Facebook ประเทศไทย จาก Meta จัดบรรยายให้ความรู้สื่อมวลชนและร่วมพูดคุยกับหน่วยงานภาครัฐในหัวข้อ “รู้เท่าทัน ภัยลวงออนไลน์” รวมถึงแบ่งปันนโยบายและแนวทางล่าสุดในการสร้างความปลอดภัยให้กับธุรกิจและผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญเสริมทักษะด้านดิจิทัลผ่านแคมเปญ #StayingSafeOnline ภายใต้โครงการ We Think Digital Thailand
ในงานดังกล่าว Meta ได้แชร์แนวทางในการทำงานหลากหลายด้านเพื่อคุ้มครองธุรกิจและทำให้ประสบการณ์ออนไลน์ของคนไทยมีความปลอดภัย รวมถึงการนำนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาการหลอกลวงบนแพลตฟอร์ม (fraud and deception) มาใช้อย่างเคร่งครัด การมอบเครื่องมือและฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการระวังรักษาความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม อีกทั้งมีการใช้การตรวจสอบเนื้อหาผ่านบุคลากรผู้ตรวจสอบเนื้อหาและเทคโนโลยี อย่างเช่น machine learning เข้ามาใช้เพื่อตรวจจับเนื้อหาหรือบัญชีที่อาจมีการละเมิดกฎและนโยบายต่าง ๆ ของ Meta
“ปัญหา ภัยลวงออนไลน์ (scam) นับเป็นประเด็นที่มีความท้าทายสูงซึ่งบ่อยครั้งมีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน มีเงินทุนสนับสนุนอย่างเป็นระบบและทำเป็นรูปแบบกระบวนการ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากเหล่าสแกมเมอร์มักมีการดำเนินการจากหลากหลายแหล่ง ในพื้นที่สาธารณะออนไลน์ต่าง ๆ และปฏิบัติการนอกแพลตฟอร์ม หรือออฟไลน์ด้วย เราจึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงเทคนิคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Meta ไม่อนุญาตให้มีการหลอกลวงบนแพลตฟอร์มและเรามุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัยในการให้บริการ รวมถึงการมอบเครื่องมือและโซลูชั่นต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ปลอดภัยจากปัญหาบัญชีปลอมและพฤติกรรมที่ไม่ประสงค์ดีต่าง ๆ”
คุณเฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การตรวจจับและป้องกันสแกมบนแพลตฟอร์มของ Meta
Meta มีความมุ่งมั่นในการลบเนื้อหาที่มีวัตถุประสงค์ในการหลอกลวง จงใจให้ข้อมูลที่ผิด หรือยิ่งไปกว่านั้น ฉ้อโกงหรือแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นในทางที่ผิด ด้วยการหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการฉ้อโกงและการหลอกลวง (Fraud and Deception policy) ของแพลตฟอร์ม โดยยังรวมถึงเนื้อหาที่ทำงานประสานกันหรือโปรโมทกิจกรรมเหล่านี้โดยใช้บริการของ Meta หากแพลตฟอร์มพบว่าบัญชีใดบัญชีหนึ่งมีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการหลอกลวง เจ้าของบัญชีดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้ใช้งานบัญชีปลอมหรือนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เป็นความจริง หากเจ้าของบัญชีไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ตามที่กำหนด หรือหากบุคลากรผู้ตรวจสอบของเราพบว่ามีการละเมิดกฎและนโยบายต่าง ๆ ของเรา บัญชีดังกล่าวก็จะถูกลบ นอกจากนี้ Meta ยังจะเดินหน้าดำเนินการและลงโทษกับผู้กระทำความผิดดังกล่าว ตามความรุนแรงของการละเมิดกฎและนโยบายต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายผ่านการทำงานร่วมกับรัฐบาลและหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย
นอกจากนี้ Meta ยังใช้เทคนิคการดำเนินงานที่หลากหลายเพื่อตรวจจับปัญหาภัยลวงออนไลน์บนแพลตฟอร์มของ Meta ประกอบด้วย
- ใช้เทคโนโลยี machine learning เพื่อตรวจสอบเนื้อหาและบัญชีที่ละเมิดนโยบายของ Meta
- ลดการเข้าถึงเนื้อหาที่อาจเป็นเนื้อหาที่เข้าข่ายเป็นภัยลวง
- ตรวจสอบเข้มข้นบัญชีที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีการละเมิดกฎต่าง ๆ
- จัดตั้งช่องทางการรายงานเนื้อหาภัยลวงโดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้และหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย
- ตรวจสอบเพื่อลบบัญชีปลอมออกจากแพลตฟอร์มเป็นประจำ
ตามที่ได้กล่าวสรุปไว้ในรายงานการบังคับใช้มาตรฐานชุมชนประจำไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2566 Meta ได้เดินหน้าลบบัญชีปลอมออกกว่า 676 ล้านบัญชีทั่วโลกบน Facebook โดย 98.8% ถูกตรวจพบและลบออกไปผ่านการดำเนินงานเชิงรุกด้วยเทคโนโลยี AI ก่อนที่จะมีการรายงานเข้ามาจากผู้ใช้ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 Meta ยังได้ดำเนินการลบเนื้อหาที่เป็นภัยหลอกลวงเป็นจำนวน 1.1 พันล้านชิ้น โดย 95.3% เป็นเนื้อหาที่ถูกตรวจจับผ่านการดำเนินงานเชิงรุกโดยเทคโนโลยี AI
มาตรฐานการโฆษณาของ Meta
นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีการพูดคุยถึงนโยบายต่าง ๆ ของ Meta เพื่อต่อสู้กับปัญหาการปลอมแปลงตัวตนเป็นผู้อื่น (impersonation) ทั้งในเชิงธุรกิจและโฆษณาต่าง ๆ โดย คุณเฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวเสริมว่า
“การป้องกันไม่ให้โฆษณาบนแพลตฟอร์มของเรา ถูกใช้งานเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการหลอกลวงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้พัฒนามาตรฐานการโฆษณา เพื่อเป็นแนวทางที่ระบุว่าโฆษณาแบบใดได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มในเครือของ Meta โดยนโยบายของเราไม่อนุญาตโฆษณาที่มีเนื้อหาหลอกลวงหรือสร้างความเข้าใจผิด รวมถึงสแกม และหากเราตรวจจับโฆษณาที่ละเมิดมาตรฐานการโฆษณาของเรา เราจะดำเนินการไม่อนุมัติโฆษณาดังกล่าวในทันที”
นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีการพูดคุยถึงนโยบายต่าง ๆ ของ Meta เพื่อต่อสู้กับปัญหาการปลอมแปลงตัวตนเป็นผู้อื่น (impersonation) ทั้งในเชิงธุรกิจและโฆษณาต่าง ๆ โดย คุณเฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวเสริมว่า “การป้องกันไม่ให้โฆษณาบนแพลตฟอร์มของเราถูกใช้งานเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมการหลอกลวงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้พัฒนา มาตรฐานการโฆษณา เพื่อเป็นแนวทางที่ระบุว่าโฆษณาแบบใดได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มในเครือของ Meta โดยนโยบายของเราไม่อนุญาตโฆษณาที่มีเนื้อหาหลอกลวงหรือสร้างความเข้าใจผิด รวมถึงสแกม และหากเราตรวจจับโฆษณาที่ละเมิด มาตรฐานการโฆษณา ของเรา เราจะดำเนินการไม่อนุมัติโฆษณาดังกล่าวในทันที”
“ในปัจจุบัน เราได้ใช้กระบวนการดำเนินงานที่หลากหลายเพื่อตรวจจับและตรวจสอบโฆษณา บัญชี และผู้ดูแลที่อาจละเมิดนโยบายของเรา เรามีการดำเนินงานเชิงลึกที่มากกว่าการตรวจสอบโฆษณาแต่ละชิ้น โดยเรายังตรวจสอบและสำรวจพฤติกรรมของนักโฆษณา และอาจจำกัดการใช้งานของนักโฆษณาที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการโฆษณาของเรา และเรายังคงมองหาวิธีการในการขยายกระบวนการดำเนินงานและเครื่องมือของเราอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวิธีการที่ช่วยให้ผู้คนสามารถรายงานโฆษณา มาที่เราได้”
นอกจากนี้ โฆษกของ Meta ยังได้แชร์เคล็ดลับในการป้องกันตนเองจากกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและโฆษณาที่ปลอมตัวเป็นผู้อื่น เช่น การตรวจสอบตัวสะกดของเนื้อหาโฆษณา หรือตรวจสอบว่าโฆษณาชิ้นนั้นเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่แท้จริงของแบรนด์หรือธุรกิจที่คุณกำลังมีส่วนร่วมอยู่ด้วยหรือไม่
แคมเปญ #StayingSafeOnline และความร่วมมือกับพันธมิตรระดับท้องถิ่น
ภายในงานได้มีการเสวนากับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรของ Meta ในหัวข้อ “รู้เท่าทันภัยลวงออนไลน์ ห่างไกลจากวิถีสแกมเมอร์” โดย ดร. เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะหน่วยงานพันธมิตรและผู้เข้าร่วมการเสวนาได้ร่วมแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการหลอกลวงทางด้านการเงิน และการลงทุนนับเป็นปัญหาที่ดีอีให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการทำงานในเชิงรุก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น และยังเป็นการสร้างความเชื่อมันในการลงทุน รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ดีอี ได้มีการทำงานร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่บังคับกฎหมาย หน่วยงานภาคเอกชน และบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก เช่น Meta เพื่อช่วยกำจัดมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ ผู้กำกับการ กลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ร่วมเสวนากล่าวเสริมอีกว่า “ปัญหาภัยหลอกลวงบนโลกออนไลน์ นับเป็นปัญหาสังคมที่ขยายวงกว้างออกไปในทุกพื้นที่บนโลกออนไลน์ อาชญากรรมไซเบอร์และปัญหาเรื่องสแกมเมอร์เป็นหนึ่งในปัญหาเร่งด่วนที่บช.สอท.ให้ความสำคัญและทำงานอย่างเต็มที่ เราอยากให้ประชาชนใช้ความระมัดระวังอยู่เสมอเมื่อมีปฏิสัมพันธ์หรือทำธุรกรรมบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าคุณจะอยู่ใช้แพลตฟอร์มหรือช่องทางไหน เพราะว่าอาชญากรไซเบอร์ในปัจจุบันมีการพัฒนากลลวงเพื่อการหลอกล่อที่ซับซ้อนและอำพรางได้แนบเนียนมากขึ้น โดยปัจจุบันทางตำรวจไซเบอร์ได้เปิดสายด่วน 1441 เพื่อขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาปัญหาอาชญกรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงแจ้งเบาะแสได้”
พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ ผู้กำกับการ กลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Meta บังคับใช้นโยบายที่ไม่อ่อนข้อต่อภัยหลอกลวงและมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการเพื่อลบการกระทำที่ผิดกฎหมายออกจากแพลตฟอร์มในทันทีอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และสนับสนุนอย่างยิ่งให้ผู้ใช้ทุกคนรายงานพฤติกรรมที่น่าสงสัยให้เราได้ทราบ
“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Meta ได้ร่วมทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวงดีอีเอส สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ รวมถึงนักวิชาการและภาคประชาสังคม โดยเรามีการพูดคุยและมีกรอบความร่วมมือในหลาย ๆ เรื่องรวมถึงการรับมือปัญหาภัยหลอกลวงบนโลกออนไลน์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มของ Meta และแอป Facebook นั้น เรามีการทำงานใกล้ชิดกับกระทรวงดีอีเอสและมีการจัดการเนื้อหาที่เป็นปัญหาอย่างรวดเร็วที่ทางกระทรวงได้แจ้งข้อมูลเข้ามา รวมถึงการสร้างการตระหนักรู้และแคมเปญการให้ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนสามารถรู้เท่าทันกลลวงและรู้วิธีการรายงานเนื้อหาเข้ามาได้ นอกจากนั้น เรายังมีการตรวจหาและไล่ลบบัญชีที่มีการตรวจพบว่าเป็นเนื้อหาที่เป็นอันตราย หลอกลวงหรือละเมิดกฎอยู่เป็นประจำ และด้วยเทคโนโลยี machine learning และ AI ก็ทำให้เราสามารถตรวจพบเนื้อหาเหล่านั้นก่อนที่ผู้ใช้อื่น ๆ จะได้เห็นด้วย” คุณอิง ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำ Facebook ประเทศไทยจาก Meta กล่าว
อีกส่วนหนึ่งของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของ Meta ในการปกป้องชาวไทยให้ปลอดภัยจาก ภัยลวงออนไลน์ คือแคมเปญ #StayingSafeOnline ภายใต้ โครงการ We Think Digital Thailand โครงการหลักในการเสริมทักษะดิจิทัลของ Meta ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้แก่ชาวไทย เกี่ยวกับวิธีสังเกตพฤติกรรมของผู้ประสงค์ร้าย และป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากสแกมอีคอมเมิร์ซ สแกมความปลอดภัย และการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง รวมถึงภัยบนโลกออนไลน์อื่น ๆ โดยภายใต้แคมเปญดังกล่าว ได้มีการเปิดตัวหลักสูตรการเรียนรู้และวิดีโอเพื่อให้ความรู้ที่ให้บริการเป็นภาษาไทยอย่างหลากหลาย และยังมีการร่วมพัฒนาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ร่วมกับหลากหลายองค์กร ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาสังคม ได้แก่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โคแฟค ประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแคมเปญดังกล่าวได้เข้าถึงชาวไทยเป็นจำนวนกว่า 30 ล้านคนแล้วในปัจจุบัน ตั้งแต่มีการเปิดตัวในปี พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ แคมเปญ #StayingSafeOnline ยังกำลังจะเปิดตัวการดำเนินงานเฟสใหม่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยจะให้ความสำคัญกับเคล็ดลับในการระมัดระวังและรู้เท่าทันสแกมเมอร์ที่มีอยู่หลากหลายประเภท
คุณอิง ศิริกุลบดี ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำ Facebook ประเทศไทยจาก Meta กล่าวสรุปว่า “ในสัปดาห์นี้ เรากำลังจะเปิดตัวซีรีส์วิดีโอเพื่อให้ความรู้ที่มีชื่อว่า “ถอดรหัสสแกม” (Decode Scam) ผ่านเพจ Meta ประเทศไทย บน Facebook เพื่อสอนให้ผู้คนรู้จักกับ ภัยลวงออนไลน์ ที่มีหลากหลายประเภท พร้อมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
เรายังมีแผนที่จะเปิดตัวเฟสต่อไปของแคมเปญ #StayingSafeOnline ซึ่งเราจะยังคงร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศและร่วมสร้างสรรค์ชุดเนื้อหาเอ็ดดูเทนเมนต์เพื่อการเรียนรู้ใหม่ ๆ ร่วมกับครีเอเตอร์ชาวไทย เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบเนื้อหา ตั้งแต่วิดีโอสั้น ภาพประกอบที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ไปจนถึงมีมเพื่อให้ความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้คำแนะนำและเคล็ดลับแก่ชาวไทยเกี่ยวกับวิธีการป้องกันตนเองจากเหล่าสแกมเมอร์ ในรูปแบบการเรียนรู้ที่เข้าถึงง่ายมากขึ้น”เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญ #StayingSafeOnline และโครงการ We Think Digital Thailand ของ Meta ได้ที่ https://wethinkdigital.fb.com/th/th-th/stayingsafeonline/