เปิดตัว Adobe PDF Accessibility Auto-Tag API เข้าถึง เอกสาร ดิจิทัลได้มากยิ่งขึ้น

เปิดตัว Adobe PDF Accessibility Auto-Tag API รองรับการเข้าถึง เอกสาร ดิจิทัลแบบอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น ลดเวลาการทำงานลง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

Adobe PDF เอกสาร

อะโดบี ( Nasdaq:ADBE ) เปิดตัว Adobe PDF Accessibility Auto-Tag API ที่ขับเคลื่อนด้วย Adobe Sensei ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI และ Machine Learning ของอะโดบี ด้วยจำนวน เอกสาร PDF ราว 3 ล้านล้านฉบับที่ถูกเผยแพร่และใช้งานทั่วโลก ฟอร์แมตนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล API ใหม่ของอะโดบีจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนและเพิ่มความรวดเร็วในการแปลงเนื้อหา PDF จึงช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ประหยัดเวลาได้หลายชั่วโมง หรือช่วยลดเวลาการทำงานลงได้อย่างมาก และประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายล้านดอลลาร์ โดยทั้งหมดนี้จะช่วยปรับปรุงการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่พนักงานและลูกค้า

ทอดด์ เกอร์เบอร์, รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ Adobe Document Cloud กล่าวว่า “การทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเอกสารดิจิทัลได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจทั้งในแง่ของกฎหมายและกระบวนการดำเนินธุรกิจ สำหรับบริษัทที่ต้องการแข่งขันในเวทีระดับโลก ตั้งแต่เอกสารข้อตกลงทางกฎหมายและสัญญาที่ซับซ้อนไปจนถึงเอกสารการจำนองและใบสำคัญทางด้านการศึกษา ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่าหนึ่งทศวรรษของอะโดบีในการพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยี AI อย่างมีความรับผิดชอบ เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะแนะนำฟีเจอร์ใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ขยายขอบเขตการเข้าถึงและรองรับการทำงานสำหรับทุกคนได้”

มากกว่า 90% ของเอกสาร PDF จำนวนหลายล้านล้านฉบับที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบัน แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการสำหรับบุคคลทุพพลภาพที่อาจไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือบางทีก็แสดงเป็นเอกสารเปล่า พร่าเลือน หรือแสดงบรรทัดข้อความที่ผิดจากตำแหน่งที่เหมาะสม นอกเหนือจากกฎระเบียบของภาครัฐที่เข้มงวดมากขึ้นและความคาดหวังของผู้ใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ประสบการณ์ที่เข้าถึงได้ง่ายสำหรับลูกค้าและพนักงานนับว่ามีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับทุกบริษัท

เร่งการเข้าถึงด้วย AI

ในอดีต การทำให้เอกสาร PDF สามารถเข้าถึงได้เป็นกระบวนการที่ต้องทำด้วยตนเองและใช้เวลานาน ซึ่งต้องอาศัยการฝึกอบรมและประสบการณ์ในระดับหนึ่ง ลูกค้ากลุ่มแรกที่ทดลองใช้งาน API ใหม่ของอะโดบีสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการดังกล่าวให้เป็นแบบอัตโนมัติได้ราว 70-100% และลดระยะเวลาได้ถึง 100% ในการทำให้แต่ละไฟล์สามารถเข้าถึงได้อย่างสมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น API ดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมากสำหรับเอกสารที่มีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ก่อนหน้าที่จะเริ่มใช้ new Adobe API บริษัทการเงินระดับโลกแห่งหนึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 9 ชั่วโมงเพื่อทำให้ชุดสไลด์พรีเซนเทชั่นแต่ละชุดสามารถเข้าถึงได้ แต่ด้วย API ใหม่ของอะโดบี บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินการโดยอัตโนมัติได้เร็วขึ้น 70-80%

ดร. เจนนิเฟอร์ เรดด์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย eCampus ของ San Jose State University กล่าวว่า “เทคโนโลยีช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าทุกคนในชุมชนของเราจะสามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ เรามีแผนที่จะใช้งาน PDF Accessibility Auto-Tag API อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงโซลูชั่นอื่น ๆ ของอะโดบี เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถสร้างและใช้งานดิจิทัลคอนเทนต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น”

นวัตกรรมสำหรับการเข้าถึง เอกสาร ดิจิทัล

PDF Accessibility Auto-Tag API ของอะโดบีใช้ประโยชน์จาก Sensei เพื่อทำให้กระบวนการแท็กโครงสร้างเนื้อหา PDF เป็นไปโดยอัตโนมัติและสามารถปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม API ดังกล่าวทำหน้าที่ “แท็ก” หรือระบุโครงสร้างของเนื้อหา เช่น หัวข้อ ย่อหน้า รายการ และตาราง เพื่อระบุลำดับการอ่านที่ถูกต้อง เช่น โปรแกรมอ่านหน้าจอ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีความพิการ เช่น ตาบอด สายตาเลือนราง ไปจนถึงผู้ที่มีความบกพร่องในการอ่าน จึงสามารถใช้งานเอกสารดิจิทัลได้ง่ายขึ้น นักพัฒนาจะสามารถใช้ API ดังกล่าวกับไฟล์ PDF ที่มีอยู่จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ทั้งยังช่วยให้บริษัทปฏิบัติตามกฎระเบียบล่าสุดเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูล

นอกจากนี้ อะโดบียังได้เปิดตัวฟีเจอร์เพิ่มเติมอีก 2 ฟีเจอร์ ซึ่งจะพร้อมให้ใช้งานในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ โดยฟีเจอร์ PDF Accessibility Checker ซึ่งพร้อมใช้งานใน Acrobat ผ่าน API จะช่วยให้องค์กรสามารถประเมินการเข้าถึงของเอกสาร PDF จำนวนมากที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ส่วนฟีเจอร์ Auto-Tag ใน Acrobat Reader จะช่วยให้ลูกค้าที่ใช้โปรแกรม Reader สัมผัสประสบการณ์การดูเอกสารที่เข้าถึงได้มากขึ้นภายในโปรแกรมดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และไม่จำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินหรือดาวน์โหลดโปรแกรมแยกต่างหาก

Adobe PDF ยกระดับการเข้าถึงผ่านการทำงานร่วมกันของชุมชน

อะโดบีได้สร้างหมวดหมู่เอกสารดิจิทัล คิดค้นรูปแบบ PDF และจากนั้นก็เปิดให้ใช้งานในลักษณะโอเพ่นซอร์สสำหรับผู้คนทั่วโลก ตั้งแต่แรกเริ่ม อะโดบีได้ออกแบบฟีเจอร์การเข้าถึงไว้ในโครงสร้างหลักของ PDF โดยการสร้างแท็กเฉพาะสำหรับเอกสาร เพื่อจัดเก็บ Metadata สำหรับการเข้าถึง และรองรับโปรแกรมอ่านผ่านหน้าจอโดยตรงภายใน Adobe Acrobat ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อะโดบีได้คิดค้นนวัตกรรมการเข้าถึง PDF อย่างต่อเนื่อง โดยนำเสนอในรูปแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ Acrobat เช่น การอ่านออกเสียงในเอกสาร และฟีเจอร์เพิ่มความสะดวกในการอ่านใน Liquid Mode สำหรับ Acrobat Reader Mobile ซึ่งขับเคลื่อนด้วย Sensei

เมื่อปีที่แล้ว อะโดบีได้จัดตั้ง Readability Consortium โดยร่วมมือกับ University of Central Florida, Readability Matters และ Google เพื่อทุกคนสามารถอ่านและเข้าใจเอกสารดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมกัน นักวิจัยของอะโดบียังคงมุ่งมั่นพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความสามารถในการอ่าน (Readability) อย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการศึกษาวิจัยและแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เมื่อไม่นานมานี้ ทีมงานฝ่ายวิจัยของ Document Cloud ได้เผยแพร่รายงานใหม่ 2 ฉบับ เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการอ่านเอกสารดิจิทัลที่เป็นทางเลือก รวมถึงอินเทอร์เฟซสำหรับลูกค้า เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การอ่านของแต่ละบุคคลให้มีความสะดวกสบายและน่าเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ www.adobe.com

Blogger สาย Multi Function ตามติดเทคโนโลยีมือถือ, แท็บเล็ต, แอพ, เกมคอนโซล, โลกโซเชียล และจักรยาน