นักวิจัยพบแร้งคอนดอร์แคลิฟอร์เนียเพศเมีย 2 ตัวสามารถแพร่พันธุ์แบบไม่ต้องผสมพันธุ์ได้

นักพันธุศาสตร์ทำการสำรวจประชากรแร้งคอนดอร์แคลิฟอร์เนียที่ใกล้จะสูญพันธุ์เข้าไปทุกที และพบว่า มีแร้งคอนดอร์แคลิฟอร์เนียเพศเมียจำนวน 2 ตัวที่สามารถแพร่พันธุ์ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า parthenogenesis หรือ การกำเนิดแบบพรหมจรรย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในสัตว์เลื้อยคลานและปลา แต่ไม่เคยพบในนกหรือสัตว์ปีกเลย การค้นพบดังกล่าวทำให้ผลการวิจัยของพวกเขาได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Heredity ในหัวข้อ “Facultative Parthenogenesis in California Condors”

แร้งคอนดอร์เป็นนกที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ โดยมีปีกที่กว้างเกือบ 10 ฟุตและหนักประมาณ 20 ปอนด์ ส่วนใหญ่จะมีสีดำและมีหัวสีส้มเมื่อโตเต็มวัย มีขนสีดำแหลมๆ ประดับรอบคอ

ทีมงานพบว่าลูกนกแร้งเพศผู้ตัวหนึ่งในกลุ่มประชากรแร้ง และอีกตัวหนึ่งไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางพันธุกรรมกับแร้งเพศผู้ที่สันนิษฐานว่าเป็นพ่อของมัน จากนั้นนักวิจัยได้ทำการตรวจสอบนกแร้งคอนดอร์ตัวผู้อีก 487 ตัวเพื่อความเกี่ยวข้อง/ความเป็นพ่อแม่ แต่กลับไม่มีตัวใดถ่ายทอดพันธุกรรมให้กับลูกนกแร้งทั้ง 2 ตัวนี้

โดยธรรมชาติแล้ว แร้งคอนดอร์มีแนวโน้มที่จะมีคู่เพียงตัวเดียว แต่แร้งเพศผู้ที่อาศัยอยู่กับแร้งที่ฟักไข่นก 2 ตัวนั้น ไม่มี DNA ที่คล้ายคลึงกับลูกนกเลยสักตัว

California Condors parthenogenesis

ลูกนกแร้งทั้ง 2 ตัวเป็นโฮโมไซกัสสำหรับพันธุกรรมของแร้งเพศเมียที่ติดเครื่องหมายรหัสพันธุกรรมหมายเลข 21 โดยทีมวิจัยพบว่า ไม่มีนกแร้งตัวผู้ตัวอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นพ่อของลูกแร้งตัวใดตัวหนึ่งเลย โดยพิจาณาจากความแตกต่างใน DNA ของพวกมัน ดังนั้น ทีมงานวิจัยจึงพิจารณาว่าเจ้าแร้งหนุ่มที่เกิดใหม่เป็นผลผลิตของแร้งเพศเมียเท่านั้น

พูดได้เลยว่าการกำเนิดแบบพรหมจรรย์นั้นเกิดขึ้นยากมากในนก ก่อนหน้านี้ มีการบันทึกรณีของนกฟินช์ นกพิราบ ไก่งวง และไก่ แต่ยังไม่เคยเกิดขึ้นกับนกแร้งมาก่อน ดังนั้นการค้นพบดังกล่าวจึงสำคัญมาก เมื่อพิจารณาจากสถานะของแร้งคอนดอร์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1982 มีแร้งคอนดอร์เหลือเพียง 22 ตัวที่ยังมีชีวิต ทำให้เกิดการตัดตั้งโครงการเพาะพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นและไม่ให้มันสูญพันธุ์ไป ถึงแม้จะเพิ่มจำนวนแร้งได้มากกว่า 500 ตัวแล้ว แต่พวกมันก็ยังคงใกล้จะสูญพันธุ์อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม แม้การเกิดปรากฏการณ์ parthenogenesis อาจไม่สามารถช่วยสปีชีส์ต่างๆ จากการสูญพันธุ์ได้ แต่มันเป็นปรากฏการณ์ที่หายากและเกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแร้งคอนดอร์ ซึ่งทีมวิจัยคงต้องค้นหาคำตอบและไขปริศนาดังกล่าวต่อไป

นักวิจัยได้อธิบายเอาไว้ในวารสาร Journal of Heredity ว่าแม่แร้งคอนดอร์มีโครโมโซมเพศผู้อยู่ในรังไข่ที่ผลิตเซลส์สืบพันธุ์ เมื่อยามที่นกแร้งขาดแคลนตัวผู้แบบไม่เห็นตัว/ไม่ได้ยินเสียงร้อง นกแร้งตัวเมียจะทำการผลิตไข่ที่มีเชื้อจากการผสมโครโมโซมเพศทั้ง 2 เข้าด้วยกันในไข่ เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรและเป็นการทดแทนการปฏิสนธิที่ขาดหายไป แน่นอนว่าในตอนนี้นั้น ทีมนักวิจัยก็ยังไม่ทราบเพศที่แน่ชัดของลูกนกแร้งว่าเป็นนกเพศอะไรกันแน่

ที่มา : Gizmodo
รูปภาพจาก freepik

นักเขียนหน้าใหม่ ผู้หลงไหลในเรื่อง แมว หมี เทคโนโลยี และ โลกของไอที :)