โซล่าเซลล์ชนิด dye-sensitized หรือ DSC นั้นมีราคาถูก มีความโปร่งใส และยืดหยุ่น เทคโนโลยีนี้มีแนวโน้มจะทำสถิติใหม่เรื่องประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแสงที่มองเห็นให้เห็นพลังงานไฟฟ้า จึงถูกนำมาทำเป็นหน้าต่างเก็บพลังงาน
นักวิทยาศาสตร์ที่ École Polytechnique Fédérale de Lausanne (EPFL) ในสวิตเซอร์แลนด์จึงได้พัฒนาโซล่าเซลล์ชนิด DSC แบบใหม่ ที่ปรับปรุงด้านประสิทธิภาพให้มีราคาถูกและโปร่งใส เพื่อเป็นแผงโซล่าดังกล่าวใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เมื่อเป็นที่ยอมรับและถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในวงกว้าง โลกในอนาคตจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ปราศจากเชื้อเพลิงและก๊าซเรือนกระจกได้
เทคโนโลยีโซล่าเซลล์นี้ มีชื่อว่า “เซลล์ Grätzel” ซึ่งเป็น DSC รุ่นใหม่ที่ร่วมกันคิดค้นโดย Brian O’Regan และ Michael Grätzel ในปี 1988 เพื่อเป็นโซล่าเซลล์ทางเลือกที่ราคาประหยัด เทคโนโลยีนี้ใช้สารกึ่งตัวนำที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วบวกที่ไวต่อแสงกับอิเล็กโทรไลต์ จากนั้นระบบโฟโต้อิเล็กโตรเคมีจะเปลี่ยนการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า
แผงโซล่านี้มีความโปร่งใส ที่สำคัญ มีราคาการผลิตที่ถูก สามารถผลิตได้หลายสีและปรับใช้งานกับอาคารต่างๆ ที่ด้านหน้าเป็นกระจกได้ เช่น Swiss Tech Convention Center เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังสามารถผลิต DSC ให้มีความยืดหยุ่นได้ มันจึงเหมาะที่จะนำไปฝังไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพารวมถึงพวกอุปกรณ์ IoT ต่างๆ
ล่าสุด ทีมงาน EPFL ได้พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของสารไวแสงและส่วนประกอบอื่นๆ ที่ทำให้โซล่าเซลล์ DSC มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 15.2% เป็นครั้งแรกภายใต้แดดจำลอง สามารถรักษาความเสถียรของการทำงานได้นานกว่า 500 ชั่วโมงในระหว่างการทดสอบ อีกทั้งยังเพิ่มพื้นที่ใช้งานเป็น 2.8 ตารางเซ็นติเมตร ทำให้ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานถึงอัตราสูงสุดที่ 30.2%
การศึกษาครั้งนี้ถูกตีพิมพ์ใน Nature โดยนักวิทยาศาสตร์ได้บรรลุความล้ำหน้าที่สามารรถปรังปรุงการบรรจุโมเลกุลของสีย้อมไวแสงที่ออกแบบใหม่ 2 ตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโซล่าเซลล์ DSC ทีมนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าสารไวแสงแบบใหม่สามารถเก็บแสงได้ทั่วทั้งโดเมนแสงที่มองเห็นได้
การค้นพบใหม่เหล่านี้ช่วยปูทางไปสู่การพัฒนา DSC ที่มีประสิทธิภาพสูงและยังเพิ่มความเป็นไปได้สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป วันหนึ่ง DSC ที่มีประสิทธิภาพสูงอาจกลายเป็นหน่วยจ่ายไฟและแทนที่แบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรนิกส์ที่ใช้พลังงานต่ำโดยใช้แสงที่ได้จากสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งพลังงานหลัก ในขณะเดียวกันนั้น อาคารขนาดใหญ่และเรือนกระจกอาจสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าเอาไว้ใช้เองได้มากกว่าที่เคยเป็น
ที่มา : TECHSPOT