TMX Global ประเมิน เศรษฐกิจ ไทยสูญเงินราว 8.25 หมื่นล้านจากวิกฤติ ซัพพลายเชน

TMX Global ชี้ผลประเมิน เศรษฐกิจ ไทยสูญเสียเงินราว 8.25 หมื่นล้านต่อปีจากวิกฤติ ซัพพลายเชน ที่หยุดชะงักจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง

TMX Global เศรษฐกิจ ซัพพลายเชน

ทีเอ็มเอ็กซ์ โกลบอล (TMX Global) ที่ปรึกษาด้านการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ (Business Transformation) และด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงด้าน ซัพพลายเชน อย่างครบวงจร (End to End Supply Chain Transformation) ประเมินว่า ปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายเชนอันเป็นผลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น โรคระบาด ความตึงเครียดด้านการค้าและภูมิรัฐศาสตร์โลก และความเปราะบางจากสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศ ส่งผลให้ เศรษฐกิจ ไทยเกิดความสูญเสียเกือบ 8.25 หมื่นล้านบาทต่อปี

ในปี 2565 ปัญหาด้านซัพพลายเชนทำให้บริษัททั่วโลกสูญเสียรายได้โดยเฉลี่ย 0.47%[1] นางสาวนัยนา กอเจริญรัตน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท TMX Global ประเมินว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) มูลค่า 17 ล้านล้านบาท[2] หรือประมาณ 534,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[3] ในปีที่แล้ว ดังนั้นธุรกิจในประเทศไทยสูญเสียยอดขายประมาณ 8.25 หมื่นล้านบาทต่อปีเนื่องจากปัญหาด้านซัพพลายเชน

“เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ซัพพลายเชนของไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยนโยบายปลอดโควิดของจีนส่งผลกระทบต่อการนำเข้าของไทยจากแหล่งวัตถุดิบสำคัญของจีน เช่น เซี่ยงไฮ้ และฝูเจี้ยน ทำให้ผู้ผลิตในประเทศขาดแคลนวัตถุดิบซึ่งส่งผลต่อการผลิตสินค้า

ในขณะที่การกลับมาเปิดประเทศแบบฉับพลันของประเทศจีนและปัญหาขาดแคลนแรงงานตามท่าเรือขนส่งสินค้าในจีน ณ ปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญกับต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเรือขนส่งสินค้า ซึ่งกระทบต่อผลกำไรของบริษัท” นางสาวนัยนา กล่าว

“นอกจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ประเทศไทยยังเคยประสบปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ๆ ในอดีต และสถานการณ์น้ำท่วมครั้งล่าสุดในภาคใต้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาด้านโลจิสติกส์ซึ่งส่งผลต่อภาคการผลิตสำคัญ เช่น การเกษตรและยานยนต์

“ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์สำหรับผู้ผลิตในเอเชีย ดังนั้น ปัญหาจากสภาพภูมิอากาศอย่างเช่นน้ำท่วมที่ทำให้การขนส่งล่าช้า จึงส่งผลกระทบต่อทั่วทั้งซัพพลายเชนในประเทศและต่างประเทศ ดังเช่นการที่โรงงานผลิตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี (นิคมอุสาหกรรมนวนคร) ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2563 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกบางราย

เมื่อประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนในต่างประเทศ เช่น ผลสืบเนื่องจากสงครามในยูเครน และการบริหารจัดการเพื่อการใช้ชีวิตในสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศจีน สิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ คือ ทำให้ซัพพลายเชนของตนเองมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจ และเศรษฐกิจของประเทศ ดังที่ได้วิเคราะห์ไว้ข้างต้น” นางสาวนัยนา กล่าวเสริม

แนะจัดทัพบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยีด้าน ซัพพลายเชน ให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ธุรกิจควรพิจารณาในการสร้างซัพพลายเชนที่สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงนั้น นางสาวนัยนา ได้ให้แนวทางไว้ 3 ด้าน ได้แก่

  • กระบวนการ ปรับกระบวนการทำงานให้เหมาะสมพร้อมรองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • เทคโนโลยี นำเทคโนโลยีดิจิทัลและพัฒนาการด้านนวัตกรรมมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ
  • บุคลากร เพิ่มพูนทักษะให้บุคลากรด้านโลจิสติกส์และพร้อมรองรับการปรับเปลี่ยนสู่ซัพพลายเชนรูปแบบใหม่

“ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังมีความได้เปรียบจากข้อตกลงการค้าเสรีทั้งในระดับภูมิภาคและทวิภาคีกับหลายประเทศคู่ค้า อาทิ การจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการหยุดชะงักของซัพพลายเชน แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังคงต้องเป็นผู้รับผิดชอบการสร้างซัพพลายเชนของตนเองให้รองรับสถานการณ์ในอนาคต

“การดำเนินงานด้านซัพพลายเชนจะเติบโตอย่างก้าวหน้าเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นสถานการณ์โลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งในการวางกลยุทธ์ด้านซัพพลายเชนในระยะยาวด้วยการขจัดปัจจัยความไม่แน่นอนออกจากการดำเนินงานให้ได้มากที่สุด กลยุทธ์นี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าตลอดทั้งซัพพลายเชนและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมด้านโซลูชันส์ต่าง ๆ

“ในขณะที่หลายภูมิภาคของโลกเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด ผู้ประกอบการจึงควรใช้เวลานี้ในการนำบทเรียนต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้จากวิกฤติซัพพลายเชนมาประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติ ตลอดสองปีที่ผ่านมา ประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึกที่ TMX รวบรวมจากสถานการณ์นี้ ทำให้ทีมงานของ TMX พร้อมร่วมงานกับผู้ประกอบการในภูมิภาคเพื่อทำให้ธุรกิจและซัพพลายเชนสามารถเดินหน้าด้วยประสิทธิภาพสูงสุด”

นางสาวนัยนา กล่าวทิ้งท้าย

[1] Interos (May 2022). Resilience 2022: The Interos Annual Global Supply Chains Report, p. 12.
[2] กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (2565). World Economic Outlook Database.
[3] 1.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 32.832727 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566)

ทาสกระต่าย Always and Forever