ทีมวิจัยสหรัฐฯ สร้างพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้สำเร็จ เปิดประตูสู่การสร้างพลังงานสะอาดไร้ขีดจำกัดในอนาคต

ทีมนักวิจัยสหรัฐอเมริกาสามารถสร้างปฏิกริยาฟิวชันได้สำเร็จ นี่อาจเป็นการเปิดทางสู่พลังงานสะอาดในอนาคต

ถือเป็นความสำเร็จและความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน ที่หลายคนเชื่อกันว่ามันคือแหล่งพลังงานสะอาดที่ปลอดภัยและไร้ขีดจำกัด ที่มองว่ามันคือพลังงานสะอาด เนื่องจากจะมีพลังงานมหาศาลที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการนี้ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีคาร์บอนต่ำที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ตั้งแต่มีการวิจัยเกี่ยวกับนิวเคลียร์ฟิวชันที่เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1950 ก็ยังไม่มีนักวิจัยที่สามารถสร้างพลังงานที่มากพอได้สำเร็จ เนื่องจากพลังงานตั้งต้นที่ใช้ในการรวมอะตอมนั้นเป็นพลังงานที่สูงมาก แต่พลังงานฟิวชันที่ได้นั้นมากกว่าพลังงานที่ใช้รวมอะตอมในข้างต้นแค่เล็กน้อย (เปรียบเทียบเหมือนกับใช้เงินลงทุนตั้งต้นที่สูงมาก แต่ได้ผลตอบแทนกลับมาเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนสักเท่าไหร่)

แล้วในที่สุด ทีมนักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Lawrence Livermore National Laboratory หรือ LLNL สามารถสร้างพลังงานจากปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชันแบบ net energy gain หรือแบบได้กำไรสุทธิได้สำเร็จ โดยทีมนักวิจัยจาก LLNL สามารถสร้างพลังงานได้ 2.5 เมกะจูลส์โดยใช้พลังงานตั้งต้นไปเพียง 2.1 เมกะจูลส์

ส่วนต่างของพลังงานที่สร้างได้ 0.4 เมกะจูลส์นั้นสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้เพียง 0.1 กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือพอแค่ต้มน้ำในกาน้ำให้เดือดได้

ผลการทดลองที่ได้ในครั้งนี้แม้จะยังผลิตพลังงานที่สามารถนำมาใช้ในระดับใหญ่ๆ ไม่ได้ แต่ถือว่ามันเป็นย่างก้าวที่สำคัญที่จะช่วยสร้างพลังงานสะอาดที่ไร้ขีดจำกัดและแน่นอนว่าจะช่วยลดการพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงได้ในอนาคต

Breakthrough in nuclear fusion

พอได้ยินคำว่า “นิวเคลียร์” หลายคนอาจมีความกังวลและสงสัยถึงความปลอดภัย เพราะ อาจเป็นภาพจำเกี่ยวกับ “ระเบิดนิวเคลียร์” ที่มีอาณุภาพการทำลายล้างสูงมาจากภาพยนตร์ จึงอยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันที่กล่าวถึงในข่าวนี้นั้นแตกต่างจากพลังงานนิวเคลียร์ฟิชชันที่ใช้ในโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สร้างพลังงานได้เพียงเล็กน้อยแถมยังก่อให้เกิดสารกัมมันตรังสีซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกังวล

หลังจากนี้ไป นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับด้านนี้ยิ่งต้องศึกษาวิธีผลิตพลังงานจากปฏิกริยาฟิวชันให้ได้มากขึ้น รวมถึงต้องหาทางลดการใช้พลังงานตั้งต้นลงให้ได้ เพื่อจะได้สามารถสร้างพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันในเชิงพาณิชย์ออกมาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา : AP NEWS | THE GUARDIAN | LLNL

นักเขียนหน้าใหม่ ผู้หลงไหลในเรื่อง แมว หมี เทคโนโลยี และ โลกของไอที :)