“โทรคมนาคม” สนับสนุน การพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อน สร้างความเท่าเทียม ยกระดับการสื่อสารและดิจิทัลให้กับคนไทย

“โทรคมนาคม” สนับสนุนให้ประเทศมี การพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อม สร้างความเท่าเทียม ยกระดับการสื่อสารและดิจิทัลให้กับคนไทย เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ผู้นำด้านบริการ โทรคมนาคม และดิจิทัลของประเทศ ให้บริการอย่างมีคุณภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่ยุคดิจิทัล โดยให้การสนับสนุนรัฐบาลใน การพัฒนาอย่างยั่งยืน ในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในหลายมิติ ทั้งในส่วนของโครงข่ายสื่อสารหลักภายในประเทศและโครงข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูง ส่งเสริมให้มีการลงทุนและร่วมใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลสมัยใหม่ที่ช่วยให้เกิดการก้าวกระโดดของการพัฒนาต่อยอด และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนมีการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งแบบทั่วถึง ด้วยการใช้ BCG Model ในการพัฒนาเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดย NT มีโครงการสำคัญ ๆ ที่สนับสนุนภาครัฐเกี่ยวเนื่องกับการวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการ สร้างความเท่าเทียม ในการเข้าถึงเทคโนโลยีของประชาชนในประเทศ อาทิ โครงการเน็ตประชารัฐ และโครงการ Big Rock การให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) โครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ และ โครงการบริหารจัดการทรัพย์สินดาวเทียมภาครัฐ

โทรคมนาคม-การพัฒนาอย่างยั่งยืน-สร้างความเท่าเทียม

โครงการเน็ตประชารัฐ และโครงการ Big Rock เป็นโครงการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญสำหรับประชาชน ให้สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการภาครัฐได้ทัดเทียมคนในเมือง เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต อีกทั้ง ผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถลดต้นทุนการทำธุรกิจได้ โครงการเน็ตประชารัฐ หรือ โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นไปตามคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มอบหมายให้ NT เป็นผู้ดำเนินโครงการขยายโครงข่าย Fiber Optic ไปยังพื้นที่ห่างไกล โดยการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยสื่อสัญญาณสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) โดยวางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงต่อจากโครงข่ายภาครัฐคือ NT ไปยังหมู่บ้านเป้าหมาย 24,700 หมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดให้มีจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายสาธารณะประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 จุด ที่ระดับความเร็วไม่ต่ำกว่า 30 Mbps/10 Mbps (Download/Upload) ซึ่งได้ดำเนินการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ปัจจุบันเพิ่มเป็นความเร็ว 100/50 Mbps (Download/Upload) พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ และจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้การใช้ประโยชน์ จัดทำคู่มือเอกสารเผยแพร่เพื่อให้ความรู้แก่ครู กศน. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ มีการจัดทำระบบบริหารจัดการโครงข่าย โดย NT ได้จัดตั้งศูนย์ Network Operation Center (NOC) ศูนย์บริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงข่ายเน็ตประชารัฐ และศูนย์ข้อมูลรับแจ้งเหตุขัดข้องผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐประชาชน GCC 1111 กด 88 เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสภาพการให้บริการแบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

โครงการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (โครงการ Big Rock) กระทรวงดีอีเอสได้ขยายต่อยอดจากโครงข่ายเน็ตประชารัฐไปยังโรงเรียน โรงพยาบาล และสุขศาลาพระราชทานในพื้นที่เป้าหมาย โดยได้มอบหมายให้ NT ดำเนินงานปรับปรุงโครงข่ายเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังโรงเรียนและโรงพยาบาลของรัฐที่ไม่มีโครงข่าย Fiber Optic เข้าถึง รวมถึงดำเนินการขยายความจุอินเทอร์เน็ต (Bandwidth) ให้กับโรงพยาบาลเพื่อรองรับการตรวจรักษาทางไกล (Telemedicine) รวม 1,671 แห่ง ซึ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศ อยู่ในระหว่างเร่งดำเนินการพัฒนาในหลายมิติ

นอกจากโครงข่ายสื่อสารหลักภายในประเทศ NT ยังได้ดำเนินงานโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำในประเทศ (Domestic Submarine Cable Network) และโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ (International Submarine Cable Network) เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันดึงดูดการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ รวมถึงประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ได้ทั่วโลก การให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐหรือ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) เป็นบริการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ซึ่งดำเนินการร่วมกับ NT ในการรวมศูนย์การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน สําหรับหน่วยงานภาครัฐที่ไม่ประสงค์จะดูแลศูนย์ข้อมูลเอง แต่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ NT เน้นให้บริการในระดับโครงสร้างพื้นฐานพร้อมพัฒนาบุคลากรของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มุ่งขยายการบริการในระดับแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นโครงการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนและผลักดันองค์กรภาครัฐให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบาย Digital Thailand นอกจากนี้ NT ยังได้ดำเนินโครงการอื่น ๆ ที่จะรองรับความต้องการภาครัฐด้าน Data Analytic ที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งด้านการท่องเที่ยว การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข แรงงาน ฯลฯ รวมถึงโครงการบริหารจัดการทรัพย์สินดาวเทียมภาครัฐของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับจากสัญญาสัมปทานกับบริษัทไทยคม โดย NT ได้รับมอบหมายพร้อมบริหารทรัพย์สินต่อด้วยความโปร่งใส คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง สามารถให้บริการโทรคมนาคมและการกระจายสัญญาณ (Broadcast) ในพื้นที่ซึ่งเข้าถึงบริการได้ลำบาก อีกทั้ง เสริมสร้างศักยภาพภาครัฐให้มีโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียม ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ และความสามารถในการควบคุมดาวเทียมให้กับบุคลากรภาครัฐ รวมถึงสามารถให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐเพื่อใช้งานวงโคจรดาวเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

NT มุ่งมั่นพร้อมสนับสนุนรัฐบาลไทยทุกวิถีทาง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและสนับสนุนชุมชนทั่วประเทศในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มศักยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจส่วนรวม (e-Commerce) ด้านการศึกษา (e-Learning) ด้านสาธารณสุข (e-Health และ Telemedicine) และด้านบริการภาครัฐ (e-Government) รวมถึงเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เติบโตจากการใช้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อประกอบอาชีพ การเรียนรู้ ค้าขาย ทำมาหากิน ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต ไปจนถึงเพิ่มช่องทางการทำธุรกิจ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ลดเวลา ลดข้อจำกัด อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพ นำพาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้ เข้มแข็ง ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จะเป็นพลังขับเคลื่อนพร้อม ๆ กัน

ทาสกระต่าย Always and Forever