Lenovo ร่วมกับ AMD เผยรายงานหัวข้อ ‘CIO Technology Playbook 2023’ คาดการณ์ว่าในปี 2570 โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัล จะเป็นตัวขับเคลื่อนถึง 43% ของรายได้ธุรกิจในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก
Lenovo ร่วมกับ AMD เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ของ InfoBrief หัวข้อ ‘CIO Technology Playbook 2023’ เพื่อเน้นย้ำถึงโอกาส ความท้าทายและข้อที่ควรตระหนักสำหรับ CIO ในระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในปัจจุบัน เพื่อช่วยในการลงทุนด้านไอทีอย่างแม่นยำ เอกสารจาก IDC ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Lenovo และ AMD เปิดเผยว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ทำให้องค์กรต่าง ๆ คาดการณ์ว่าภายในปี 2570 จะสามารถสร้างรายได้มากขึ้นถึง 43% จากผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าที่เชื่อมต่อกันด้วย ดิจิทัล
CIO Technology Playbook เป็นการศึกษาจากเหล่า CIO และผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีกว่า 900 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (AP) ผลลัพธ์แสดงให้เห็นถึงความกังวลของ CIO ต่อเศรษฐกิจมหภาคที่ส่งผลต่อการเติบโตทางธุรกิจในปี 2566 และในช่วงต้นปี 2567 โดย 53% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า ‘อัตราเงินเฟ้อสูง’ เป็นเรื่องน่ากังวลที่สุดในปี 2566 และครึ่งหนึ่งของ CIO ที่ตอบแบบสอบถาม (50%) จัดอันดับให้ “ราคาของพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น” และ “ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น” เป็นความท้าทายที่สำคัญ
สุเมียร์ บาเทีย ประธานประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท Lenovo ISG กล่าวว่า “คาดการณ์ว่าปีนี้จะเป็นปีที่เผชิญกับความท้าทายด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้นำด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญมากขึ้นกับการปรับปรุงกระบวนการการทำงานและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านทรัพยากรและความคล่องตัวทางธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อตลาดที่กำลังเติบโต ธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ทันสมัย ด้วยบริการด้านระบบคลาวด์ของ Lenovo ISG ทำให้เรามีความพร้อมและมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจสมัยใหม่บรรลุความสำเร็จในด้านความยืดหยุ่นในการดำเนินงานที่มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ปีเตอร์ แชมเบอร์ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศญี่ปุ่น บริษัท AMD กล่าวว่า “เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำธุรกิจจะต้องเท่าทันเทรนด์ด้านเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถแข่งขันในสภาพแวดล้อมที่มีการเติบโตสูงในปัจจุบันได้ AMD เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงขององค์กรหลาย ๆ แห่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ ‘CIO Technology Playbook 2023’ ร่วมกับ Lenovo ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับ CIO และผู้นำธุรกิจอื่น ๆ ในด้านข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2566 ช่วยให้ผู้นำธุรกิจต่าง ๆ สามารถใช้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความพร้อมสำหรับอนาคตเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการขับเคลื่อนข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมเทคโนโลยีสำคัญต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์/แมชชีนเลิร์นนิ่ง ไฮบริดคลาวด์/มัลติคลาวด์ และโซลูชันการจัดเก็บข้อมูล เราหวังว่า CIO จะพร้อมรับมือกับการแข่งขันและสภาพทางธุรกิจที่มีความผันผวนในปัจจุบัน”
ข้อมูลจากการศึกษายังเผยอีกว่า ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีกำลังมองหาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพด้านซัพพลายเชนในองค์กร และปรับปรุงการใช้สินทรัพย์ ความคล่องตัว และความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เมื่อพูดถึงลำดับความสำคัญด้านธุรกิจ มี CIO ในภูมิภาคเอเชียถึง 36% ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการเติบโตทางด้านรายได้และผลกำไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และ 32% ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและการประหยัดต้นทุนการดำเนินงาน
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ขับเคลื่อนผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสามารถช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน 85% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเห็นด้วยว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ การมีเทคโนโลยีมัลติคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานเอดจ์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ CIO มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความซับซ้อนในการดำเนินงานด้านไอทีที่เพิ่มขึ้น และความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านการตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (DX) และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้มีความทันสมัย CIO ได้เรียกร้องให้มีการเตรียมความพร้อมทางด้านไซเบอร์ (อันดับที่ 1 หรือคิดเป็น 49% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชีย) และการจัดการระบบอัตโนมัติในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (อันดับที่ 2 หรือคิดเป็น 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชีย) เป็นลำดับความสำคัญสูงสุดในการลงทุนปี 2566
ให้ความสำคัญมากขึ้นกับเทคโนโลยีไฮบริด/มัลติคลาวด์สำหรับเวิร์คโหลดที่มีความสำคัญ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ได้ตระหนักว่าพับบลิคคลาวด์ไม่ได้มอบประสบการณ์และประสิทธิภาพการทำงาน หรือลดภาระค่าใช้จ่ายจากเวิร์คโหลดงานบนระบบคลาวด์ที่เพิ่มขึ้นได้ดีที่สุดเสมอไป อีกทั้งความความกังวลด้านความปลอดภัยได้กระตุ้นให้ 68% ขององค์กรในภูมิภาคอาเซียน+1 ส่งเวิร์คโหลดงานจากพับลิคคลาวด์กลับไปยังไพรเวทคลาวด์และ/หรือดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ไฮบริดคลาวด์หรือมัลติคลาวด์มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียในอีก 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 50% จะยังคงดำเนินงานด้านเวิร์คโหลดที่สำคัญต่อภารกิจบนโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอยู่ หรือบนระบบและแพลตฟอร์ม และโครงสร้างพื้นฐานไพรเวทคลาวด์ โดยไฮบริดหรือมัลติคลาวด์จะมอบประสิทธิภาพในระดับสูงสุดและเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของข้อมูลและมีการปฎิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
สร้างความตระหนักรู้ให้มากขึ้นและการนำโมเดล As-a-Service ที่ยืดหยุ่นเข้ามาใช้
การใช้โมเดลแบบ As-a-Service เป็นที่รู้จักและนิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้ก้าวทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่มีความผันผวนสูง และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์กรต่าง ๆ ใน AP ระบุว่าการหาเหตุผลในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการต้นทุนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของโครงสร้างพื้นฐาน As-a-Service โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งานตามการบริโภคจะมอบความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการทำงาน ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับ CIO และสามารถนำไปลงทุนเพิ่มเติมในด้านนวัตกรรมทางธุรกิจได้ 85% ขององค์กรในภูมิภาคอาเซียน+ ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในรูปแบบ As-a-Service ที่มีความยืดหยุ่นอยู่แล้ว หรือกำลังมีแผนที่จะนำเข้ามาใช้ในองค์กรภายใน 12 เดือนข้างหน้า
การจัดการข้อมูลแบบครบวงจรหมายถึงนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาแล้ว
การล็อกข้อมูลไว้บนคลาวด์แต่ละคลาวด์ (cloud silos) เป็นการขัดขวางความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของทุกองค์กร และนั่นหมายถึงเป้าหมายในทางธุรกิจ การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพต้องสามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลได้อย่างลื่นไหล มีความปลอดภัยสูง ตามการใช้งานที่แตกต่างกัน ในขณะที่การใช้งานแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ระหว่างกันมีมากขึ้นนั้น มีเพียงแค่ 8% ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้นที่ใช้แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลเพียงตัวเดียว และอีก 78% ขององค์กรใช้แพลตฟอร์มและระบบการจัดการข้อมูลหลายระบบ
แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลแบบครบวงจรนำเสนอการเคลื่อนย้ายข้อมูลที่ไร้รอยต่อผ่านระบบคลาวด์ที่หลากหลาย และรวบรวมข้อมูลข้ามคอนเทนเนอร์และเทคโนโลยี edge โดยแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลแบบครบวงจรที่ล้ำสมัยสำหรับการจัดการข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายจะเป็นรากฐานที่สำคัญของนวัตกรรมองค์กรไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่ง CIO ที่ลงทุนในแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการข้อมูลที่กำลังขยายตัวได้อย่างเหมาะสมจะเป็นส่วนเสริมที่แข็งแกร่งในการสร้างความเป็นผู้นำในตลาด
การพัฒนาประสบการ์ของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ CIO
กลุ่มธุรกิจ เช่น การผลิต ค้าปลีก โลจิสติกส์ การขนส่ง และพลังงาน ต่างให้ความสำคัญกับการมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จในเศรษฐกิจดิจิทัล
เทคโนโลยี AI จะเป็นกระแสหลักในปี 2566: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้ากำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ CIO ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กว่า 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังใช้หรือวางแผนที่จะนำแอปพลิเคชั่น AI/ML มาใช้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ยังพบว่า 91% ขององค์กรมีการใช้งานหรือวางแผนที่จะใช้แอปพลิเคชั่นด้าน AI ในปีหน้า และจะมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้นในภูมิภาคอาเซียน+
องค์กรต่าง ๆ ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีการนำแอปพลิเคชั่นที่ขับเคลื่อนด้วย AI เข้ามาใช้กับการดำเนินงานและฟังก์ชั่นทางธุรกิจที่หลากหลายในอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยในภูมิภาคอาเซียน+ มีธุรกิจชั้นนำที่มีการนำเทคโนโลยี AI และ ML เข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านไอที การขายและการจัดจำหน่าย ไปจนถึงด้านการเงินและบัญชี
นวัตกรรม Edge จะเป็นด่านหน้าของเส้นทางสู่ดิจิทัล: มีการนำเทคโนโลยี edge ไปใช้งานอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชีย 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียมีการใช้งานหรือวางแผนที่จะใช้เทคโนโลยี edge computing ในการดำเนินธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ธุรกิจต่าง ๆ สามารถพัฒนาการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสินทรัพย์และปรับปรุงภาพรวมประสบการณ์ของลูกค้าผ่านเทคโนโลยี edge ขณะเดียวกันทำให้มั่นใจในความเสถียรได้มากขึ้น หนึ่งในหลาย ๆ รูปแบบการใช้งาน edge มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าแบบเรียลไทม์เพื่อให้ได้รับประสบการณ์อย่างครบถ้วน การควบคุมคุณภาพและแก้ไขงานแบบอัตโนมัติ และการติดตามสินทรัพย์ การใช้เครือข่ายดาวเทียมเพื่อระบุตำแหน่ง (geo fencing) และการบริหารจัดการ
การทำแบบสำรวจนี้จัดทำขึ้นผ่าน 12 ตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชีย รวมถึง อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย, ฮ่องกง, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://www.amd.com/en
1 ASEAN+ includes Indonesia, Singapore, Thailand, Malaysia, Philippines, Hong Kong and Taiwan