Dyson

James Dyson Award เปิดเวทีสนับสนุนนักออกแบบชาวไทยเป็นครั้งแรก ด้วยเงินรางวัลกว่า 2 แสนบาท

James Dyson Award เปิดรับนักออกแบบ อย่างเป็นทางการแล้ว ครั้งแรกในประเทศไทย! พร้อมสนับสนุนนักออกแบบรุ่นใหม่ ด้วยเงินรางวัลกว่า 2 แสนบาท

การประกวดแข่งขันออกแบบนวัตกรรมระดับนานาชาติ James Dyson Award ที่จัดโดย James Dyson Foundation ได้เปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เปิดรับนักออกแบบ นักประดิษฐ์รุ่นใหม่แล้ววันนี้ หลังจากได้รับการตอบรับอย่างดีจากเยาวชนจากหลายประเทศทั่วโลก ที่ร่วมส่งผลงานในการแข่งขันในปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2565 นี้ก็ถึงเวลาของเยาวชนไทยที่จะได้รับโอกาสในการแสดงผลงานด้านวิศวกรรมและการออกแบบสู่สายตาโลกผ่านการประกวดออกแบบนวัตกรรม James Dyson Award ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยผู้ชนะระดับชาติจะได้รับรางวัลจำนวน 222,000 บาทและมีสิทธิในการชิงรางวัลระดับนานาชาติที่มีรางวัลจำนวนถึง 1,330,000 บาท โดยเปิดรับผลงานแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ผ่านเว็บไซต์ jamesdysonaward.org

รับชมวิดีโอเกี่ยวกับ James Dyson Award จาก James Dyson ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าวิศวกร Dyson ได้ที่นี่

ซึ่งโดยการประกวดแข่งขันออกแบบนวัตกรรม James Dyson Award ได้จัดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 และค้นหาไอเดียสดใหม่ของนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จากคณะวิศวกรรมและคณะด้านการออกแบบด้วยโจทย์เดิมมาตลอด 17 ปีนั่นก็คือ “ออกแบบอะไรก็ได้ที่แก้ไขปัญหา” และด้วยโจทย์ที่เปิดกว้างทางความคิดเช่นนี้เอง ทำให้เราได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากปัญหาในระดับโลกมากมาย โดยผู้ชนะในปีที่ผ่านๆ มาได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่แก้ไขปัญหาที่น่าทึ่ง ตั้งแต่แก้ไขปัญหาการเข้าถึงการรีไซเคิลพลาสติก แก้ปัญหาเลือดออกจากแผลมีดบาด และพัฒนาการตรวจโรคต่างๆ ได้เองที่บ้าน โดยรางวัลในระดับนานาชาตินั้นจะถูกคัดเลือกโดย James Dyson โดยตรง ผู้ชนะการประกวดครั้งนี้จะได้รางวัลเป็นเงินทุนและยังได้รับโอกาสการประชาสัมพันธ์ผลงานในระดับโลก ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการนำไอเดียไปต่อยอดทางธุรกิจ

James Dyson ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีมวิศวกร Dyson กล่าวว่า “ความสำคัญของรางวัล James Dyson Award คือการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด และส่งเสริมให้นักประดิษฐ์และออกแบบรุ่นใหม่ได้ตั้งคำถามและท้าทายกับสิ่งต่างๆ ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้และมันเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน เพราะโลกในอนาคตคือโลกของพวกเขา รางวัลนี้จะให้ความมั่นใจและพื้นที่สำหรับการแก้ปัญหา ซึ่ง 70% ของผู้ชนะในระดับนานาชาติที่ผ่านมาได้สานต่อโครงการและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ของพวกเขาในทางธุรกิจด้วย ผมตื่นเต้นมากที่ในปีนี้เราจะเปิดตัว James Dyson Award ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และผมตั้งตารอดูผลงานที่จะเปลี่ยนโลกจากนักประดิษฐ์เยาวชนไทย ขอให้ทุกคนโชคดี”

รางวัลของผู้ชนะ James Dyson Award

  1. เงินรางวัล: ผู้ชนะระดับชาติจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 222,000 บาท และผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,330,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการสานต่อและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ต่อไปในอนาคต
  2. ได้รับการประชาสัมพันธ์ผลงาน: การชนะรางวัล James Dyson Award จะทำให้ผลงานเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน สาธารณะชน และผู้เชี่ยวชาญในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ ที่จะช่วยเปิดโอกาสในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต
  3. ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนนักประดิษฐ์: ในปีนี้ James Dyson Award ได้เปิดตัวเครือข่ายผู้ชนะการประกวดขึ้น โดยจะจัดกิจกรรมและโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำสิ่งประดิษฐไปต่อยอดทางธุรกิจหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนสิ่งประดิษฐ์จากผู้เข้าแข่งขันทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นจนทำลายสถิติ และด้วยวิสัยทัศน์ที่เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในการอนาคต James Dyson ได้เลือกผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติถึง 3 รางวัลเป็นครั้งแรกในปี 2564 ที่ผ่านมาโดยแต่ละรางวัลจะได้เงินรางวัลจำนวน 1,330,000 บาทเช่นกัน

ในปีนี้จะมีการเลือกผู้ชนะรางวัลระดับนานาชาติเช่นเดิม แต่ก่อนจะถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่ละประเทศจะทำการคัดเลือกผู้ชนะในระดับชาติ และรางวัลรองชนะเลิศอีก 2 รางวัล โดยคณะกรรมการที่ทำการคัดเลือกผู้ชนะจะมาจากผู้เชียวชาญในแต่ละประเทศและวิศวกรจาก Dyson โดยในปี พ.ศ. 2565 นี้ James Dyson Award ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกใน 2 ประเทศนั่นก็คือประเทศตุรกี และ ประเทศไทย

สำหรับผู้ที่ชนะรางวัลระดับชาติจะได้รับเลือกให้ลงแข่งในระดับนานาชาติโดยอัตโนมัติ โดย James Dyson จะเป็นผู้คัดเลือกผู้ชนะในระดับนานาชาติด้วยตัวเอง

โดยสิ่งที่วิศวกรจาก Dyson มองหาในสิ่งประดิษฐ์จากการแข่งขันครั้งนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่ผลกระทบของปัญหาเป็นส่วนหลัก แต่เป็นคุณค่าของสิ่งประดิษฐ์นั้น รวมถึงการทำงานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพของสิ่งประดิษฐ์นั้นด้วย สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมจาก Peter Gammack รองประธานฝ่ายนวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่จาก Dyson ผู้ทำหน้าที่หนึ่งในคณะกรรมการระดับนานาชาติของ James Dyson Award มาอย่างยาวนานได้ที่เว็บไซต์ Dyson Newsroom

โอกาสที่ได้จาก James Dyson Award

การแข่งขันได้มอบโอกาสในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อนานาชาติแก่นักประดิษฐ์ ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนเพื่อต่อยอดและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์

  • mOm incubators จากผู้ชนะระดับนานาชาติปี 2014 ผลงานที่เพิ่มตัวเลือกในการดูแลเด็กแรกเกิด หลังจากทดสอบการใช้งานเสร็จสิ้น ขณะนี้ mOm ได้ใช้งานในองค์กร UK NHS trust สามแห่งและได้ช่วยชีวิตทารกกว่า 20 ชีวิต โดยมีแผนการพัฒนา mOm ไปสู่การใช้งานในระดับโลกเพื่อช่วยอัตรการเข้าถึกการดูแลทารกทั่วโลก และในปี 2017 ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศจากสหรัฐอเมริกา
  • SoaPen สบู่ในรูปแบบปากกาสีสันสดใสที่กระตุ้นการล้างมือได้พัฒนาผลงานสู่การดำเนินธุรกิจและติดอันดับ Forbes 30 Under 30 Lists และได้จำหน่ายสินค้าทั่วทวีปอเมริกาและล่าสุดได้ผลิตเจลล้างมือเพื่อตอบรับความต้องการของตลาดในช่วงการระบาดของโรค COVID-19
  • Rabbit Ray ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศระดับชาติ จากสิงคโปร์ เครื่องมือสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยอธิบายขั้นตอนทางการแพทย์แก่เด็ก โดยเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ Esther Wang ได้ก่อตั้งบริษัทด้านสุขภาพและการศึกษาที่ชนะรางวัลอย่างบริษัท Joytingle โดยสิ่งประดิษฐ์ของเธอสามารถช่วยอธิบายได้ตั้งแต่การฉีดวัคซีนจนไปถึงการรักษาด้วยคีโม  

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกียวกับ James Dyson Award ได้ทาง https://www.jamesdysonaward.org/

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน