในประเทศไทย ที่สร้างเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมมากขึ้นแต่ต้องใช้งานได้ง่าย แม้กระทั่งกับผู้เรียนที่ไม่พยายามมีส่วนร่วมในห้องเรียนเอาเสียเลย ปรากฎว่าเกมการเรียนรู้ที่เป็นการแยกย่อยเนื้อหา (micro learning) ของ Vonder ได้รับความนิยมในทันที จนสามารถขยายฐานผู้ใช้งานมากถึง 50,000 คน ภายในเวลา 3 เดือน และเรียนวิชาต่าง ๆ ครบจบไปแล้วถึง 500,000 บทเรียน

โดยวิชาพื้นฐานเหล่านี้ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาอีกรายคือ OpenDurian ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในการจัดทำเนื้อหาสำหรับเตรียมสอบออนไลน์และเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักเรียนและผู้เรียนต่อเนื่องทั่วประเทศ ได้สร้างแพลตฟอร์มของการเรียนและการเตรียมการทดสอบที่รองรับผู้ใช้ได้ถึงสี่ล้านคนทั่วไทย

ในส่วนของรัฐบาลเองก็สามารถเป็นผู้นำในการนำระบบคลาวด์มาใช้ และยังสามารถสนับสนุนระบบนิเวศทางธุรกิจของธุรกิจสตาร์ทอัพได้โดยการออกนโยบายต่าง ๆ รวมถึงนโยบายเฉพาะภาคส่วน เพื่อช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ เช่น การอนุญาตให้มีการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดน  (cross border flow) สามารถช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางขยายขนาดธุรกรรมและต่อยอดธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมไปทั่วโลก

จากรายงานประจำปีพ.ศ. 2564 ของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม พบว่าการสนับสนุนให้เกิดการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดนสามารถเพิ่มพูนผลิตภาพ (productivity) การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการค้าได้ รวมถึงการพัฒนานโยบายที่อนุญาตให้ใช้บริการคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ และส่งเสริมการค้าดิจิทัลในภูมิภาค จึงจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างแท้จริง

การเปลี่ยนแปลงคู่ขนาน – การเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการลดคาร์บอน

นอกจากการที่เทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้ประเทศในเอเชียเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วแล้ว ในขณะเดียวกันยังได้เปิดช่องทางสำหรับการลดคาร์บอนได้อีกด้วย บริษัทต่าง ๆ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนจากการประกอบธุรกรรมได้แล้ววันนี้ โดยการย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ จากงานวิจัยของ 451 Research พบว่าบริษัทในเอเชียแปซิฟิกที่ย้ายข้อมูลสารสนเทศจากศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรไปยังโครงสร้างพื้นฐานบนระบบคลาวด์สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึงร้อยละ 78 และด้วยความสามารถเก็บข้อมูลของ AWS ช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งเรามีเครื่องมือและบริการที่จะช่วยลูกค้าในการออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมบนระบบคลาวด์อย่างยั่งยืน

การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จะเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จด้านความยั่งยืนที่มากขึ้นในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ปัจจุบัน Amazon เป็นผู้ซื้อพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดของโลกและมีแผนเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเต็ม 100% สำหรับการประกอบธุรกิจของบริษัทเครือข่ายทั่วโลกภายในปีพ.ศ. 2568 

เรายังคงร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมให้มีการจัดซื้อพลังงานหมุนเวียนสำหรับองค์กรในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งแม้ว่าการดำเนินงานจะมีความก้าวหน้าไปบ้างแล้วแต่ยังคงมีภารกิจอีกมากที่ต้องดำเนินการต่อ ทั้งนี้ การสนับสนุนให้รัฐบาลพัฒนานโยบายที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงคู่ขนานทั้งในด้านการเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการลดคาร์บอน จึงนับเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของภูมิภาคนี้

ร่วมมือเพื่อก้าวที่ไกลขึ้นและเร็วกว่าเดิม

มาสัมผัสประสบการณ์นวัตกรรมล่าสุดของระบบคลาวด์ได้ในงาน AWS re:Invent ประจำปีในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ ๆ บริการที่ล้ำสมัย และแนวคิดของลูกค้าที่มองภาพในอนาคต (think big) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ด้วยนโยบาย Cloud First ที่ดีขึ้น ระเบียบข้อบังคับที่สนับสนุนการนำระบบคลาวด์มาใช้อย่างเต็มที่ การใช้บริการที่ล้ำสมัยอย่างเต็มรูปแบบจากเทคโนโลยีคลาวด์นี้เองจะทำให้ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

สามารถใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างอนาคตที่การปรับตัว การขยาย ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความเร็วถือเป็นพันธกิจหลักของการออกแบบบริการต่าง ๆ เพื่อประชาชน และทำให้เราสามารถก้าวไปได้ไกลขึ้นและเร็วกว่าเดิมด้วยการร่วมมือกัน สู่เป้าหมายในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภูมิภาคที่ขับเคลื่อนด้วยระบบคลาวด์