นายกรัฐมนตรี ร่วมประชุมกับ ประธานคณะกรรมการบริหาร หัวเว่ย เพื่อผลักดันความร่วมมือในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการพัฒนาทักษะบุคลากรดิจิทัล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ ออนไลน์กับนายเหริน เจิ้งเฟย ประธานคณะกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด พร้อมแสดงความชื่นชมหัวเว่ยสำหรับการสนับสนุนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และช่วยฟื้นฟูประเทศหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 อีกทั้งยังกล่าวถึงการขยายความร่วมมือกับหัวเว่ยในอนาคตข้างหน้า ให้รอบด้านมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รวมไปถึงการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัล
โดยในการประชุมผ่านระบบออนไลน์ครั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายเหริน เจิ้งเฟย ได้แลกเปลี่ยนมุมมอง เกี่ยวกับการผนวกศักยภาพในการแข่งขันด้านดิจิทัลและการวางรากฐานทักษะด้านเทคโนโลยีไอซีทีของบุคลากรในประเทศไทย
พลเอก ประยุทธ์ ยังได้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีไอซีทีขั้นสูงรวมถึงนวัตกรรมดิจิทัลในการผลักดัน ความแข็งแกร่งและความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยพลเอก ประยุทธ์กล่าวว่า “หัวเว่ยได้ให้การสนับสนุน ประเทศไทยอย่างเต็มที่ในการต่อสู้กับโรคระบาดและการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ผมประทับใจในเรื่องราวความเป็นมา และวัฒนธรรมอันทุ่มเทของหัวเว่ยเป็นอย่างยิ่ง ในอนาคต ประเทศไทยยังคงสนใจและกระตือรือร้นที่จะร่วมมือ กับหัวเว่ยในหลากหลายด้าน รวมถึงเศรษฐกิจดิจิทัล โรงพยาบาล 5G อัจฉริยะ คลาวด์และคอมพิวติ้ง พลังงานดิจิทัล ระบบขนส่งอัจฉริยะและศูนย์ข้อมูล”
นายเหริน เจิ้งเฟย ประธานคณะกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ย ได้แสดงความขอบคุณต่อ รัฐบาลไทยในความเชื่อมั่นที่มีต่อหัวเว่ย และยินดีกับประเทศไทยในความสำเร็จของการใช้งานระบบ 5G โดยเขาได้เน้นย้ำว่า “หัวเว่ยและประเทศไทยได้ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างต่อเนื่อง ในอนาคต เรายังมองไปถึงการเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหลักต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการท่าเรือและการบิน”
นอกจากนี้ นายเหรินยังได้กล่าวว่า “เรามีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ ยุคดิจิทัลและพัฒนาทักษะบุคลากรดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ หัวเว่ย ประเทศไทยพร้อมทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรในไทยอย่างใกล้ชิด นำเสนอโซลูชันทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ”
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนประเทศไทยตามแผนพัฒนาดิจิทัลในการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หัวเว่ยและประเทศไทยได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดในสองด้าน ดังนี้
ด้านแรกคือการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับลูกค้าโดยประยุกต์ ใช้เทคโนโลยี 5G Cloud และ AI เพื่อเร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย และนวัตกรรมโครงสร้าง ด้านไอซีทีให้เป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หัวเว่ยได้ร่วมมือกับพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมผลักดันทุกภาคส่วนที่เป็นกำลัง สำคัญในประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านคมนาคม ด้านหน่วยงานภาครัฐ และด้านสมาร์ทซิตี้ เพื่อรองรับการพัฒนาทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล ของประเทศไทยในระยะยาว
ทั้งนี้ ความร่วมมือในด้านท่าเรือและสนามบินอัจฉริยะถือเป็นความร่วมมืออันเปี่ยมด้วยศักยภาพที่สำคัญสำหรับหัวเว่ยและ ประเทศไทย โดยนายเหรินได้กล่าวถึงกรณีศึกษาที่ดีที่สุดของหัวเว่ยซึ่งใช้โซลูชันอัจฉริยะสำหรับท่าเรือและสนามบิน ในประเทศจีน รวมถึงความสามารถในการทำงานอัตโนมัติอันขึ้นอยู่กับปัจจัยโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นผู้คน ยานยนต์ สินค้า องค์กร และสถานที่ เพื่อช่วยสร้างสนามบินและท่าเรืออันชาญฉลาด มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยในระดับโลก
ในด้านที่สอง พลเอก ประยุทธ์และนายเหริน ยังได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการบ่มเพาะและยกระดับบุคลากรทางดิจิทัลที่มี ความสามารถในประเทศไทย เพื่อที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลและการพัฒนาในระยะยาว และยังได้ย้ำอีกว่าภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องร่วมมือกันสร้างอีโคซิสเต็มที่เปิดกว้างให้บุคลากรด้านไอซีทีเพื่อ ประโยชน์ของทุกภาคส่วน
เพื่อเป็นการสนับสนุนการบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีและดิจิทัลในประเทศไทย หัวเว่ยได้ก่อตั้ง Huawei ASEAN Academy (Thailand) ในปี พ.ศ. 2562 โดยได้ทำการอบรมบุคลากรด้านไอซีทีไปแล้วกว่า 41,000 คน รวมถึงองค์กรขนาดเล็ก และขนาดกลางอีกกว่า 1,300 องค์กรตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา หัวเว่ยยังได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ร่วมกันกับอีกกว่า 20 มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในขณะที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัล หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง โดยจะสร้างการเข้าถึงระบบดิจิทัลที่เท่าเทียม เพื่อสร้างงานและความรู้ด้านดิจิทัลให้กับกลุ่มเปราะบาง
นับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัทในปี พ.ศ. 2542 หัวเว่ยได้ดำเนินตามพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทยและสนับสนุนประเทศไทย” มาโดยตลอด ผ่านการผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและสร้างคุณค่าให้กับสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน หัวเว่ยประเทศไทยมีพนักงานกว่า 2,800 คน คิดเป็นพนักงานชาวไทยกว่า 86% และเป็นการช่วยสร้างโอกาสในหน้าที่ การงานทางอ้อมกว่า 8,500 ตำแหน่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 หัวเว่ย ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกในการรับรางวัล “พีเอ็ม ดิจิทัล อวอร์ด” ประเภท “Digital International Corporation of the Year” นับเป็นเครื่องยืนยันการสนับสนุน อันทรงคุณค่าและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ย รวมถึงความทุ่มเททำงาน เพื่อร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในประเทศไทย โดยหัวเว่ย เป็นบริษัทต่างชาติเพียงรายเดียวที่ได้รับรางวัลนี้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com