Xiaomi เผยข้อมูลเกี่ยวกับ ทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับแรก โดยมี สิทธิบัตร มากกว่า 29,000 ฉบับทั่วโลก ครอบคลุมมากกว่า 60 ประเทศและภูมิภาค
Xiaomi Corporation (เสียวหมี่ คอร์ปอเรชั่น) บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อัจฉริยะสำหรับผู้บริโภคซึ่งมีสมาร์ทโฟนและสมาร์ทฮาร์ดแวร์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อด้วยแพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) เป็นแกนหลัก ได้ทำการเผยแพร่เอกสารการนำเสนอข้อมูล หรือ ไวท์เปเปอร์ (White Paper) เกี่ยวกับ ทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับแรก (“IP” or Intellectual Property) โดยเอกสารไวท์เปเปอร์ฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จด้าน IP ของเสียวหมี่และความสามารถด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเสียวหมี่ได้เข้าถึง 12 สาขาเทคโนโลยีของการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร 5G, บิ๊กดาต้า, คลาวด์คอมพิวติ้ง และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีหัวข้อย่อย 98 หัวข้อ ซึ่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเป็นแรงผลักดันด้านการทำ globalization ขั้นสูงของเสียวหมี่ด้วยสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้การสนับสนุนและปกป้องนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารไวท์เปเปอร์ฉบับนี้ เผยข้อมูลเกี่ยวกับ ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ Xiaomi สั่งสมความสำเร็จมากมายด้าน IP โดยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 กลุ่มบริษัทอยู่ในลำดับที่ 13 ของโลกในกลุ่มสิทธิบัตร 5G ที่ประกาศด้วยตนเอง และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 เสียวหมี่นั้นมี สิทธิบัตร มากกว่า 29,000 ฉบับทั่วโลกโดยครอบคลุมมากกว่า 60 ประเทศและภูมิภาค
มร. หวาง เสียง พันธมิตรและประธานบริษัท เสียวหมี่ คอร์ปอเรชั่น ได้นำเสนอคุณค่า IP ของกลุ่มบริษัทเป็นครั้งแรก โดยกล่าวว่า เสียวหมี่มุ่งมั่นที่จะมอบนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้ รวมไปถึงการเคารพในสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา และนำเสนอโซลูชั่นที่หลากหลายเพื่อยุติข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย บริษัทมุ่งหวังที่จะบรรลุการเป็นพันธมิตรทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย, ในระยะยาว และยั่งยืน ทั้งยังส่งเสริมการรวมกันของเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เสียวหมี่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจระดับโลกเพื่อส่งเสริมการรวมกันของเทคโนโลยีให้เข้ากับสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้นและให้ทุกคนในโลกมีชีวิตที่ดีขึ้นผ่านเทคโนโลยีนวัตกรรม
IP ของเสียวหมี่ขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจ
หลังจาก 12 ปีแห่งการพัฒนาและขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์หลัก “Smartphone × AIoT” เสียวหมี่ได้ขยายตลาดไปมากกว่า 100 แห่งทั่วโลก ธุรกิจของบริษัทครอบคลุมทั้งสมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี เครื่องใช้ในบ้านอัจฉริยะขนาดใหญ่ อุปกรณ์สวมใส่ และบริการทางอินเทอร์เน็ต ความพยายามในการวิจัยและพัฒนาได้แสดงออกให้เห็นในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟน การถ่ายภาพ การชาร์จ ระบบปฏิบัติการสมาร์ททีวี AI เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น MIUI การคุ้มครองสิทธิบัตรที่เข้มแข็งนั้นเป็นแรงสนับสนุนนวัตกรรมการพัฒนาระบบ MIUI ได้อย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 เสียวหมี่มีสิทธิบัตรมากกว่า 7,700 ฉบับทั่วโลกในด้านระบบปฏิบัติการ MIUI และฟังก์ชั่นซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทยังมีสิทธิบัตรมากกว่า 700 ฉบับในด้านเทคโนโลยีการชาร์จสมาร์ทโฟน ทั้งยังรวมถึง สถาปัตยกรรมวงจรพื้นฐาน การจัดการความปลอดภัย และการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณ
การคุ้มครองสิทธิบัตรส่งเสริมนวัตกรรมที่มีอยู่ในเทคโนโลยีการถ่ายภาพของสมาร์ทโฟนเสียวหมี่ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 เสียวหมี่มีสิทธิบัตรมากกว่า 1,000 ฉบับสำหรับเทคโนโลยีการถ่ายภาพทั่วโลก นอกเหนือจากการยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนของเสียวหมี่แล้ว บริษัทยังมุ่งมั่นที่จะขยายกลุ่มสิทธิบัตร 5G อีกด้วย ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2564 เสียวหมี่อยู่ในลำดับที่ 13 ในกลุ่มสิทธิบัตร 5G ที่ประกาศด้วยตนเอง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 เสียวหมี่เป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานระดับประเทศ อุตสาหกรรม และกลุ่มในมากกว่า 260 รายการ และความสามารถทางเทคนิคก็เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม
ระบบ IP ของเสียวหมี่นำไปสู่การพัฒนาสถานการณ์การใช้งานที่หลากหลายในการใช้ชีวิตแบบอัจฉริยะ หลังจากพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาหลายปี กลุ่มบริษัทได้ถือครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ AI มากกว่า 1,200 ฉบับทั่วโลก เทคโนโลยีการลดเสียงรบกวนจากการโทรด้วย AI ของเสียวหมี่ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์มากกว่า 60 รายการ ผลักดันการเติบโตของธุรกิจของบริษัท
เสียวหมี่มุ่งมั่นที่จะสร้าง “เทคโนโลยีเพื่อการสร้างสิ่งที่ดี” (Technology for Good) ด้วยความสามารถทางเทคโนโลยีของกรุ้ป เสียวหมี่ค่อย ๆ พัฒนาคุณสมบัติการเข้าถึงในระบบปฏิบัติการ MIUI ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการสัมผัส การจดจำเสียงรอบข้าง และเทคโนโลยีการอ่านออกเสียงข้อความของเสียวหมี่ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน และการพูดตามลำดับ ทำให้ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องสามารถเพลิดเพลินไปกับความสะดวกสบายของเทคโนโลยีได้มากขึ้น
IP ส่งเสริมความมุ่งมั่นในการไปสู่ระดับโลกของเสียวหมี่
ในปี 2556 ระบบ IP ของเสียวหมี่อยู่ในช่วงเริ่มต้นโดยมุ่งเน้นที่การปกป้องเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเองและจดสิทธิบัตรฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ MIUI ในขณะที่มุ่งเน้นไปที่ประเทศจีน กลุ่มบริษัทก็ได้ทำการบุกตลาดต่างประเทศ เช่น ยุโรป เช่นกัน เนื่องจากธุรกิจสมาร์ทโฟนของกลุ่มบริษัทมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงได้รับความสนใจจากผู้จดสิทธิบัตรทั่วโลก
ระหว่างปี 2557 ถึง 2562 เสียวหมี่ได้เร่งพัฒนาในตลาดต่างประเทศ เสียวหมี่ใช้ตลาดอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดเริ่มต้น และค่อย ๆ ก้าวเข้าสู่ตลาดยุโรปและละตินอเมริกา สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของเสียวหมี่ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีคำขอรับสิทธิบัตรมากกว่า 2,000 รายการทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา คำขอสิทธิบัตรทั่วโลกโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 6,000 รายการ
เสียวหมี่ได้สั่งสมความสำเร็จด้านสิทธิบัตรที่สำคัญมากมายด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การได้มา การอนุญาตข้ามสิทธิ์ และการโอนสิทธิบัตร ในปี 2559 เสียวหมี่และ Microsoft ได้ขยายความร่วมมือทั่วโลก เสียวหมี่มีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในด้าน IP globalization ตั้งแต่ปี 2563 และสั่งสมความสำเร็จมากมายในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 เสียวหมี่ได้รับสิทธิบัตรมากกว่า 29,000 ฉบับทั่วโลก ครอบคลุมมากกว่า 60 ประเทศและภูมิภาค
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเสียวหมี่ สามารถเข้าชมได้ที่
https://www.mi.com/global/discover/newsroom