zoho

การปรับเปลี่ยน และเพิ่มทักษะ ใหม่ในตลาดระดับกลาง เพื่อรองรับนวัตกรรม ทางเทคโนโลยี

การปรับเปลี่ยน และเพิ่มทักษะ แบบใหม่ในตลาดระดับกลางคือการตอบสนองที่ถูกต้องที่สุดเพื่อรองรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ได้เปลี่ยนไปอย่างฉับไว

ก่อนเกิดโควิด-19 หลายคนมองว่าบริษัทตลาดระดับกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือผู้เล่นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งมีแนวโน้มยอดขายประจำปีที่เพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจของ EY Growth Barometer ในปี 2561 พบว่า บริษัท 40% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งเป้าไปที่อัตราการเติบโตอยู่ที่ตัวเลขสองหลักเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตทั่วโลกที่คาดการณ์ไว้แค่ 6% เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดวิกฤตด้านสุขภาพขึ้น บริษัทขนาดกลางในภูมิภาคต้องเผชิญกับสภาวะการหยุดชะงักและการชะลอตัว และจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจเอาไว้ให้ได้ นอกจากนี้ Asian Development Bank (ADB) ได้ประเมินความสูญเสียที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียที่กำลังพัฒนา อยู่ที่ 6.0%-9.5% ในปี 2563 รวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในภูมิภาคก็ลดลง 3.6%-63% ในปี 2564 ที่ผ่านมา

การลงทุนกับการเปลี่ยนโฉมทางดิจิทัลสามารถเพิ่มโอกาสในการเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาด เช่นเดียวกับการวางแผนทางธุรกิจเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างมีกลยุทธ์ โดยบริษัท Grant Thornton ได้เผยแพร่ข้อมูลผลการวิจัยในเดือนกุมภาพันธ์2564 ที่ผ่านมา พบว่า 30% ของบริษัทตลาดระดับกลางในประเทศสิงคโปร์มีค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น มากไปกว่านั้นบริษัทที่มีจำนวนพนักงานมาก ก็หมายความว่าบริษัทก็ต้องเจอกับความท้าทายด้านต่างๆ ที่หลากหลายกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็กจากแบบสำรวจความพร้อมทางด้านดิจิทัลของธนาคาร DBS ที่ได้เผยแพร่ไปในเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า บริษัทขนาดใหญ่มีความกังวลว่าผู้ใช้งานจะสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและของเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนทันหรือไม่รวมถึงผู้ใช้งานมีความพร้อมในการใช้งานด้านดิจิทัลหรือไม่ ดังนั้นเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เราจึงจำเป็นต้องกำหนดการเปลี่ยนทักษะ (reskill) และการเพิ่มทักษะ (upskill) ให้เป็นกลยุทธ์หลักในการบริหาร

การปรับเปลี่ยน และเพิ่มทักษะ

เพิ่มทักษะและเปลี่ยนทักษะพนักงานเพื่อสร้างความคล่องตัว

เมื่อพิจารณาจากข้อจำกัดต่างๆ การเพิ่มทักษะและการเปลี่ยนทักษะใหม่ให้แก่พนักงานจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานประกอบการขนาดกลางในปัจจุบัน เนื่องจากบริษัทต่างกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่อยู่ในสถานที่ที่มีการระบาดรุนแรงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมไปอย่างฉับไวทำให้ผู้คนต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องฝังการเรียนรู้ไว้ในวัฒนธรรมการทำงานเพื่อให้รู้เท่าทันกับเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะเอื้อให้พนักงานทำงานได้อย่างคล่องตัว

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานที่น่าสนใจได้แก่กรณีของคุณ Pedleys Solar ซึ่งเป็นลูกค้าผู้ใช้ Zoho One ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพบว่าการนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ควบคู่กับการทำงานของพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีนั้นสามารถส่งผลลัพธ์ต่อการพัฒนาทางธุรกิจที่ดี โดยเขาได้ใช้เวลา 2 ปีเพื่อให้พนักงานเริ่มคุ้นเคยกับการใช้งาน Zoho One พนักงานก็มีทักษะเพิ่มขึ้นในการใช้แอปพลิเคชันหลากหลายเพื่อพัฒนากระบวนการทางธุรกิจในหลายๆ ด้านตั้งแต่ด้านการขายไปจนถึงการจัดการสินค้าคงคลังการวิเคราะห์ และการสื่อสารภายในองค์กร รายได้ของบริษัทจึงเติบโตขึ้นมากถึง 4,000% ภายใน 2 ปีเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นได้เพราะพนักงานสามารถปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้

เมื่อบางคนได้ยินคำว่า “การเปลี่ยนทักษะ” และ “การเพิ่มทักษะ” พวกเขามักจะนึกถึงภาพบรรยากาศในห้องเรียน โดยใช้เวลาเรียนและฝึกอบรมอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งก็ถูกต้อง ถ้าที่กล่าวมานี่เป็นการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังมีวิธีการอื่นๆอีกเช่นกัน ที่ผู้คนสามารถเรียนรู้ได้ที่สำนักงาน ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน (non-formal) และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (informal) ด้วยเหตุนี้ธุรกิจระดับกลางยังคงสามารถสร้างวัฒนธรรมอันยั่งยืนในที่ทำงานได้ด้วยการใช้การเรียนรู้ทั้งสามรูปแบบตามที่กล่าวมานี้ วัฒนธรรมการเรียนรู้จะช่วยวางรากฐานให้แรงงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วพนักงานก็จะได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น รวมถึงบริษัทก็มีรายรับที่เพิ่มมากขึ้นไปอีกด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วข้ามคืน ผู้นำทางธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องเล็กเลยในบรรดาธุรกิจกงสีส่วนใหญ่ที่เปิดทำการมานานหลายชั่วอายุคน

พนักงานที่มีทักษะเฉพาะทางก็คือพนักงานที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย แน่นอนว่าสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นภายในชั่วพริบตา การเพิ่มทักษะและการเปลี่ยนทักษะทั่วทั้งองค์กรควรเริ่มต้นด้วยผู้นำที่มีแนวคิดด้านดิจิทัลเป็นอันดับแรก โดยต้องมีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์และเปลี่ยนโฉมวิธีการดำเนินธุรกิจแบบเดิม ๆ รวมถึงยังต้องกลับมาคิดเรื่องแนวทางการเรียนรู้และแนวทางการพัฒนาใหม่อีก โดยให้พนักงานได้ใช้ทรัพยากรและได้รับการฝึกอบรมที่จำเป็นจนมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะช่วยนำให้ธุรกิจไปสู่การฟื้นตัวในรูปแบบนิวนอมัล (New Normal)

การปรับเปลี่ยน และเพิ่มทักษะ

ต้นทุนการฝึกอบรมเทียบกับต้นทุนการจ้างงาน

ในปี 2019 บริษัท Deloitte ได้สำรวจผู้บริหารในตลาดระดับกลางจำนวน 500 คน โดย 61% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขากำลังเปลี่ยนทักษะพนักงาน ในขณะที่ 57% กล่าวว่าพวกเขากำลังสร้างตำแหน่งงานใหม่เพื่อทดแทนตำแหน่งที่หายไปเพราะนำระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีมาใช้ จะเห็นได้ว่าตลาดระดับกลางนั้นมีทัศนคติที่ดีมากในเรื่องการเพิ่มทักษะและการเปลี่ยนทักษะ ซึ่งต่างกับองค์กรขนาดใหญ่ เพราะบางบริษัทกล่าวว่า บริษัทของตนเป็นเป็นธุรกิจส่วนตัว (85%) และไม่สามารถเข้าถึงเงินทุนที่จะนำมาจ้างผู้มีความสามารถเฉพาะทางได้ นอกจากนี้การระบาดครั้งนี้ยังกระทบต่อตลาดระดับกลางอย่างมาก นำไปสู่การเลิกจ้างและสูญเสียรายได้ ส่งผลให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ต้องฝึกอบรมพนักงานให้ใช้งานเป็นเป็นพร้อมกันไปด้วย

มีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นถึงหกเท่าในการจ้างแรงงานจากภายนอกมากกว่าการสร้างบุคลการจากภายในองค์กร ในตลาดที่กำลังตกต่ำ การประหยัดเงินก้อนใหญ่จะช่วยให้ธุรกิจในตลาดระดับกลางสามารถนำเงินมาลงทุนในนวัตกรรม มากกว่านั้นการประหยัดทั้งเวลาและเงินที่ใช้ในการสรรหาบุคลากรจากภายนอกจะยิ่งเอื้อให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรับมือกับการดิสรัปชั่นที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมของตนเองได้

บริษัทยังสามารถใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการฝึกอบรมดิจิทัลและแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ออนไลน์ที่ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ต่างๆนำเสนอซึ่งมักจะสามารถใช้งานได้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ของตนเท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ธุรกิจต้องควรคำนึงถึงก็คือ พนักงานจำเป็นต้องมีเครื่องมือดิจิทัลเพื่อทำงานร่วมกันและสามารถเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย ดังนั้นการนำโซลูชัน Zoho Connect มาปรับใช้เป็นแพลตฟอร์มในการสื่อสารช่วยให้พนักงานสามารถแชร์ข้อมูลข้ามแผนกได้ ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนทั่วทั้งองค์กร อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการเพิ่มทักษะหรือการเปลี่ยนทักษะอีกด้วย

การลงทุนในทักษะแรงงานเพื่อเส้นทางสู่อนาคตที่ดีกว่า

กลยุทธ์ในการฟื้นตัวควรเน้นให้ธุรกิจสามารถดำเนินการไปได้เรื่อย ๆ ในอนาคต แม้ว่าบริษัทขนาดกลางจะไม่ต้องเผชิญกับความท้าทายเหมือนองค์กรขนาดเล็กและขนาดใหญ่ก็ตาม และในขณะที่พวกเขากำลังฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาด พนักงานที่มีทักษะซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นอาจเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้ ด้วยการแข่งขันที่ดุเดือดและความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะก้าวข้ามการดิสรัปชั่นที่เกิดจากการระบาดใหญ่ไปให้ได้ การเพิ่มทักษะและการเปลี่ยนทักษะให้แก่พนักงานจึงไม่ควรเป็นทางเลือกอีกต่อไป แต่ควรเป็นสิ่งที่ต้องทำ

ตลาดระดับกลางได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่มาโดยตลอด ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บริษัทเหล่านี้พร้อมที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงานโดยพยายามค้นหาความเชี่ยวชาญด้านใหม่ ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลและระบบ AI ซึ่งจะช่วยให้เกิดสิ่งใหม่ได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการเพิ่มทักษะและการเปลี่ยนทักษะพนักงานเพื่อให้สามารถเข้าใจและใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเชี่ยวชาญจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรม