ขายของกับภาครัฐไม่ยากอีกต่อไป สสว.ชวนธุรกิจดิจิทัลเข้าระบบ Thai SME-GP พร้อมรับสิทธิประโยชน์เหนือคู่แข่ง

ถ้าพูดถึงการจะเข้าไปเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ ผู้ประกอบการ SME ต้องคิดว่าอาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะว่าไม่สามารถแข่งขันกับผู้ค้ารายใหญ่ได้ ไม่รู้จะนำเสนอขายสินค้า บริการได้อย่างไร รวมถึงปัญหาเรื่องเงินทุนที่อาจจะมีไม่เพียงพอ

ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป เพราะว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้จัดทำโครงการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้แก่ SME เพื่อพัฒนายกระดับผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ รวมถึงอัปเดตแนวโน้มและโอกาสในการเข้าถึงตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของสินค้าดิจิทัลด้วย

ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐคืออะไร?

ตลาดภาครัฐ คือ ตลาดซื้อขายที่มีผู้ซื้อเป็นหน่วยงานรัฐ และผู้ขายเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล บุคคลธรรมดา หรือวิสาหกิจชุมชน มาทำการซื้อ เช่า หรือแลกเปลี่ยน ผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

ซึ่งหน่วยงานที่จะเป็นผู้ซื้อ หรือผู้ขายกับภาครัฐ จะต้องขึ้นทะเบียนใน ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Thai Government Procurement: e-GP) หรือ Thai SME-GP กับกรมบัญชีกลางก่อน ถึงจะสามารถเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้

โลกเปลี่ยน รัฐจึงต้องการสินค้าดิจิทัลและเกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น

เนื่องจากทุกองค์กรต่างก็มองหาสินค้าและบริการด้านดิจิทัล มาสนับสนุนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐซึ่งถือเป็นองค์ก่อนขนาดใหญ่ มีภารกิจสำคัญในการบริหารประเทศในทุกด้าน ทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาเครื่องมือดิจิทัล เข้ามาใช้เป็นจำนวนมาก ครอบคลุมทั้ง อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ระบบเครือข่าย ระบบคลาวด์ และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งสินค้า บริการทางด้านดิจิทัลเหล่านี้เข้ามาเสริมการทำงานและยกระดับหน่วยงานของรัฐ

รัฐซื้อสินค้า บริการ ดิจิทัล อะไรบ้าง?

สินค้าและบริการที่หน่วยงานของรัฐต้องการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ

  1. ฮาร์ดแวร์ ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์เอกสาร (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Software)
  3. การจ้างพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ (Software development)
  4. การติดตั้งระบบเครือข่าย (Network)
  5. การดูแลระบบไอที (IT Service)
  6. บริการระบบคลาวด์ (Cloud)

กิจกรรมและสิทธิประโยชน์ของโครงการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องนั้น จะได้เข้าร่วมกิจกรรมและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎกระทรวงฯ แนวปฏิบัติของภาครัฐ ข้อมูลทิศทางและโอกาสทางการตลาดของอุตสาหกรรมดิจิทัล
  • กิจกรรม Workshop การขึ้นทะเบียน Thai SME-GP และการขึ้นทะเบียน Made in Thailand
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ รวมถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ E-Bidding แบบเชิงลึก เช่น การขอเลข e-GP การจัดทำข้อเสนอโครงการ การจัดเตรียมเอกสารแสดงคุณสมบัติ เป็นต้น
  • การ Up Skill และ New Skill ในด้านความพร้อมทางธุรกิจ เช่น Cybersecurity, Data Privacy, Project Management, Design Thinking และ ทักษะในเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • กิจกรรมยกระดับศักยภาพที่จำเป็น อาทิ การขอมาตรฐาน ISO/IEC29110 การจัดเตรียมข้อเสนอโครงการ, การบริหารโครงการ, การส่งมอบงาน, การบริหารทางการเงิน, การบริหารหลังการขาย
  • การวินิจฉัยและประเมินความพร้อม รวมถึงให้คำแนะนำเป็นรายบริษัท
  • การเชื่อมโยงการตลาดและแหล่งเงินทุน
  • กิจกรรมต่อยอดอื่นๆ เช่น งานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นต้น
Thai SME-GP

สำหรับวันและเวลาในการเข้าร่วมโครงการเพื่อรับการอบรมนั้นจะแบ่งเป็นแต่ละจังหวัด ดังนี้

  1. วันที่ 28 – 29 เมษายน 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. จ. กรุงเทพฯ
  2. วันที่ 10 – 11 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. จ. ชลบุรี
  3. วันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. จ. ภูเก็ต
  4. วันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. จ. เชียงใหม่
  5. วันที่ 26 – 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. จ. ขอนแก่น
  6. วันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. จ. กรุงเทพฯ

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่ >> https://bit.ly/GP_T2022
โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 30 พฤษภาคม 2565 เท่านั้น!

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนงานโครงการ Thai SME GP-Digital สถาบัน SMI โทรศัพท์ 02-345-1188, 02-345-1122

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน