OPPO

OPPO ชูแผน Zero-Battery Future ขับเคลื่อนด้วยสัญญาณไร้สายในอนาคต

OPPO ชูแผน Zero-Battery Future เน้นการขับเคลื่อนด้วยสัญญาณไร้สายในอนาคต แสดงเอกสารรายงาน Zero-Power Communication

OPPO ชูแผน Zero-Battery Future ในอนาคตอันใกล้ อุปกรณ์ IoT จะสามารถเก็บเกี่ยวพลังงานได้โดยตรงจาก Bluetooth, WiFi และสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้มีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม เช่น มีขนาดที่เล็กลง ความทนทานที่ดีขึ้น และต้นทุนที่ต่ำลงอุปกรณ์แท็กอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำมาใช้เพื่อตามหาสิ่งของต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือชาร์จแบตเตอรี่ หรือในขณะเดียวกัน นกอพยพที่ใกล้สูญพันธุ์ทุกตัวจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามทางไกล ทำให้จำนวนการใช้แบตเตอรี่ลดลงอย่างมาก ภาพแห่งอนาคตเหล่านี้เป็นตัวอย่างเบื้องต้นจากเอกสารรายงาน “Zero-Power Communication” ของ OPPO

Research Institute ได้เผยแพร่เอกสารรายงานเรื่อง Zero-Power Communication ฉบับใหม่อย่างเป็นทางการ โดยเอกสารนี้จะวิเคราะห์ตำแหน่งทางเทคนิคของเทคโนโลยี Zero-Power Communication ในด้านความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองเกี่ยวกับ IoT และขั้นตอนการดำเนินการสำหรับเทคโนโลยีที่จะพัฒนาร่วมกับระบบการสื่อสารอื่นๆ ในอนาคต

สามารถติดแท็ก Zero-Power Communication กับสิ่งของที่สูญหายได้ง่าย ทำให้สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างง่ายดายในระยะไกลโดยไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงาน แม้ว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่จะก้าวไปไกลในหลายปีที่ผ่านมา แต่เทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบันยังคงมีปัญหาสำคัญในแง่ของขนาดโดยรวม ต้นทุนการผลิต อายุการใช้งาน ความสะดวกในการใช้งาน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยี Zero-Power Communication ได้ลดความจำเป็นในการใช้แบตเตอรี่โดยการเก็บเกี่ยวพลังงานจากคลื่นความถี่วิทยุรอบตัวเพื่อสร้างพลังงาน มอบอุปกรณ์ที่มีขนาดกะทัดรัด มีประสิทธิภาพ และต้นทุนต่ำ

โดยคุณสมบัติดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการใช้งานด้านต่างๆ ทั้งในเชิงพาณิชย์ เช่น การคลังสินค้า การขนส่ง รวมถึงการเกษตร และในอุปกรณ์สวมใส่  ระบบภายในบ้านแบบอัจฉริยะ และการใช้งานที่ทันสมัยอื่นๆ“นับจากยุคแรกมาจนถึงยุคที่ 4 ของเทคโนโลยีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ก้าวผ่านเทคโนโลยีมาแล้วถึง 4 ขั้น — จากอนาล็อกสู่ดิจิทัล สู่ดาต้า และสุดท้ายสู่บรอดแบนด์

การก้าวกระโดดแต่ละครั้งเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อมอบอัตราการส่งข้อมูลที่เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษหน้า เมื่อพิจารณาถึงเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ไกลออกไป เราไม่เชื่อว่าการรับส่งข้อมูลจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ในเทคโนโลยีโทรคมนาคมแต่เราเชื่อว่าเทคโนโลยีควรพัฒนาเพื่อมอบความสะดวกสบายและคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมโดยรวมมากยิ่งขึ้น

โดยเทคโนโลยี Zero-Power Communications ได้มอบวิธีการสำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเลิกใช้แบตเตอรี่ในผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการได้ ด้วยเหตุนี้ Zero-Power Communications จึงเป็นหนึ่งในประเด็นหลักเมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุค B5G/6G” Henry Tang Henry Tang, OPPO’s Chief 5G Scientist กล่าวในขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ passive communication มีอยู่แล้วในเทคโนโลยี radio frequency identification (RFID) 

ในปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันมักจะประสบปัญหา เช่น ระยะการสื่อสารสั้น ประสิทธิภาพต่ำ และความจุของระบบขนาดเล็ก สิ่งนี้เหล่านี้เป็นความท้าทายที่สำคัญเมื่อใช้เทคโนโลยี RFID กับการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงหรือซับซ้อน เช่น เครือข่ายเซ็นเซอร์อุตสาหกรรม การขนส่งและการคลังสินค้าที่ต้นทุนต่ำแต่กำลังการขนส่งสูง และบ้านอัจฉริยะราคาประหยัดและใช้พลังงานต่ำ รวมไปถึงเทคโนโลยีสวมใส่ขนาดเล็ก

อุปกรณ์ Zero-Power แตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมตรงที่สามารถรับสัญญาณวิทยุรอบตัว ที่ออกอากาศจากแหล่งต่างๆ เช่น หอกระจายภาพ หอวิทยุ FM สถานีฐานโทรศัพท์ และจุดเชื่อมต่อ WiFi (AP) ที่เป็นแหล่งพลังงาน โดยหลังจากรวบรวมพลังงานจากคลื่นวิทยุแล้ว อุปกรณ์จะสามารถปรับสัญญาณวิทยุแวดล้อมกับข้อมูลของตัวเอง และส่งสัญญาณเหล่านี้ออกไปภายนอกในกระบวนการที่เรียกว่าการสื่อสารแบบกระจายกลับการออกแบบเครือข่าย Zero-Power Communication 

จำเป็นต้องพิจารณาถึงการอยู่ร่วมกันของระบบ Zero-Power communication และระบบ 4G/5G ที่มีอยู่ นอกเหนือไปจากเรื่องช่วงความถี่แบบ unlicensed bands และแบบ licensed bandsระบบ Zero-Power Communication สามารถสร้างได้ในกรอบงานที่ใช้การสื่อสารแบบเซลลูลาร์ การสื่อสารแบบไซด์ลิงก์ หรือในแบบไฮบริด โดยระบบ Zero-Power Communication แบบเซลลูล่าร์จะสามารถรองรับแอปพลิเคชันเครือข่ายเซ็นเซอร์อุตสาหกรรมได้ดีที่สุด เช่น แอปพลิเคชันที่อาจต้องติดตั้งอุปกรณ์ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก

เช่น สถานที่ซึ่งมีจำนวนอุปกรณ์ในเครือข่ายมาก หรือที่มีต้นทุนค่าปรับใช้และบำรุงรักษาในการใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิมสูงในทางกลับกัน วิธีการแบบไซด์ลิงค์นั้นเหมาะกับการสื่อสารระยะสั้นที่มีต้นทุนต่ำ เช่น อุปกรณ์สวมใส่หรืออุปกรณ์สมาร์ทโฮม ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอีกด้วย และวิธีการแบบไฮบริดที่ใช้ทั้งวิธีการสื่อสารแบบเซลลูลาร์และไซด์ลิงก์จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถปลดล็อกแอปพลิเคชันได้มากขึ้นโดยการใช้ระบบ Zero-Power Communications

Zero-Power Communication ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวพลังงาน RF, การกระจายกลับ และเทคโนโลยีการประมวลผลที่ใช้พลังงานต่ำ

OPPO ประสบความสำเร็จในการสร้างระบบ Zero-Power Communication ของตัวเองและแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของแนวคิดนี้ว่าเป็นแนวทางที่สามารถใช้ได้กับเครือข่ายการสื่อสารในอนาคต นอกจากนวัตกรรมของตัวเองแล้ว OPPO ยังเป็นผู้นำในการส่งเสริมมาตรฐาน Zero-Power Communication 

อย่างการเสนอโครงการวิจัย Zero-Power Communication แก่ 3GPP และนำเสนอข้อค้นพบในระหว่างการประชุมอุตสาหกรรมอย่าง FuTURE และ ICCCโดยในงาน IMT-2030 6G Vision Workshop เมื่อเดือนกันยายน 2564 OPPO ได้ริเริ่มและจัดการประชุม Zero-Power Communication Forum 

โดยเชิญองค์กรด้านวิชาการและอุตสาหกรรมมาหารือเกี่ยวกับการใช้งาน ข้อกำหนดทางเทคนิค และเทคโนโลยีหลักใน Zero-Power Communication ในขณะที่อุตสาหกรรมก้าวไปสู่เทคโนโลยี 6G OPPO เชื่อว่า Zero-Power Communication จะทำงานร่วมกับเทคโนโลยีหลักอื่นๆ เช่น Reconfigurable Intelligent Surfaces, Symbiotic Radio, Non-Orthogonal Multiple Access (NOMA) และ AI เพื่อปลดปล่อยศักยภาพของ 6G อย่างเต็มที่

OPPO เผยเอกสารรายงานสองฉบับเพื่อดำเนินการวิจัยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ล้ำสมัยต่อไป 

ก่อนเอกสารรายงาน Zero-Power Communication ทาง OPPO ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับเครือข่าย 6G AI-Cube Intelligent Networking ที่ได้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารอันล้ำสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของแบรนด์ ‘Technology for mankind, kindness for the world’ โดย OPPO ตั้งเป้าที่จะปล่อยเทคโนโลยี Zero-Power Communication ในเชิงพาณิชย์ภายใน 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า ด้วยการสร้างระบบการสื่อสารที่ชาญฉลาดกว่าที่เคย สะดวกยิ่งกว่าเดิม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น