HUAWEI

ภาคอุตสาหกรรมไทย จับมือ หัวเว่ย ประยุกต์ใช้ 5G ผลักดันไทยขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน

ภาคอุตสาหกรรมไทยพร้อมใจจับมือหัวเว่ย ประยุกต์ใช้ 5G เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ร่วมผลักดันไทยขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน

ภายในงานสัมมนา Thailand 5G Summit 2022 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16-17 มิถุนายน พ.ศ. 2565 บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร 5G ในประเทศไทยจากหลากหลายภาคอุตสาหกรรม เพื่อแสดงวิสัยทัศน์รวมถึงรายละเอียดความร่วมมือในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ภายในภาคอุตสาหกรรมสาธารณสุข ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และโปรเจ็คสมาร์ทซิตี้ของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานและการแข่งขันให้แก่ทุกภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ร่วมผลักดันประเทศไทยในเส้นทางการก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งอาเซียน

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหกรรมในประเทศไทยว่า “5G ถือเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อดิจิทัลอันเป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จของเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมไปถึงการพัฒนาของภาคสาธารณสุข ภาคการผลิต และคอนเซ็ปต์เรื่องเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ด้วยเช่นกัน ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไอซีทีและเป็นผู้พลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัล เราจะเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมอัจฉริยะ 5G ผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรของ 5G ตามพันธกิจการร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม สนับสนุนการทำให้เกิดอีโคซิสเต็ม 5G แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกลุ่มสตาร์ทอัพ เพื่อให้ทั้งภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ มีส่วนช่วยกันผลักกันเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และเพื่อให้หัวเว่ยสามารถนำความอัจฉริยะมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน ทุกองค์กร และสร้างประเทศไทยดิจิทัลที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ มีความอัจฉริยะ และยั่งยืนไปพร้อมกัน”

ภาคอุตสาหกรรมไทย จับมือ หัวเว่ย
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โดย นพ. สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ขึ้นกล่าวสัมมนาภายในงานดังกล่าวถึงนโยบายด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคสาธารณสุขของประเทศไทยว่า “การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรูปแบบเดิม ๆ และตอกย้ำให้เราเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงมุ่งยกระดับภาคอุตสาหกรรมสาธารณสุขของประเทศไทย ด้วยศักยภาพของ 5G และการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมไอซีทีอย่างหัวเว่ย รองรับจุดยืนการขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน”

ภาคอุตสาหกรรมไทย จับมือ หัวเว่ย
รศ.นพ. วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช

ด้านตัวแทนจากภาคโรงพยาบาล รศ.นพ. วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้กล่าวว่า “ทางโรงพยาบาลศิริราชได้ทำโครงการ แนวทางในการขยายผล การใช้ disruptive เทคโนโลยี และ 5G เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ทำงานร่วมกับหัวเว่ยเพื่อพัฒนาโซลูชันอัจฉริยะ Hospital Operating Center (HOC) และนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์ใหม่ๆ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยที่สุด โดยทางศิริราชเชื่อว่า ความมุ่งมั่นในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของโรงพยาบาลจะเป็นต้นแบบให้แก่โรงพยาบาลรัฐแห่งอื่นในประเทศไทยต่อไป”

โดยก่อนหน้านี้ ทางโรงพยาบาลศิริราชได้ร่วมมือกับสำนักงาน กสทช. และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เพื่อดำเนิน “โครงการต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์” ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโรงพยาบาลด้วยการนำเทคโนโลยี 5G รวมทั้งคลาวด์ AI และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงบริการ เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาพยาบาล ช่วยให้คนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการบริการในโรงพยาบาลตติยภูมิชั้นสูงได้ ซึ่งหัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการร่วมพัฒนานวัตกรรมโซลูชันด้วยเทคโนโลยี 5G และคลาวด์ ในการเสริมศักยภาพให้แก่ภาคสาธารณสุขไทย และช่วยผลักดันโรงพยาบาลศิริราชให้เป็นต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะแห่งแรกของไทยที่มีมาตรฐานระดับโลกในอนาคต

รศ.นพ. วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
อ.ดร. สุนทร หลั่นเจริญ หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศของโรงพยาบาลรามาธิบดี

อ.ดร. สุนทร หลั่นเจริญ หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศของโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยี 5G ที่ช่วยพัฒนาการรักษาในกรณีฉุกเฉินให้มีความปลอดภัยมากขึ้นว่า “เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง 5G เปรียบเสมือนตัวเร่งปฏิกิริยาที่จะผลักดันให้โรงพยาบาลต่างๆ ประยุกต์ใช้ในบริการตรวจคนไข้และการตรวจ CT ทางไกลมากขึ้น และยังจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงบริการทางการแพทย์คุณภาพสูงอย่างเท่าเทียมกันยิ่งขึ้น เมื่อเราทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์ในอีโคซิสเต็ม 5G อย่างหัวเว่ย เราเชื่อว่าเทคโนโลยี 5G จะสามารถผลักดันให้กระบวนการรักษาในกรณีฉุกเฉินมีความปลอดภัยมากขึ้นได้”

นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)  จำกัด

นอกจากนี้ นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)  จำกัด ยังได้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในโปรเจ็คสมาร์ทซิตี้ของประเทศไทยว่า “สมาร์ทซิตี้จะทำให้เมืองในประเทศไทยมีความปลอดภัยมากขึ้น การเกษตรกรรมจะพัฒนาขึ้น ผู้คนจะได้รับความสะดวกสบายในทุกที่ทุกเวลาเมื่อเรามีเมืองแบบสมาร์ทซิตี้จำนวนมากขึ้นในไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ เราพูดถึงเรื่องสมาร์ทซิตี้มานานกว่า 5 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม 5G ได้เข้ามาทลายทุกข้อจำกัดที่สมาร์ทซิตี้ต้องเผชิญและทำให้มันกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ เนื่องจากเทคโนโลยี 5G คือพื้นฐานสำคัญของสมาร์ทซิตี้ และทำให้เราสามารถเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ทุกรูปแบบผ่าน 5G และใช้การประมวลผลอัจฉริยะสำหรับแอปพลิเคชันต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์”

นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

ในด้านผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม นายรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความพร้อมของโครงข่าย 5G ในประเทศไทยว่า ตั้งแต่ประเทศไทยได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับให้บริการโครงข่ายบนเทคโนโลยี 5G ในปี พ.ศ. 2563 หัวเว่ยได้มีส่วนช่วยประเทศไทยในการวิจัยและพัฒนาโครงข่าย 5G ชั้นนำ ซึ่งจนถึงวันนี้ ประเทศไทยได้ร่วมพัฒนาโครงข่าย 5G รองรับผู้ใช้บริการไปแล้วมากกว่า 4.3 ล้านคน ซึ่งถือว่ามากกว่ายอดผู้ใช้ 5G โดยรวมจากประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนกว่า 2.5 เท่า

นายจูเลียน กอร์แมน หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากสมาคมจีเอสเอ็ม

นอกจากนี้ นายจูเลียน กอร์แมน หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA APAC 5G Industry Community) ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางสมาคมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ให้บริการโซลูชัน 5G อย่างหัวเว่ย เพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยี 5G และผลักดันให้เกิดกรณีตัวอย่างการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนได้